แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่2ครอบครองที่พิพาทในระหว่างคดีจะอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่จึงไม่อาจนับระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาที่ได้ครอบครองมาก่อนวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ได้และเมื่อหลังจากที่คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วจำเลยที่2ก็เพิ่งครอบครองที่พิพาทมาเพียง7ปีเศษจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง ยุพิน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5507 และ ที่ 5524 เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาง ยุพิน และ จำเลย ที่ 1 คน ละ ครึ่ง ขอให้ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ไป แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ให้ โจทก์ ตาม ฟ้อง หาก ไม่ไป ให้ ถือเอาคำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา แทน ให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 2 และบริวาร ออกจาก ที่ดิน และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ส่ง โฉนด ที่ดิน ทั้ง สอง ฉบับแก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น สามี โดยชอบด้วย กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ถึงแก่ความตาย ไป แล้ว จำเลยที่ 2 ได้ ครอบครอง ทำนา ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5507 และ 5524 รวมทั้งส่วน ของ นาง ยุพิน ด้วย เป็น เวลา เกินกว่า 10 ปี แล้ว ขอให้ ศาล พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ให้ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 5507 และ 5524 เฉพาะ ส่วนของ นาง ยุพิน เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 2 โดย การ ครอบครอง ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 2 ใน โฉนด ที่ดิน ทั้ง สอง แปลงหาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า จำเลย ที่ 2 อ้าง การ ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ก่อน วันนัดชี้สองสถาน โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต
ก่อน สืบพยาน คู่ความ แถลงรับ ข้อเท็จจริง ตาม รายงาน กระบวนพิจารณาฉบับ ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ ที่ จะวินิจฉัย ได้ แล้ว จึง งดสืบพยาน โจทก์ และ จำเลย
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน โฉนดเลขที่ 5507 และ โฉนด เลขที่ 5524 ตำบล คูบัวเหนือ อำเภอ เมือง ราชบุรี จังหวัด ราชบุรี ใน ส่วน ที่ เป็น ของ นาง ยุพิน ชื่นกลมรัก ให้ จำเลย ที่ 2 ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 5507 และ โฉนด เลขที่ 5524 ตำบล คูบัวเหนือ อำเภอ เมือง ราชบุรี จังหวัด ราชบุรี แก่ โจทก์ เพื่อ แบ่งแยก
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ในชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก จำเลย ที่ 2 ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า จำเลย ที่ 2 ครอบครอง ที่พิพาท ก่อน ศาลฎีกา พิพากษาและ หลังจาก ศาลฎีกา พิพากษา แล้ว จำเลย ที่ 2 ก็ ได้ ครอบครอง มา ตลอดรวม ระยะเวลา ทั้ง 2 ช่วง เกิน 10 ปี โดย จำเลย ที่ 2 ครอบครอง โดยความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่พิพาทจึง ตกเป็น ของ จำเลย ที่ 2 ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่า นาง ยุพิน ชื่นกลมรัก มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5507 ตำบล คูบัวเหนือ อำเภอ เมือง ราชบุรี จังหวัด ราชบุรี รวมกับ นาง จำปี พิมเพาะ โดย ที่ดิน ส่วน ของ นาง ยุพิน อยู่ ทาง ด้าน ทิศตะวันออก เนื้อที่ ประมาณ 5 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา และ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5524 ตำบล คูบัวเหนือ อำเภอ เมือง ราชบุรี จังหวัด ราชบุรี นาง ยุพิน เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รวมกับ นาง จำปี โดย ส่วน ของ นาง ยุพิน อยู่ ทาง ด้าน เหนือ เนื้อที่ ประมาณ 4 ไร่ 30 งาน 20 ตารางวา เมื่อ ปี 2525 จำเลย ที่ 2 ได้ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลชั้นต้น เป็น คดี หมายเลขแดง ที่ 327/2526 และคดี หมายเลขแดง ที่ 400/2526 ของ ศาลชั้นต้น ขอให้ มี คำสั่ง ว่า ที่ดินส่วน ของ นาง ยุพิน ดังกล่าว เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 2 โดย การ ครอบครองปรปักษ์ โจทก์ ยื่น คำร้องคัดค้าน คดีถึงที่สุด แล้ว โดยศาลฎีกา พิพากษายก คำร้องขอ ของ จำเลย ที่ 2 ทั้ง 2 สำนวน ซึ่ง ได้วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 ครอบครอง ที่พิพาท คิด ถึง วัน ยื่น คำร้อง มีระยะเวลา เพียง 8 ปี หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 2 ก็ ยัง ครอบครอง ที่พิพาทติดต่อ กัน มา จน ถึง ขณะ นี้ เห็นว่า ระยะเวลา ที่ จำเลย ที่ 2 ครอบครองที่พิพาท ตั้งแต่ วัน ยื่น คำร้องขอ ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 327/2526และ คดี หมายเลขแดง ที่ 400/2526 ของ ศาลชั้นต้น จน ถึง วัน ฟัง คำพิพากษาศาลฎีกา นั้น เป็น การ ครอบครอง ที่พิพาท ใน ระหว่าง คดี จะ นับ ระยะเวลาการ ครอบครอง ใน ระหว่าง คดี ดังกล่าว รวม เข้า กับ ระยะเวลา ที่ ได้ ครอบครองมา ก่อน วัน ยื่น คำร้อง หาได้ไม่ ทั้งนี้ เพราะ การ ที่ คู่ความ ฝ่ายหนึ่งครอบครอง ที่พิพาท ใน ระหว่าง คดี นั้น คู่ความ ฝ่าย นั้น จะ อ้างว่า เป็นการ ครอบครองปรปักษ์ ต่อ คู่ความ อีกฝ่าย หนึ่ง หาได้ไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึง อ้าง การ ครอบครอง ใน ช่วง ระยะเวลา ที่ กำลัง พิพาท เป็น คดีอยู่ นั้น ขึ้น เป็น ปรปักษ์ ไม่ได้ เมื่อ ศาลฎีกา พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2ครอบครอง ที่พิพาท มา นับ ถึง วัน ยื่น คำร้อง เพียง 8 ปี ยัง ไม่ถึง 10 ปีจึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382คำพิพากษา ดังกล่าว ย่อม ผูกพัน จำเลย ที่ 2 ทั้ง หลังจาก ที่ ศาลฎีกาใน คดี ดังกล่าว พิพากษา แล้ว จน ถึง วันฟ้อง คดี นี้ จำเลย ที่ 2 ก็ เพิ่งครอบครอง ที่ดินพิพาท มา เพียง 7 ปี เศษ ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ไม่ปรากฏว่า จำเลย ที่ 2 อาจ นับ ระยะเวลา ก่อน และ หลังจาก คดี ที่ ศาลฎีกา ได้พิพากษา นั้น รวม เข้า ด้วยกัน ได้ โดย ไม่ ถือว่า ขาดตอน การ ยึดถือ ด้วยเหตุผล อย่างใด จำเลย ที่ 2 จึง ไม่อาจ นับ ระยะเวลา ทั้ง 2 ช่วง รวมเข้า ด้วยกัน ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 ยัง ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครอง มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน