แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยที่1ขับชนรถยนต์ของโจทก์โดยละเมิดแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่1เท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้ทำละเมิด และ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ใช้ เงิน จำนวน 145,250 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน จำนวน 69,250บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง (วันที่ 29พฤศจิกายน 2532) ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 2 นอกจาก ที่แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าคำฟ้อง โจทก์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 เคลือบคลุม หรือไม่ตาม คำฟ้อง โจทก์ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 นั้น ได้ บรรยาย ว่าจำเลย ที่ 2 เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมาย ประเภท บริษัท จำกัด จดทะเบียน ณสำนักงาน ทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ มี วัตถุประสงค์ ใน การ รับประกัน ภัย ยานยนต์ รายละเอียดปรากฏ ตาม สำเนา เอกสาร ท้าย คำฟ้อง หมายเลข 1 รถยนต์ เก๋ง หมายเลขทะเบียน 7ง-8339 กรุงเทพมหานคร คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ มา ชน รถของ โจทก์ ได้ เอา ประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ตาม สัญญา กรมธรรม์ประกันภัย จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย จะ ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย ที่ เกิดขึ้น จาก อุบัติเหตุ ใน ระหว่าง อายุ สัญญาประกันภัยจำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ใน ผล แห่ง ละเมิด ของจำเลย ที่ 1 ด้วย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กันชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง ศาลฎีกา เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลยที่ 2 ให้ รับผิด ใน ฐานะ ที่ เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ที่จำเลย ที่ 1 ขับ แต่ โจทก์ มิได้ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์คัน ดังกล่าว ใน ฐานะ อะไร หรือ มี นิติสัมพันธ์ อย่างไร กับ ผู้เอาประกันภัยอัน จะ เป็นเหตุ ให้ ผู้เอาประกันภัย ต้อง ร่วมรับผิด ใน การ ทำละเมิดของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ ฟ้อง ของ โจทก์ มิได้ บรรยาย ถึง เหตุ ที่ จะ ให้ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิด เช่นนี้ แล้ว เท่ากับ คำฟ้อง โจทก์ มิได้บรรยาย ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ที่ จะ ให้ ผู้รับประกันภัย ต้องรับผิด เป็น คำฟ้อง ที่ ไม่ ชัดแจ้ง ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง จำเลย ที่ 2ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุน ซึ่ง จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ก็ ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิดชอบ จึง ไม่ต้อง รับผิด ด้วย ที่ โจทก์ อ้าง ในฎีกา ว่า ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ของ จำเลย ที่ 2 นั้น ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับ รถยนต์ คัน เอา ประกันภัย เป็น บุคคล เสมือน เป็น ผู้ เอาประกันภัย ตาม สัญญา กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.8 แต่ โจทก์ มิได้ แนบ สัญญากรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว มา กับ ฟ้อง โจทก์ เพิ่ง ยกขึ้น ใน ชั้นฎีกาคำฟ้อง ของ โจทก์ ใน ส่วน ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น ฟ้องเคลือบคลุมคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน