คำสั่งคำร้องที่ 65/2535

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยที่ 3 ฎีกา พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาว่า ผู้พิพากษาที่ได้นั่ง พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยที่ 3 ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง จึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 3 และสั่งคำร้องว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม ศก นี้เป็นต้นไป ซึ่งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 3 อาจยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้อยู่แล้ว โดยไม่ จำต้องให้รับรองฎีกา แต่เพราะจำเลยที่ 3 เพิกเฉยปล่อยเวลา ให้ล่วงเลยไปเอง ประกอบกับเมื่อได้พิจารณาถึงพฤติการณ์ แห่งคดีแล้ว เห็นว่ายังไม่มีเหตุสมควร
จำเลยที่ 3 เห็นว่า การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นฎีกาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแก้ไขใหม่ใช้บังคับเนื่องจากการเบิกเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินวางศาลต้องผ่าน ขั้นตอนการเบิกจ่ายและตรวจสอบตามระเบียบวิธีปฏิบัติราชการ ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเสียเวลามาก จึงไม่ใช่เหตุอันควรพิจารณา ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โปรดมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 ฎีกา ในข้อเท็จจริงได้ด้วย
หมายเหตุ โจทก์แถลงคัดค้าน (อันดับ 87)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินจำนวน 80,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 3 ฎีกา พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 80,78)
จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 84 แผ่นที่ 3)

คำสั่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่แก้ไข เพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 บัญญัติว่า “ในคดีที่ราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท หรือไม่เกินจำนวน ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มี ความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดีได้รับรองไว้ หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุ สมควรที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาต ให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์” เพราะฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็น หนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาจึงไม่มี อำนาจรับรองให้จำเลยที่ 3 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ให้ยกคำร้อง คืน ค่าคำร้องเป็นพับ

Share