แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อ นับ ถึง วันที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ ปลด จาก ล้มละลาย เป็น เวลา เพียง 2 ปี 7 เดือน เศษ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม และ ทำ บัญชี ส่วนแบ่ง ให้ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ เพียง ครั้งเดียว เป็น เงิน 729,785.96 บาท หรือ คิด เป็น ร้อยละ 1.54 ของ หนี้ ทั้งหมด โจทก์ ยัง มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ อีก 46,568,912.44 บาท และ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ได้ อีก และ การ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มี ทรัพย์สิน เหลือ ไม่ถึง ห้า สิบ ใน ร้อย ของ หนี้ ที่ ไม่มี ประกัน ไม่ใช่ ผล ธรรมดา อัน เนื่องมาจาก การค้า ขาย ขาดทุน และ ไม่ใช่ เป็นเหตุ สุดวิสัย แต่ เป็น เพราะ ความผิด พลาด ใน การ บริหาร งาน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อันควร จะ ตำหนิ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่อาจ แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ ต่อ ศาล ได้ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มีเหตุ ผล ที่ ควร เชื่อ ได้ว่า ตน สามารถ ชำระหนี้ โจทก์ ได้ จึง ได้ ก่อหนี้ ขึ้น เป็น จำนวน มาก ทั้ง มิได้ นำ บัญชี ใน การ ประกอบ ธุรกิจ และ งบดุล ประจำปี ใน ระยะเวลา 3 ปี ก่อน ล้มละลาย มา แสดง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ เห็น ฐานะ ของ กิจการ โดย ถูกต้อง ตาม จริง พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ต้องด้วย สันนิษฐาน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 74 ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขืน กระทำการ ค้าขาย ต่อไป อีก โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ไม่สามารถ จะ ชำระหนี้ ได้ ต้องด้วย ข้อกำหนด มาตรา 73(1) และ (3) ประกอบ กับ โจทก์ คัดค้าน การ ขอ ปลด จาก ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง นับ ว่า มีเหตุ ที่ ไม่สมควร ปลด จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จาก ล้มละลาย
ย่อยาว
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามไว้เด็ดขาด และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายต่อมาวันที่ 28 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งปลดจำเลยที่ 2 และที่ 3 จากล้มละลาย
โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน ขอให้ยกคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นรายงานเกี่ยวกับการปลดจากล้มละลายถึงกิจการทรัพย์สินและความประพฤติของจำเลยที่ 2 และที่ 3ว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้เพียงรายเดียวที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 47,388,658.40 บาท ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงงานผลิตมันเม็ดจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เงินกู้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกฟ้องล้มละลายเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามและทำบัญชีส่วนแบ่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงครั้งเดียว เมื่อหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้วเป็นเงิน 729,785.96 บาท คงเหลือหนี้ที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้อีก 46,568,912.44 บาทเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้อีก ทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการล้มละลาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 2 และที่ 3 จากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 71
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า สมควรปลดจำเลยที่ 1 และที่ 3 จากล้มละลายหรือไม่เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายหรือไม่อย่างไรนั้นจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงให้ได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้วจึงมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4)คดีนี้ ตามรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 เมื่อนับถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2537อันเป็นวันที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องปลดจากล้มละลายเป็นเวลาเพียง 2 ปี 7 เดือนเศษ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามและทำบัญชีส่วนแบ่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงครั้งเดียวเป็นเงิน 729,785.96 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.54 ของหนี้ทั้งหมด โจทก์ยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้อีก 46,568,912.44 บาท และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้อีก การที่จำเลยที่ 2และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มากกว่า อันควรจะตำหนิจำเลยที่ 2 และที่ 3นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปีในระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73(1) และ (3) ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอปลดจากล้มละลายของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยที่ 2 และที่ 3 จากล้มละลาย
พิพากษากลับไม่ยอมปลดจากล้มละลาย ให้ยกคำร้องขอปลดจากล้มละลายของจำเลยที่ 2 และที่ 3 และให้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2และที่ 3 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์