คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความ ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เมื่อพ้น 5 ปี แล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของทีดินที่ถูกเวนคืนย่อมมี สิทธิที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดต่อไป./

ย่อยาว

คดี ๗ สำนวนนี้ต่างโจทก์ แต่จำเลยคนเดียวกัน ในคำฟ้องมีใจความว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ นับแต่วันเวนคืนดังกล่าว จนบัดนี้เป็นเวลาเกินกว่า ๕ ปีแล้ว จำเลยยังไม่ได้ใช้ที่ดิน ของโจทก์ที่ถูกเวนคืน ฯลฯ แต่ประการใด โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนที่ดินตามมาตรา ๓๒ จึงขอให้ศาลบังคับ.
จำเลยต่อสู้คดีหลายประการ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้จำเลยคืนกรรมสิทธิที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้ง ๗ สำนวน.
จำเลยฎีกาว่า เหตุที่อนุญาโตตุลาการกำหนดค่าทำขวัญไม่เสร็จ จนเกิน ๕ ปี ไม่ใช่ความผิดของจำเลย และโจทก์จำต้อง รอคอยคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการก่อน ฯลฯ
ศาลฎีกาเห็นว่า การตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็ เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน ๕ ปี ตามความใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพ้น ๕ ปีแล้ว ถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคืนได้ตามความในมาตรา ๓๒ แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ โจทก์ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดต่อไป ฯลฯ
จึงพิพากษายืน

Share