คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2503

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลป พ.ศ. 2479 มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนี้โดยเด็ดขาดเกี่ยวกับการสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ ศาลไม่อาจเข้าไปวินิจฉัยซ้อนการวินิจฉัย ของคณะกรรมการดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ผิดกฎหมาย
คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปพิจารณาเห็นว่า โจทก์มีความประพฤติไม่ดี โดยต้องคำพิพากษาให้จำคุกฐานแจ้งความเท็จแต่ให้รอการลงโทษจำคุกและต้องคดีฐานข่มขืนกระทำชระเราเด็กหญิง แต่อัยการถอนฟ้อง เพราะโจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่เสียหาย ๆ ถอนคำร้องทุกข์ก็ดี คณะกรรมการถือว่า โจทก์มีความประพฤติเสียหายอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ คณะกรรมการเห็นว่า โจทก์ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 14 (2) จึงมีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลปของโจทก์ และมติของคณะกรรมการได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงซึ่งทำการแทนรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณะสุข ตารมพระราชกฤษฎีกามอบให้ ปลัดกระทรวงทำการแทนแล้ว ย่อมเด็ดขาดเพียงนี้ ศาลไม่อาจพิจารณาในเรื่องนี้ได้
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปฯ ไม่ได้บัญญัติให้ออกหมายเรียกผู้ถูกไต่สวนในเรื่องขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 14 (2) จึงมีมติให้เพิกถอนใบอนุญาติประกอบโรคศิลปของโจทก์ และมติของคณะกรรมการได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงซึ่งทำการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขตามพระราชกฤษฎีกามอบให้ปลัดกระทรวงทำการแทนแล้ว ย่อมเด็ดขาดเพียงนี้ ศาลไม่อาจพิจารณาในเรื่องนี้ได้
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปฯ ไม่ได้บัญญัติให้ออกหมายเรียกผู้ถูกไต่สวนในเรื่องขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 14(2) ว่าให้ทำตามแบบฟอร์มหมายเรียกของพนักงานสอบสวนหรือศาลฉะนั้น จะทำเป็นหนังสือธรรมดาแต่ให้มีข้อความว่าเรียกตัวไปไต่สวนเรื่องนี้ก็พอแล้ว
คณะอนุกรรมการมีอำนาจไต่สวนพยานหลักฐานไปฝ่ายเดียวลับหลังผู้ถูกไต่สวน เมื่อผู้ถูกไต่สวนไม่ยอมรับหนังสือ เรียกและไม่ไป แก้ข้อหาดังกล่าว
ประธานกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปมีอำนาจสั่งให้คณะอนุกรรมการทำการไต่สวนเรื่องโจทก์มีความประพฤติเสียหายอันจะทำให้เสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ได้ตาม มาตรา 9. และเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวนรวบรวม พยานหลักฐานซึ่งได้ความดังกล่าวข้างต้นผู้ช่วยอนามัยจังหวัดและอนามัยอำเภอจึงเสนอเรื่องไปยังผู้ว่าราชจังหวัด ๆ เสนอต่อไปยังประธานกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติตามระเบียบราชการ ไม่เป็นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือละเมิดโจทก์ประการใด

ย่อยาว

ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปแผนโบราณ สาขาเวชกรรมและเภสัชกรรมและได้รับอนุญาตให้ขายยาประเภท ค.ง. ต่อมาโจทก์ถูกศาลพิพากษาจำคุก ๒ เดือน ปรับ ๒๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ๓ ปี และโจทก์ถูกอัยการฟ้องในข้อหาฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่มารดาของเด็กหญิงผู้นั้น จึงได้มีการถอนคำร้องทุกข์และอัยการถอนฟ้องไป จำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นอนามัย อำเภอธัญญบุรี ได้ไต่สวนและรายงานพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ไปยังจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้ช่วยอนามัยจังหวัดปทุมธานี โดยเห็นว่า เป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพจำเลยที่ ๓ เสนอต่อไปยังจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เสนอไปยังจำเลยที่ ๑ ในที่สุดจำเลยที่ ๑ ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนในอนุญาตประกอบโรคศิลปแผนโบราณทุกสาขาของโจทก์ โจทก์ จึงฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทุกคนเป็นการประมาทเลินเล่อละเมิดต่อโจทก์ เพราะไม่เรียกจำเลยไปไต่สวนและการสั่งเช่นนี้เป็นอำนาจของศาล จึงเรียกค่าเสียหายรวม ๑๖,๐๐๐ บาท จำเลยทุกคนคนต่อสู้ว่าได้ทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการได้เรียกโจทก์มาแก้ข้อหาและถ้ามีพยานหลักฐานก็ให้นำมาสืบแก้ตัวแต่โจทก์ไม่ยอมรับหนังสือเรียกของคณะอนุกรรมการ เป็นความผิดของโจทก์เอง
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลทั้งสองว่า การกระทำของจำเลยทุกคนไม่เป็นละเมิด ให้ยกฟ้องโจทก์
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกามีว่า
(๑) คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลป์ซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลป พ.ศ. ๒๔๗๙ มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนี้ โดยเด็ดขาดเกี่ยวกับการสั่งพักหรือเพิกถอนในอนุญาตประกอบโรคศิลปศาลไม่อาจเข้าไปวินิจฉัยซ้อนวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ผิดกฎหมายในเรื่องของโจทก์นี้ คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า โจทก์มีความประพฤติไม่ดี โดยต้องคำพิพากษาให้จำคุกฐานแจ้งความเท็จ แต่ให้อากรลงโทษจำคุกและต้องคดีฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง แต่อัยการถอนฟ้องเพราะโจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย ๆ ถอนคำร้องทุกข์ก็ดี คณะกรรมการถือว่า โจทก์มีความประพฤติเสียหายอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ คณะกรรมการเห็นว่า โจทก์ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๑๔ (๒) จึงมีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ของโจทก์ และมติของคณะกรรมการได้รับอนุมัติจากปลัดประทรวงซึ่งทำการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขตามพระราชกฤษฎีกามอบอำนาจ ให้ปลัดกระทรวงทำการแทนแล้ว ย่อมเด็ดขาดเพียงนี้ ศาลไม่อาจพิจารณาในเรื่องนี้ได้ที่โจทก์เถียงว่า หนังสือของคณะอนุกรรมการสอบสวนที่เรียกโจทก์ไปสอบสวนนั้น ไม่ได้ทำเป็นหมายเรียก
ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลทั้งสองว่า ตามกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ออกหมายเรียกผู้ถูกไต่สวนตามแบบฟอร์มของพนักงานสอบสวนหรือศาล ฉะนั้นจะทำเป็นหนังสือธรรมดา แต่ให้มีข้อความว่าเรียกตัวไปไต่สวนเรื่องนี้ ก็พอแล้ว การที่คณะอนุกรรมการไต่สวนพยานหลักฐานไปฝ่ายเดียวลับหลังโจทก์เพราะเหตุโจทก์ไม่ยอมรับหนังสือเรียกและไม่ไปแก้ข้อหาดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นว่า คณะอนุกรรมมีอำนาจทำได้ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(๓) จำเลยที่ ๑ มีอำนาจสั่งให้คณะอนุกรรมการทำการไต่สวนเรื่องโจทก์มีความประพฤติเสียหายอันจะทำให้เสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพได้ตาม มาตรา ๙ และเป็นหนังที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวนรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนได้ความดังกล่าวมาในข้อ (๑) จำเลยที่ ๓ – ๔ เสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ ๒ ๆ เสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ ๑ เป็นการปฏิบัติตามระเบียบราชการจำเลยไม่ได้ทำการประมาทเลินเล่อละเมิดโจทก์ประการใดเลย

Share