คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ข้อแตกต่างระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างชั่วคราวอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการจ้างไม่ใช่อยู่ที่จำนวนวันทำงานหรือค่าจ้างในแต่ละเดือนถ้านายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างไว้เป็นประจำก็ถือว่าเป็นลูกจ้างประจำแต่ถ้าตกลงจ้างไว้เพียงเพื่อให้ทำงานซึ่งมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นงานจรหรือเป็นงานตามฤดูกาลก็ถือว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราวเมื่อจำเลยจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างประจำหรือจ้างชั่วคราวและมิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แต่ลักษณะงานของจำเลยเป็นงานซึ่งมีอยู่โดยสม่ำเสมอไม่ใช่ทำเสร็จครั้งหนึ่งแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นกันไปโดยไม่มีงานให้ทำอีกต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานไปตามปกติจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาจ้างต่อกันโจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยข้อตกลงที่ให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการโดยจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานนั้นเป็นข้อตกลงกำหนดจำนวนวันทำงานและค่าจ้างกันเท่านั้นไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ทำ หน้าที่เภสัชกร ห้องยา ทำงาน สัปดาห์ ละ 3 วัน ค่าจ้าง วัน ละ 300 บาท กำหนดจ่าย ค่าจ้าง ทุก วัน สิ้นเดือน จำเลย มี หนังสือ แจ้ง โจทก์ มิให้เข้า ทำงาน กับ จำเลย โดย ไม่ มี กำหนด เวลา และ ไม่ มี สาเหตุ เป็นการ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าเสียหายค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุดพักผ่อน ประจำปี พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราว มิใช่ ลูกจ้าง ประจำจำเลย เพียง มี คำสั่ง พักเวร โจทก์ เนื่องจาก โจทก์ เอา บุคคล อื่นมา เข้า เวร แทน โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต จาก จำเลย และ ไม่ มา ทำงาน ตามกำหนด กับ มี ปัญหา เรื่อง ความ สามัคคี กับ ผู้ ร่วมงาน จำเลย มิได้เลิกจ้าง โจทก์ โจทก์ ไม่ ได้ ไป ติดต่อ กับ จำเลย เอง โจทก์ ไม่ มีสิทธิ หยุด พักผ่อน ประจำปี และ ไม่ มี สิทธิ เรียก เงิน ตาม ฟ้องขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง ฟัง ว่า จำเลย เป็น ลูกจ้าง ประจำ มี สิทธิ หยุด พักผ่อนประจำปี แต่ จำเลย ยัง ไม่ ได้ เลิกจ้าง โจทก์ พิพากษา ให้ จำเลย จ่ายค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำ ปี พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์คำขอ อื่น ให้ ยก
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ใน ปัญหา ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้างประจำ หรือไม่ ว่า ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 กำหนด ลักษณะ ของ ลูกจ้าง ประจำ กับ ลูกจ้าง ชั่วคราว ไว้แตกต่าง กัน กล่าวคือ ลูกจ้าง ประจำ หมายความ ว่า ลูกจ้าง ซึ่ง นายจ้างตกลง จ้าง ไว้ เป็น การ ประจำ ส่วน ลูกจ้าง ชั่วคราว หมายความ ว่าลูกจ้าง ซึ่ง นายจ้าง ตกลง จ้าง ไว้ ไม่ เป็น การ ประจำ เพื่อ ทำงานอัน มี ลักษณะ เป็น ครั้งคราว เป็น การจร หรือ เป็น ไป ตาม ฤดูกาลข้อ แตกต่าง ระหว่าง ลูกจ้าง ประจำ กับ ลูกจ้าง ชั่วคราว จึง อยู่ ที่วัตถุประสงค์ ของ การ จ้าง ไม่ ใช่ อยู่ ที่ จำนวน วัน ทำงาน หรือค่าจ้าง ใน แต่ ละ เดือน ถ้า นายจ้าง ตกลง จ้าง ลูกจ้าง ไว้ เป็น ประจำก็ ถือ ว่า เป็น ลูกจ้าง ประจำ แต่ ถ้า ตกลง จ้าง ไว้ เพียง เพื่อ ให้ทำงาน ซึ่ง มี ลักษณะ เป็น ครั้งคราว เป็น งาน จร หรือ เป็น งาน ตามฤดูกาล ก็ ถือ ว่า เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราว คดี นี้ ปรากฏ ว่า เมื่อจำเลย จ้าง โจทก์ นั้น จำเลย มิได้ แสดง ความ ประสงค์ ว่า จะ จ้างประจำ หรือ จ้าง ชั่วคราว ทั้ง มิได้ กำหนด ระยะ เวลา การ จ้าง ไว้แต่ ลักษณะ งาน ของ จำเลย เป็น งาน ซึ่ง มี อยู่ โดย สม่ำเสมอ ไม่ ใช่ทำ เสร็จ ครั้งหนึ่ง แล้ว ก็ เป็น อัน เสร็จสิ้น กัน ไป โดย ไม่ มี งานให้ ทำ อีก จึง ไม่ ใช่ เป็น งาน ซึ่ง มี ลักษณะ ต้อง ทำ เป็น ครั้งคราว เป็น งาน จร หรือ เป็น งาน ตาม ฤดูกาล ต้อง ถือ ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ให้ ทำงาน ไป ตาม ปกติ จนกว่า จะ มี การ เลิก สัญญา จ้าง ต่อ กัน โจทก์จึง เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ข้อ ที่ จำเลย ตกลง ให้ โจทก์ ทำงานเฉพาะ วัน เสาร์ วัน อาทิตย์ หรือ วัน หยุดราชการ โดย จ่าย ค่าจ้างเฉพาะ วัน ที่ มา ทำงาน นั้น เป็น ข้อตกลง กำหนด จำนวน วัน ทำงาน และค่าจ้าง กัน เท่านั้น ไม่ ทำ ให้ โจทก์ กลาย เป็น ลูกจ้าง ชั่วคราวของ จำเลย
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุดพักผ่อน ประจำปี ให้ แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share