คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา393,326ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองกล่าวคำดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมหรือไม่ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงจำเลยที่2ด้วยเป็นการไม่ชอบเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งในข้อที่ว่าในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นวินิจฉัยถึงจำเลยคนใดบ้างอันเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา22ที่แก้ไขใหม่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ไม่ได้.

ย่อยาว

คดีทั้ง สอง สำนวน ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา รวมกัน โดยทั้ง สอง สำนวน โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 393, 90 คำสั่ง ของ คณะปฏิรูป การปกครอง แผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลง วันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 7, 9
จำเลย ทั้งสอง ให้การ ปฏิเสธ ทั้ง สอง สำนวน
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง ทั้ง สอง สำนวน
โจทก์ร่วม อุทธรณ์ ทั้ง สอง สำนวน
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยก อุทธรณ์ โจทก์ร่วม
โจทก์ร่วม ฎีกา ทั้ง สอง สำนวน
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา วินิจฉัย คง มี ว่า คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ คดี ทั้ง สอง สำนวน โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษจำเลย ทั้ง สอง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393, 326 ที่ แก้ไข แล้วซึ่ง มี อัตรา โทษ จำคุก ไม่เกิน หนึ่ง เดือน หรือ ปรับ ไม่เกินหนึ่งพัน บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ และ จำคุก ไม่เกิน หนึ่ง ปีหรือ ปรับ ไม่เกิน สองพัน บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ ตาม ลำดับเมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง คดี จึง ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาใน ศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ที่ แก้ไข ใหม่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ มา ยัง มี ข้อสงสัย ว่า จำเลย ทั้งสองกล่าวคำ ดูหมิ่น และ หมิ่นประมาท โจทก์ร่วม หรือไม่ ยก ประโยชน์ แห่งความ สงสัย ให้ จำเลย ทั้งสอง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ร่วม อุทธรณ์ ว่าคำ วินิจฉัย ของ ศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัย ถึง จำเลย ที่ 2 ด้วยเป็น การ ไม่ ชอบ เห็น ว่า คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัยถึง จำเลย ที่ 2 ด้วย แล้ว การ ที่ โจทก์ร่วม อุทธรณ์ ว่า มิได้วินิจฉัย ถึง จึง เป็น การ โต้แย้ง ใน ข้อ ที่ ว่า ใน คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น นั้น วินิจฉัย ถึง จำเลย คนใด บ้าง อัน เป็น การ อุทธรณ์โต้เถียง ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า อุทธรณ์ของ โจทก์ร่วม เป็น ปัญหา ข้อเท็จจริง เป็น อุทธรณ์ ที่ ต้องห้ามไม่ รับ วินิจฉัย ให้ นั้น จึง เป็น การ ชอบ แล้ว ฎีกา โจทก์ร่วมฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน

Share