คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา60ที่บัญญัติว่าเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสั่งประการใดแล้วให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งนั้นหมายถึงให้คู่กรณีฟ้องขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาว่าฝ่ายใดมีกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทดีกว่ากันเมื่อจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายที่ดินฯโดยรวบรวมพยานหลักฐานทั้งของฝ่ายโจทก์และฝ่ายผู้คัดค้านเปรียบเทียบกันแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานของฝ่ายผู้คัดค้านมีเหตุผลดีกว่าจึงมีคำสั่งให้งดออกโฉนดที่ดินให้โจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แม้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าที่พิพาทมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันแต่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอาจเป็นที่เสียหายแก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาโต้แย้งได้ สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดินและการใช้ร่วมกันของประชาชนโดยไม่ต้องมีเอกสารของทางราชการกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่พิพาทเป็นที่ที่ราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ก่อนที่ ล. และ ค. จะเข้าครอบครองจึงเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันโจทก์จะอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เพราะ ค. ผู้ขายให้โจทก์ครอบครองที่พิพาทมานานแล้วหาได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย เพิกถอน ยกเลิก คำสั่ง ของ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัด ตาก ที่ 14/2533 ลงวันที่ 18 เมษายน 2533 ที่ ให้ งดการ ออก โฉนด ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ภายใน เส้น สี ชมพู เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ ให้ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง แปลง
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน ที่ โจทก์ ขอ รังวัด ออก โฉนด ที่ดิน เป็นที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง สงวน ไว้ สำหรับ พลเมือง ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ใด ๆ ใน ที่ดิน ดังกล่าว ทั้ง ไม่มี สิทธิขอ ออก โฉนด ที่ดิน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ ให้ งด ออก โฉนด ที่ดิน จึง ชอบ ด้วยระเบียบ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ ไม่ โต้เถียงกัน ฟังได้ ว่า จำเลย เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด ตาก มี หน้าที่ ควบคุมและ บริหาร งาน เกี่ยวกับ ที่ดิน ใน จังหวัด เช่น การ ออก เอกสารสิทธิและ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม เกี่ยวกับ ที่ดิน เมื่อ วันที่20 กันยายน 2532 โจทก์ ไป ยื่น คำขอ ออก โฉนด ที่ดิน ที่ สำนักงาน ที่ดินจังหวัด ตาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ หลักฐาน ของ โจทก์ และ ระวางที่ดิน แล้ว ได้ สอบสวน พยานโจทก์ ผู้ยื่น คำขอ และ รังวัด ที่ดิน ตาม ที่โจทก์ นำ ชี้ เมื่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รังวัด เสร็จ แล้ว จำเลย ได้ ออกประกาศ ลงวันที่ 18 มกราคม 2533 ไป ปิด ไว้ ให้ ทราบ ทั่ว กัน เพื่อ แจกโฉนด ที่ดิน และ ให้ โอกาส ผู้ที่ จะ มา คัดค้าน ได้ คัดค้าน เสีย ภายใน30 วัน ปรากฏว่า นายอำเภอ เมือง ตาก ได้ มอบอำนาจ ให้ กำนัน ตำบล แม่ท้อ มา คัดค้าน ว่า ที่ดิน ที่ โจทก์ ยื่น คำขอ ให้ ออก โฉนด ที่ดิน เป็น ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับ ประชาชน ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน โดย เป็นที่ เลี้ยงสัตว์ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ได้ เรียก ผู้คัดค้าน มา สอบสวนแล้ว จำเลย รวบรวม พยานหลักฐาน ของ ฝ่าย โจทก์ และ ฝ่าย ผู้คัดค้านมา เปรียบเทียบ กัน หลังจาก นั้น ก็ มี คำสั่ง ที่ 14/2533 ลงวันที่ 18เมษายน 2533 ว่า ที่พิพาท เป็น ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับประชาชน ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน ให้ งด ออก โฉนด ที่ดิน ให้ โจทก์ ปัญหาวินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ มี ว่า โจทก์ จะ ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ที่ 14/2533ลงวันที่ 18 เมษายน 2533 ที่ ให้ งด การ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ได้ หรือไม่ เห็นว่า มาตรา 56 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ได้ บัญญัติ ว่า แบบ หลักเกณฑ์ และ วิธีการ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ กำหนดโดย กฎกระทรวง และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2497) ออก ตาม ความในพระราชบัญญัติ ให้ ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่ ใช้ บังคับอยู่ ใน ขณะ นั้น กำหนด ไว้ ใน ข้อ 10 ว่า ใน กรณี ออก โฉนด ที่ดิน เฉพาะ รายให้ นำ ความ ที่ กำหนด ไว้ ใน ข้อ 9 มา ใช้ บังคับ โดย อนุโลม ข้อ 9(3)กำหนด ว่า “ก่อน แจก โฉนด ที่ดิน ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ประกาศ การ แจกโฉนด ให้ ทราบ มี กำหนด 30 วัน ” ใน กรณี ที่ มี ผู้โต้แย้ง สิทธิ ใน การออก โฉนด ที่ดิน นั้น มาตรา 60 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528 มาตรา 10 บัญญัติ ว่า”ใน การ ออก โฉนด ที่ดิน หรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถ้า มีผู้โต้แย้ง สิทธิ กัน ให้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ เจ้าพนักงาน ที่ดินแล้วแต่ กรณี มีอำนาจ ทำการ สอบสวน เปรียบเทียบ ถ้า ตกลง กัน ได้ ให้ดำเนินการ ไป ตาม ที่ ตกลง หาก ตกลง กัน ไม่ได้ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัดหรือ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด สาขา มีอำนาจ พิจารณา สั่งการ ไป ตาม ที่เห็นสมควร
เมื่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด หรือ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัด สาขา สั่ง ประการใด แล้ว ให้ แจ้ง เป็น หนังสือ ต่อ คู่กรณีเพื่อ ทราบ และ ให้ ฝ่าย ที่ ไม่พอ ใจ ไป ดำเนินการ ฟ้อง ต่อ ศาล ภายใน กำหนดหก สิบ วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่ง
ใน กรณี ที่ ได้ ฟ้อง ต่อ ศาล แล้ว ให้ รอ เรื่อง ไว้ เมื่อ ศาล ได้พิพากษา หรือ มี คำสั่ง ถึงที่สุด ประการใด จึง ให้ ดำเนินการ ไป ตาม กรณีถ้า ไม่ฟ้อง ภายใน กำหนด ก็ ให้ ดำเนินการ ไป ตาม ที่ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัด หรือ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด สาขา สั่ง แล้วแต่ กรณี “ดังนั้น การ ที่ จำเลย ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ที่ดิน สั่ง งด ออก โฉนด ที่ดินให้ โจทก์ เห็น ได้ว่า ได้ กระทำ ไป เพื่อ ที่ จะ ปฏิบัติ ตาม ขั้นตอน ที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 บัญญัติ ไว้ โดย ทำการ สอบสวน เปรียบเทียบจาก พยานหลักฐาน ของ คู่กรณี ทุก ฝ่าย แล้ว ใช้ ดุลพินิจ ไป ตาม ที่ เห็นสมควรส่วน ที่ บทบัญญัติ มาตรา ดังกล่าว ระบุ ว่า เมื่อ เจ้าพนักงาน ที่ดินสั่ง ประการใด แล้ว ให้ ฝ่าย ที่ ไม่พอ ใจ ไป ดำเนินการ ฟ้อง ต่อ ศาล ภายในกำหนด หก สิบ วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่ง นั้น หมายถึง ให้ คู่กรณี ฟ้องเพื่อ ขอให้ ศาล พิจารณา พิพากษา เกี่ยว ด้วย เรื่อง กรรมสิทธิ์ ที่ดินที่พิพาท ว่า ผู้ใด มีสิทธิ ดีกว่า กัน โดย เจ้าพนักงาน ที่ดิน จะ รอ เรื่องการ ออก โฉนด ไว้ ใน ระหว่าง นั้น แม้ โจทก์ จะ กล่าว ใน คำฟ้อง ว่า คำสั่ง ของจำเลย เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ จำเลย มิได้ ไต่สวน และรับฟัง พยาน โดย รอบคอบ หลงเชื่อ ผู้คัดค้าน ก็ ปรากฏว่า จำเลย ได้ รวบรวมพยานหลักฐาน ทั้ง ของ ฝ่าย โจทก์ และ ฝ่าย ผู้คัดค้าน มา เปรียบเทียบ กัน แล้วเห็นว่า หลักฐาน และ เอกสาร ของ ฝ่าย ผู้คัดค้าน มีเหตุ ผล ดีกว่า จึง มีคำสั่ง ให้ งด ออก โฉนด ที่ดิน ให้ โจทก์ จะ ถือว่า จำเลย กระทำ ไป โดย ไม่ชอบหรือไม่ สุจริต หาได้ไม่ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ขอให้ เพิกถอน คำสั่งดังกล่าว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ มา นั้น ชอบแล้วฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ฎีกา จำเลย ที่ ฎีกา ว่า ที่พิพาท เป็น ที่ สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน สำหรับ พลเมือง ใช้ เลี้ยงสัตว์ ร่วมกัน มิใช่ เป็น ที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย นั้น ศาลฎีกา เห็นว่าแม้ จำเลย จะ เป็น ฝ่าย ชนะคดี เพราะ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ดัง ที่ ได้ วินิจฉัยมา ข้างต้น ก็ ตาม แต่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้ วินิจฉัย ว่า ที่พิพาท มิได้เป็น ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับ พลเมือง ใช้ เลี้ยงสัตว์ ร่วมกันแต่ เป็น ที่ดิน รกร้าง ว่างเปล่า นั้น อาจ เป็น ที่ เสียหาย แก่ จำเลยจำเลย ย่อม มีสิทธิ ฎีกา โต้แย้ง ได้ ปัญหา ตาม ฎีกา จำเลย ดังกล่าวพยาน จำเลย มี น้ำหนัก มาก กว่า พยานโจทก์ ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่าราษฎร ใช้ ที่พิพาท เป็น ที่ เลี้ยงสัตว์ มา ตั้งแต่ 50 ปี ก่อน และเมื่อ ปี 2509 นาย ลองและนางคำแก้ว เข้า ไป อยู่ ใน ที่พิพาท ที่พิพาท จึง เป็น ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง พลเมือง ใช้ เลี้ยงสัตว์ ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ก่อน ที่นาย ลอง และ นาง คำแก้ว จะ เข้า ครอบครอง โจทก์ จะ อ้างว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ เพราะ นาง คำแก้ว ซึ่ง ขาย ที่พิพาท ให้ โจทก์ ได้ ครอบครอง มา นาน แล้ว หาได้ไม่ ส่วน ที่ ไม่มี การ บันทึก ระบุ ไว้ ใน เอกสาร แสดง สิทธิ ในที่ดิน ข้างเคียง ที่พิพาท ว่า ที่พิพาท เป็น ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดินกับ นาง คำแก้ว ได้เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ ใน ที่พิพาท นั้น หา เป็น การ แสดง ว่า ที่พิพาท ไม่ใช่ ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับ พลเมืองใช้ เลี้ยงสัตว์ ร่วมกัน ไม่ เพราะ ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทที่ เป็น ทรัพย์สิน สำหรับ พลเมือง ใช้ ร่วมกัน นั้น เกิดขึ้น และ เป็น อยู่ตาม สภาพ ของ ที่ดิน และ การ ใช้ ร่วมกัน ของ ประชาชน โดย ไม่ต้อง มี เอกสารของ ทางราชการ กำหนด ให้ เป็น ที่สาธารณประโยชน์ เช่นนั้นที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่า ที่พิพาท เป็น ที่รกร้างว่างเปล่าไม่เป็น ที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับ พลเมือง ใช้ ร่วมกัน นั้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ที่พิพาท เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share