แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยาน ศ. เพิ่มเติมหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จโดยอ้างว่า ศ. เป็นบุคคลที่นั่งไปในรถยนต์ของจำเลยขณะเกิดเหตุด้วยนั้นหากเป็นความจริงจำเลยก็อาจทราบได้ตั้งแต่หลังจากเกิดเหตุและก่อนถูกฟ้องคดีแล้วการที่จำเลยไม่ทราบจึงเป็นเพราะจำเลยไม่ขวนขวายเอาใจใส่คดีของจำเลยเองศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายแล้ว โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็น สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเพราะเป็นการขอบังคับให้เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์ร่วมมีอยู่เมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ย่อยาว
คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน โดยเรียก นาย เป แก้วศรี เป็น โจทก์ ที่ 1 นาง บุญมี โพธคาร เป็น โจทก์ ที่ 2 นางสาว พิกุล โพธคาร เป็น โจทก์ ที่ 3
โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง ส่วน โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ฟ้อง โดย ได้รับ อนุญาตให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา โดย ฟ้อง มี ใจความ รวมกัน ว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 นาย วัชรบูลย์ จุลวงศ์ ลูกจ้าง ของ จำเลย ได้ ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 83-9439 กรุงเทพมหานคร ซึ่ง จำเลยเป็น เจ้าของ ไป ใน ทางการที่จ้าง ถึง จังหวัด อุบลราชธานี นาย วัชรบูลย์ ขับ รถ ไป ตาม ถนน อุปราช ด้วย ความ เร็ว เมื่อ ถึง ทางแยก ทาง ร่วม ไม่ยอม ลด ความ เร็ว เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ ที่นาย วัชรบูลย์ ขับ อยู่ เฉี่ยว ชน รถจักรยานยนต์ ที่นาย บรรยง แก้วศรี บุตร โจทก์ ที่ 1 ขับ อยู่ บน ถนน อุปราช ทำให้ รถจักรยานยนต์ เสียหาย เป็นเหตุ ให้ นาย บรรยง ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 3 ซึ่ง นั่ง ซ้อน ท้ายรถ จักรยานยนต์ ของ นาย บรรยง ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส แขน และ ขา หัก ทำให้ โจทก์ ทั้ง สาม ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 458,700 บาทแก่ โจทก์ ที่ 1 และ ชำระ เงิน จำนวน 451,700 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ใน สำนวน แรกว่า เหตุ เกิดขึ้น เพราะ ความประมาท ของ นาย บรรยง ฝ่ายเดียว โจทก์ ที่ 1 ไม่ได้ เป็น เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครอง รถจักรยานยนต์ คันหมายเลข ทะเบียน อุบลราชธานี ง-8652 ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายและ ค่าเสียหาย ของ รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 6,000 บาท โจทก์ ที่ 1ไม่ใช่ บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย บรรยง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน จาก การ ขาดไร้อุปการะ และ ค่าใช้จ่าย ใน การ ปลงศพนาย บรรยง ไม่มี ความผูกพัน ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้อง ทำการ งาน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 แต่ ถ้าหาก ศาล เห็นว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด ก็ ไม่เกิน5 ปี เพราะ โจทก์ ที่ 1 มี อายุ 69 ปี แล้ว โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ เป็นผู้ถูกทำละเมิด ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
นาง ปุ่น แก้วศรี มารดา ของ นาย บรรยง แก้วศรี ผู้ตาย ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ใน สำนวน คดี แรก ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ยื่นคำให้การ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ร่วม เคลือบคลุม และ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 และโจทก์ร่วม จำนวน 117,000 บาท ชำระ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 5,726 บาทชำระ แก่ โจทก์ ที่ 3 จำนวน 30,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย จาก ต้นเงินดังกล่าว ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น นอกนั้น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประเด็น ข้อ แรก ที่ ต้อง วินิจฉัย มี ว่า ที่ศาลชั้นต้น ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ยื่น บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม ชอบ หรือไม่ทนายจำเลย อ้างว่า นาย ศักดิ์ชัย สารสีมา เป็น บุคคล ที่นั่ง ไป ใน รถยนต์ ของ จำเลย ขณะ เกิดเหตุ ด้วย แต่ จำเลย ไม่ทราบ มา ก่อน จึงมิได้ อ้าง เป็น พยาน เพิ่ง ทราบ เมื่อ สืบพยานโจทก์ เสร็จ แล้วจึง ขอ ระบุ นาย ศักดิ์ชัย เป็น พยาน เพิ่มเติม เห็นว่า หาก นาย ศักดิ์ชัย นั่ง ไป ใน รถยนต์ ของ จำเลย จริง จำเลย ก็ อาจ ทราบ ได้ ตั้งแต่ หลังจาก เกิดเหตุ และ ก่อน ถูก ฟ้องคดี แล้ว การ ที่ จำเลย ไม่ทราบ จึง เป็นเพราะ จำเลย ไม่ ขวนขวาย เอาใจใส่ ใน คดี ของ จำเลย เอง ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ให้ จำเลย ยื่น บัญชีระบุพยาน เพิ่มเติม ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้าย แล้ว
ประเด็น ข้อ ที่ สอง มี ว่า คดี ของ โจทก์ร่วม ขาดอายุความ และ เป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ร่วม เป็น มารดา ของนาย บรรยง แก้วศรี ผู้ตาย โจทก์ร่วม จะ มีสิทธิ ได้รับ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู จาก ผู้ตาย หรือไม่ อย่างไร เป็น สิทธิ เฉพาะตัว ของ โจทก์ร่วมและ ไม่เกี่ยวกับ สิทธิ ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น บิดา ของ ผู้ตาย และ ได้ ฟ้องคดี ไป แล้ว ดังนั้น หาก โจทก์ร่วม จะ ฟ้องคดี เอง โจทก์ร่วม จะ ต้อง ฟ้องภายใน อายุความ การ ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม มีผล เสมือน เป็น การ ฟ้องคดีเพราะ เป็น การ ขอ บังคับ ให้ เป็น ไป ตาม สิทธิ ที่ โจทก์ร่วม มี อยู่เกิด เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2529 โจทก์ร่วม ยื่น คำร้องขอ เข้า มาเป็น โจทก์ร่วม เมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 นับ จาก วันเกิดเหตุเป็น เวลา เกิน 1 ปี แล้ว เมื่อ การ ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม มีผล เสมือนเป็น การ ฟ้องคดี คดี ของ โจทก์ร่วม จึง ขาดอายุความ เมื่อ คดี ของ โจทก์ร่วมขาดอายุความ แล้ว เช่นนี้ ประเด็น เรื่อง ฟ้องเคลือบคลุม หรือไม่ ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย
ประเด็น ข้อ ที่ สาม มี ว่า เหตุ ที่ รถ ชนกัน เกิดจาก ความประมาทเลินเล่อ ของ นาย วัชรบูลย์ ลูกจ้าง ของ จำเลย ด้วย หรือไม่ ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เหตุ ที่ รถ ชนกัน เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อของ นาย วัชรบูลย์ ด้วย
ประเด็น ข้อ สุดท้าย มี ว่า โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 มีสิทธิได้รับ ชดใช้ ค่าเสียหาย เพียงใด ศาลฎีกา เห็นว่า เหตุ ที่ รถ ชนกันเกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ ผู้ตาย และ ของ นาย วัชรบูลย์ ไม่ ยิ่งหย่อน กว่า กัน เมื่อ เป็น เช่นนี้ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น บิดา ของผู้ตาย ย่อม ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ร่วม ให้จำเลย ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 5,720 บาท และ ชำระให้ แก่ โจทก์ ที่ 3 จำนวน 31,140 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1