แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่1ได้ยื่นซอง ประกวดราคาเสนอขายเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงให้โจทก์ตามใบเสนอราคาเมื่อวันที่4มีนาคม2530โดยให้สนองรับคำเสนอราคานั้นได้ภายใน120วันนับแต่วันที่เสนอราคาคือภายในวันที่2กรกฎาคม2530ต่อมาก่อนครบกำหนดระยะเวลา120วันนั้นจำเลยที่1และโจทก์ได้ตกลงขยายระยะเวลาการยืนราคาตามใบเสนอราคาออกไปจนถึงวันที่4สิงหาคม2530จำเลยที่1จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามคำเสนอของตนในใบเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้มีการขยายการยืนราคาออกไปนั้นการตกลง ขยายระยะเวลายืนราคาตามใบเสนอราคาออกไปมิใช่เป็นการผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศประกวดราคาจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการยื่นซองประกวดราคา แม้ในใจจริงจำเลยที่3 เจตนา ค้ำประกันจำเลยที่1ภายในกำหนดระยะเวลา120วันนับแต่วันที่4มีนาคม2530มิได้เจตนาค้ำประกันจำเลยที่1ตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาก็ตามแต่ตามสัญญาค้ำประกันก็มิได้กำหนดระยะเวลาค้ำประกันไว้เพียง120วันนับแต่วันที่4มีนาคม2530แต่จำเลยที่3กลับทำสัญญาค้ำประกันโดยแสดงเจตนาว่าจะไม่เพิกถอนการค้ำประกันในระหว่างเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงเจตนาในใจของจำเลยที่3ว่าต้องการผูกพันเพียง120วันจำเลยที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาตามที่ได้ แสดงเจตนาออกมา การที่โจทก์ได้คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยที่3ด้วยความเข้าใจผิดของพนักงานโจทก์ซึ่งโจทก์มิได้มีเจตนาประสงค์จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่3แม้จำเลยที่3ได้รับหนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็น หลักฐานแห่งหนี้คืนไปซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา327วรรคสามว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตามแต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันคืนจำเลยที่3จำเลยที่1ยังไม่ได้มาทำสัญญา ซื้อขายกับโจทก์ตามกำหนดนัดให้ถูกต้องจำเลยที่1ยังต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาอยู่และจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698จำเลยที่3จึงจะอ้างว่าเมื่อได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันจากโจทก์โดยสุจริตจำเลยที่3ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนจำกัดมี จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย ที่ 3 เป็น นิติบุคคลประเภท บริษัท จำกัด ประกอบ กิจการ ธนาคารพาณิชย์ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา ประกวดราคา ทำให้ โจทก์ เสียหาย จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการ และ จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้ค้ำประกัน ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 5,661,442 บาทให้ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน5,474,400 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ชำระ เงิน2,963,150 บาท ให้ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลย ที่ 3
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ เป็น ยุติ ตาม ที่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 3 นำสืบ รับ กัน และ ไม่โต้แย้งกัน ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ตาม พระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ. 2503 จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วน จำกัดโดย มี จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย ที่ 3 เป็น นิติบุคคลประเภท บริษัท จำกัด ประกอบ กิจการ ธนาคารพาณิชย์ เมื่อ วันที่3 กุมภาพันธ์ 2530 โจทก์ ออก ประกาศ ประกวดราคา จัดซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีตอัดแรง 2 ฉบับ ฉบับ ละ 3 รายการ ตาม สำเนา ประกาศ ประกวดราคา เอกสาร หมายจ. 3 และ จ. 4 จำเลย ที่ 1 มี หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 11 และ ล. 12ขอให้ จำเลย ที่ 3 ออก หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เป็น เงิน 3,317,500 บาทและ 2,156,900 บาท ค้ำประกัน การ ยื่น ซอง ประกวดราคา เสนอ ขาย เสา ไฟฟ้าคอนกรีต อัดแรง ของ จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ ตาม ประกาศ ประกวดราคา ของ โจทก์เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2530 ต่อมา วันที่ 4 มีนาคม 2530จำเลย ที่ 1 ยื่น ซอง ประกวดราคา ตาม ประกาศ ประกวดราคา ทั้ง สอง ฉบับของ โจทก์ โดย จำเลย ที่ 1 เสนอ ขาย เสา ไฟฟ้า คอนกรีต อัดแรง ตาม ราคาที่ เสนอ ใน ใบ เสนอราคา เอกสาร ล. 9 และ ล. 10 ให้ แก่ โจทก์ โดย ให้ โจทก์สนอง รับคำ เสนอ ตาม ใบ เสนอราคา นั้น ได้ ภายใน 120 วัน นับแต่ วัน เสนอราคาคือ ภายใน วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 ทั้งนี้ โดย จำเลย ที่ 1 ได้ นำหนังสือ สัญญาค้ำประกัน ซอง ประกวดราคา เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3จำเลย ที่ 3 ซึ่ง ตรง กับ สำเนา หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย จ. 6และ จ. 5 มา เป็น หลักประกัน ซอง ประกวดราคา ดังกล่าว ของ จำเลย ที่ 1เป็น เงิน 3,317,500 บาท และ 2,156,900 บาท ตามลำดับ โจทก์ ได้ต่อรอง ราคา กับ จำเลย ที่ 1 ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม 2530 โจทก์ มี หนังสือตาม สำเนา หนังสือ เอกสาร หมาย จ. 7 หรือ จ. 8 แจ้ง จำเลย ที่ 1 ว่าโจทก์ ตกลง สั่ง ซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีต อัดแรง ที่ จำเลย ที่ 1 ใน ราคา19,935,000 บาท และ 9,696,500 บาท ตามลำดับ โดย ให้ จำเลย ที่ 1มา ลงนาม ใน สัญญาซื้อขาย ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ได้รับ หนังสือ นั้นพร้อม ทั้ง ให้ จำเลย ที่ 1 เตรียม หนังสือ ค้ำประกัน ของ ธนาคาร ภายใน ประเทศหรือ เงินสด ร้อยละ 10 ของ มูลค่า บริภัณ ฑ์ที่ สั่ง ซื้อ เป็น หลักประกันการ ปฏิบัติ ตาม สัญญาซื้อขาย นั้น ไป มอบ ให้ ใน วัน ลงนาม ใน สัญญา ด้วยจำเลย ที่ 1 ได้รับ หนังสือ นั้น เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2530 ตาม สำเนาใบ ตอบรับ ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เอกสาร หมาย จ. 22 จำเลย ที่ 1โดย จำเลย ที่ 2 ได้ ลงนาม ใน สัญญาซื้อขาย ภายใน เวลา ที่ โจทก์ กำหนดแต่ มิได้ นำ เงินสด หรือ หนังสือ ค้ำประกัน ของ ธนาคาร ไป มอบ ให้ โจทก์ เป็นหลักประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญาซื้อขาย โจทก์ อ้างว่า จำเลย ที่ 1ผิดสัญญา ประกวดราคา และ มี หนังสือ ตาม สำเนา หนังสือ เอกสาร หมาย จ. 9แจ้ง ยกเลิก การ สั่ง ซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีต อัดแรง ให้ จำเลย ที่ 1 ทราบและ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ เงิน ประกัน ซอง ประกวดราคา จำนวน 3,317,500 บาทและ 2,156,900 บาท รวมเป็น เงิน 5,474,400 บาท ไป ชำระ ให้ โจทก์ภายใน 15 วัน ตั้งแต่ วัน ได้รับ หนังสือ และ มี หนังสือ ตาม สำเนา หนังสือเอกสาร หมาย จ. 11 แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 3 ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ ผิดเงื่อนไข ประกวดราคา และ ให้ จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน นำ เงิน ตามหนังสือ สัญญาค้ำประกัน จำนวน 3,317,500 บาท และ 2,156,900 บาทรวมเป็น เงิน 5,474,400 บาท ไป ชำระ ให้ โจทก์ ภายใน 15 วัน นับแต่วัน ได้รับ หนังสือ จำเลย ที่ 3 ได้รับ หนังสือ นั้น เมื่อ วันที่ 17มีนาคม 2531 ตาม ใบ ตอบรับ ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เอกสาร หมาย จ. 12จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ไม่ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ก่อนหน้า นั้น พนักงานของ โจทก์ เข้าใจผิด ว่า จำเลย ที่ 3 หมด ภาระ ผูกพัน กับ โจทก์ ตามหนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ของ จำเลย ที่ 3 แล้วและ ได้ มี หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 1 ส่ง หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ทั้ง สอง ฉบับนั้น คืน ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 เมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2530 โดย แจ้งไป ด้วย ว่า หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ดังกล่าว ได้ หมด ภาระ ผูกพัน กับ โจทก์แล้ว ต่อมา วันที่ 25 สิงหาคม 2530 โจทก์ มี หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 15/1แจ้ง จำเลย ที่ 3 ว่า หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าวยัง ไม่ หมด ภาระ ค้ำประกัน แต่ โจทก์ ได้ คืน ต้นฉบับ หนังสือ สัญญาค้ำประกันดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 เนื่องจาก การ เข้าใจผิด และ ขอให้ จำเลย ที่ 3ส่ง คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ทั้ง สอง ฉบับ ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 3มี หนังสือ ตาม สำเนา หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 16 แจ้ง โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 3ไม่มี ภาระ ผูกพัน ตาม หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ทั้ง สอง ฉบับนั้น แล้ว
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 3ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับผิด ต่อ โจทก์ หรือไม่ ฟังได้ ว่าหลังจาก จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น ซอง ประกวดราคา เสนอ ขาย เสา ไฟฟ้า คอนกรีตอัดแรง ให้ โจทก์ ตาม ใบ เสนอราคา เอกสาร หมาย ล. 9 และ ล. 10 เมื่อ วันที่4 มีนาคม 2530 โดย ให้ สนอง รับคำ เสนอราคา นั้น ได้ ภายใน 120 วันนับแต่ วันที่ เสนอราคา คือ ภายใน วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 แล้ว ต่อมาก่อน ครบ กำหนด ระยะเวลา 120 วันนั้น จำเลย ที่ 1 และ โจทก์ ได้ ตกลงขยาย ระยะเวลา การ ยืน ราคา ตาม ใบ เสนอราคา เอกสาร หมาย ล. 9 และ ล. 10ของ จำเลย ที่ 1 ออก ไป จน ถึง วันที่ 4 สิงหาคม 2530 จำเลย ที่ 1จึง ต้อง ผูกพัน ต่อ โจทก์ ตาม คำเสนอ ของ ตน ใน ใบ เสนอราคา เอกสาร หมาย ล. 9และ ล. 10 ภายใน กำหนด ระยะเวลา ที่ ได้ มี การ ขยาย การ ยืน ราคา ออก ไป นั้นหนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ซึ่ง ตรง กับ หนังสือสัญญาค้ำประกัน ตาม สำเนา หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย จ. 6และ จ. 5 อันเป็น หลักฐาน เป็น หนังสือ ของ สัญญาค้ำประกัน ซอง ประกวดราคาที่ จำเลย ที่ 3 ทำ ไว้ แก่ โจทก์ มี ข้อความ ระบุ ไว้ ใน ข้อ 1 ว่า “ตาม ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.แอคทิวิตี้ (จำเลย ที่ 1) ได้ ยื่น ซอง ประกวดราคา ตาม ประกาศ ประกวดราคา จัดซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีต อัดแรงนั้น ข้าพเจ้า ยอม ผูกพัน ตน เป็น ผู้ค้ำประกัน ต่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(โจทก์ ) หาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.แอคทิวิตี้ ปฏิบัติ ผิด เงื่อนไข ใน การ เข้า ประกวดราคา ดังกล่าว ซึ่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีสิทธิริบ หลักประกัน ซอง ประกวดราคา แล้ว ข้าพเจ้า ยอม ชำระ เงิน แทน ให้ ทันทีโดย มิต้อง เรียกร้อง ให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.แอคทิวิตี้ ชำระ ก่อน ” ข้อ 2 ระบุ ว่า “ข้าพเจ้า ยอมรับ รู้ และ ยินยอม ด้วย ใน ทุก กรณีที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ยิน ยอม ให้ ผัด หรือ ผ่อน เวลา หรือ ผ่อนผันการ ปฏิบัติ ตาม ประกาศ ประกวดราคา ดังกล่าว ให้ แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.แอคทิวิตี้ โดย ไม่จำต้อง แจ้ง ให้ ข้าพเจ้า ทราบ ” และ ข้อ 3ระบุ ว่า “ข้าพเจ้า จะ ไม่ เพิกถอน การ ค้ำประกัน ใน ระหว่าง เวลา ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ซี.แอคทิวิตี้ ต้อง รับผิดชอบ ต่อ การไฟฟ้า ส่วน ภูมิภาค ตาม ประกาศ ประกวดราคา ดังกล่าว ” และ ปรากฏว่า ประกาศประกวดราคา ตาม สำเนา ประกาศ ประกวด เอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4 ซึ่ง เป็นประกาศ ประกวดราคา จัดซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีต อัดแรง ที่ หนังสือสัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 3 และ ล. 2 ดังกล่าว อ้าง ถึง ต่าง มีข้อความ ใน ข้อ 5 วรรคแรก ว่า “ผู้ เข้า ประกวดราคา จะ ต้อง นำ หลักประกันซอง ประกวดราคา เป็น เงินสด หรือ เช็ค ที่ ธนาคาร รับรอง หรือ เช็ค ที่ ธนาคารเซ็น สั่งจ่าย หรือ หนังสือ ค้ำประกัน ซอง ของ ธนาคาร ตาม แบบฟอร์ม ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ มี กำหนด เวลา การ ค้ำประกัน ไม่ น้อยกว่า120 วัน นับแต่ วัน ยื่น ซอง ประกวดราคา มา มอบ ให้ เจ้าหน้าที่ รับ ซองประกวดราคา พร้อม กับ ซอง ประกวดราคา หลักประกันซอง ประกวดราคา นี้ จะ คืน โดย ไม่มี ดอกเบี้ย ใน เมื่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ พิจารณา ไม่รับ ราคา ของ ผู้ เสนอราคา นั้น โดย เด็ดขาด แต่ ใน ระหว่างการ พิจารณา ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หาก ผู้ เสนอราคา ถอน การ เสนอราคาไม่ว่า จะ ด้วย เหตุผล ใด ก็ ตาม หรือ หาก ผู้ประกวดราคา ได้ไม่ ปฏิบัติตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ข้อ 8 แห่ง ประกาศ ประกวดราคา นี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะ ริบ หลักประกัน ซอง ประกวดราคา ของ ผู้ นั้น ทั้งหมด โดย สงวนสิทธิที่ จะ ถือว่า ผู้ นั้น เป็น ผู้ ทิ้งงาน และ จะ พิจารณา ราคา ของ ผู้ เสนอราคาราย อื่น ต่อไป ตาม แต่ จะ เห็นสมควร ” ข้อ 5 วรรคสอง ระบุ ว่า “สำหรับหลักประกัน ซอง ประกวดราคา ของ ผู้ประกวดราคา ได้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะ คืน ให้ เมื่อ ครบ กำหนด เวลา การ ค้ำประกัน ซอง ประกวดราคา และ ไม่มีภาระ ผูกพัน ใด ๆ แล้ว ” และ ข้อ 8 ระบุ ว่า “ผู้ประกวดราคา ได้ จะ ต้องมา ทำ สัญญาซื้อขาย ตาม กำหนด นัด ตาม แบบฟอร์ม ที่ กำหนด ไว้ ใน เอกสาร ประกอบการ ประกวดราคา และ ต้อง นำ หลักประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา เป็น เงินสดหรือ เช็ค ที่ ธนาคาร รับรอง หรือ เช็ค ที่ ธนาคาร เซ็น สั่งจ่าย หรือหนังสือ ค้ำประกัน ของ ธนาคาร ตาม แบบฟอร์ม ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็น จำนวน ร้อยละ 10 ของ ราคา บริภัณ ฑ์ที่ ประกวดราคา ได้ มา มอบ ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใน วัน ทำ สัญญา ด้วย ” เห็นว่า นอกจาก หนังสือสัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ดังกล่าว มิได้ มี ข้อความระบุ ว่า จำเลย ที่ 3 ยอม ผูกพัน ตน เป็น ผู้ค้ำประกัน ต่อ โจทก์ เพียง ภายในกำหนด เวลา 120 วัน นับแต่ วันที่ จำเลย ที่ 1 ยื่น ซอง ประกวดราคาต่อ โจทก์ แล้ว ยัง กลับ มี ข้อความ ใน ข้อ 3 ว่า จำเลย ที่ 3 จะ ไม่ เพิกถอนการ ค้ำประกัน ใน ระหว่าง เวลา ที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตามประกาศ ประกวดราคา อีก ด้วย จึง เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 3 ได้ ทำ สัญญาค้ำประกัน การ ยื่น ซอง ประกวดราคา ของ จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ ตลอด ระยะเวลาที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง ผูกพัน ต่อ โจทก์ ตาม ประกาศ ประกวดราคา นั้น การ ที่โจทก์ ตกลง ให้ จำเลย ที่ 1 ขยาย ระยะเวลา ยืน ราคา ตาม ใบ เสนอราคาเอกสาร หมาย ล. 9 และ ล. 10 ออก ไป ถึง วันที่ 4 สิงหาคม 2530 มิใช่เป็น การ ผัด หรือ ผ่อน เวลา หรือ ผ่อนผัน การ ปฏิบัติ ตาม ประกาศ ประกวดราคาให้ แก่ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 3 จึง ย่อม ต้อง ผูกพัน ต่อ โจทก์ ตามสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าว ตลอด ระยะเวลา ที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ ใน การ ยื่น ซอง ประกวดราคา นั้น ดังนั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ต่อรอง ราคา กับ จำเลย ที่ 1 แล้ว มี หนังสือ แจ้ง ตกลงซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีต อัดแรง จาก จำเลย ที่ 1 ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 เสนอ ขายและ ต่อรอง ราคา กัน เมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม 2530 โดย จำเลย ที่ 1 ได้รับหนังสือ นั้น เมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2530 อันเป็น เวลา ภายใน กำหนดที่ จำเลย ที่ 1 ได้ ขยาย ระยะ ยืน ราคา ตาม ใบ เสนอราคา เอกสาร หมาย ล. 9และ ล. 10 ออก ไป ซึ่ง เป็น ระยะเวลา ที่ จำเลย ที่ 1 ยัง ต้อง รับผิดชอบต่อ โจทก์ ตาม ประกาศ ประกวดราคา นั้น แล้ว จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ประกวดราคาได้ไม่ ยอม มา ทำ สัญญาซื้อขาย กับ โจทก์ ตาม กำหนด นัด โดย นำ หลักประกันการ ปฏิบัติ ตาม สัญญา มา มอบ ให้ โจทก์ ใน วัน ทำ สัญญา เป็น การ ปฏิบัติผิด เงื่อนไข ใน การ เข้า ประกวดราคา ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ข้อ 8 แห่งประกาศ ประกวดราคา ตาม สำเนา ประกาศ ประกวดราคา เอกสาร หมาย จ. 3และ จ. 4 โจทก์ จึง มีสิทธิ ริบ หลักประกัน ซอง ประกวดราคา ของ จำเลย ที่ 1ได้ จำเลย ที่ 3 ผู้ค้ำประกัน การ ยื่น ซอง ประกวดราคา ของ จำเลย ที่ 1ตาม หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 จึง ต้อง ร่วม กับจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม หนังสือ สัญญาค้ำประกัน นั้นที่ จำเลย ที่ 3 นำสืบ และ แก้ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 3 มี เจตนา แท้จริงต้องการ ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 เพียง 120 วัน นับแต่ วันที่ 4 มีนาคม2530 เท่ากับ กำหนด ระยะเวลา การ ยืน ราคา เดิม ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ที่จำเลย ที่ 1 มี หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 11 และ ล. 12 ขอให้ จำเลย ที่ 3ออก หนังสือ ค้ำประกัน ให้ ว่า “ต้อง มี หนังสือ ค้ำประกัน รับรอง การ ปฏิบัติตาม เงื่อนไข ประกาศ ประกวดราคา ให้ แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภายใน กำหนดระยะเวลา 120 วัน นับแต่ วันที่ 4 มีนาคม 2530 จน ถึง วันที่ 2 กรกฎาคม2530 จึง ขอให้ ธนาคาร ออก หนังสือ ค้ำประกัน ภายใน เงื่อนไข ดังกล่าว “นั้น เห็นว่า แม้ ใน ใจ จริง จำเลย ที่ 3 เจตนา ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1ภายใน กำหนด ระยะเวลา 120 วัน นับแต่ วันที่ 4 สิงหาคม 2530 มิได้ เจตนาค้ำประกัน จำเลย ที่ 1 ตลอด ระยะเวลา ที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ตาม ประกาศ ประกวดราคา ก็ ตาม แต่เมื่อ จำเลย ที่ 3 ทำ สัญญาค้ำประกันกับ โจทก์ ตาม หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 โดย มิได้กำหนด ระยะเวลา ค้ำประกัน ไว้ เพียง 120 วัน นับแต่ วันที่ 4 มีนาคม 2530แต่ กลับ ทำ สัญญาค้ำประกัน โดย แสดง เจตนา ว่า จำเลย ที่ 3 จะ ไม่ เพิกถอนการ ค้ำประกัน ใน ระหว่าง เวลา จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตามประกาศ ประกวดราคา โดย ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ รู้ ถึง เจตนา ใน ใจ ของจำเลย ที่ 3 ว่า ต้องการ ผูกพัน เพียง ภายใน ระยะเวลา 120 วัน นับแต่วันที่ 4 มีนาคม 2530 จำเลย ที่ 3 ผู้ค้ำประกัน จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ตลอด ระยะเวลา ที่ จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิดชอบ ต่อ โจทก์ ตาม ประกาศ ประกวดราคา ตาม ที่ ได้ แสดง เจตนา ออก มา มิใช่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพียง ภายในกำหนด เวลา 120 วัน นับ ตั้งแต่ วันที่ 4 สิงหาคม 2530 ฎีกา ของ โจทก์ข้อ นี้ ฟังขึ้น
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า การ ที่ โจทก์ได้ คืน ต้นฉบับ หนังสือ สัญญาค้ำประกัน สอง ฉบับ ให้ แก่ จำเลย ที่ 3ทำให้ สัญญาค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 3 ระงับ แล้ว หรือไม่ ใน ปัญหา นี้เห็นว่า แม้ โจทก์ มี หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 1 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2530ส่ง หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 คืน ให้ แก่ จำเลยที่ 3 โดย แจ้ง ว่า หนังสือ ค้ำประกัน ดังกล่าว หมด ภาระ ผูกพัน กับ โจทก์แล้ว ก็ ตาม แต่ ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ นาง แสงวัชรี เปรมใจ พนักงาน กอง จัดซื้อ ของ โจทก์ ผู้ มี หน้าที่ เก็บรักษา และ คืน หนังสือสัญญาค้ำประกัน และ นางสาว นิภา ธนะภูมิ ซึ่ง มี หน้าที่ ลงนาม ใน หนังสือ นำ ส่ง คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ว่า นางสาว นิภา ได้ ลงนาม ใน หนังสือ เอกสาร หมาย ล. 1 ตาม ที่นา งสาว แสงวัชรี ได้ เสนอ ให้ ลงนาม ส่ง หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ทั้ง สอง ฉบับ คืน ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 โดยเข้าใจผิด ว่า จำเลย ที่ 3 หมด ภาระ ผูกพัน กับ โจทก์ แล้ว นางสาว นิภา และ นางสาว แสงวัชรี ทราบ เมื่อ ปลาย เดือน สิงหาคม 2530 ว่า ได้ คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ให้ จำเลย ที่ 3 ไป โดย ไม่ถูกต้อง เนื่องจากยัง ไม่มี การ ลงนาม ใน สัญญาซื้อขาย จึง ได้ ทำ หนังสือ แจ้ง จำเลย ที่ 3เมื่อ วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ว่า ได้ คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกันไป โดย ความ เข้าใจผิด และ ขอให้ จำเลย ที่ 3 ส่ง หนังสือ ค้ำประกัน ทั้ง สองฉบับ คืน ให้ โจทก์ ส่วน จำเลย ที่ 3 มี นาย สัมพันธุ์ พูนชัย เบิกความ ยืนยัน ว่า โจทก์ คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 3 ให้ จำเลยที่ 3 เพราะ จำเลย ที่ 3 ไม่มี ภาระ ผูกพัน กับ โจทก์ แล้ว มิใช่ คืน ให้ด้วย ความ เข้าใจผิด เห็นว่า โจทก์ มี หนังสือ สั่ง ซื้อ เสา ไฟฟ้า คอนกรีตอัดแรง จาก จำเลย ที่ 2 เมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม 2530 ตาม สำเนา หนังสือเอกสาร หมาย จ. 7 และ จ. 8 และ จำเลย ที่ 1 ได้รับ หนังสือ นั้น เมื่อ วันที่4 สิงหาคม 2530 ซึ่ง อยู่ ภายใน กำหนด ระยะเวลา ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ขยายเวลา ใน การ ยืน ราคา ตาม ใบ เสนอราคา เอกสาร หมาย ล. 9 และ ล. 10ออก ไป จำเลย ที่ 1 ต้อง ผูกพัน มา ทำ สัญญาซื้อขาย กับ โจทก์ ตาม กำหนด นัดโดย ต้อง นำ หลักประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา มา มอบ ให้ โจทก์ ใน วัน ทำ สัญญาด้วย ตาม ประกาศ ประกวดราคา เอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4 ซึ่ง หาก จำเลย ที่ 1ไม่มา ทำ สัญญา กับ โจทก์ เช่นนั้น จำเลย ที่ 3 ผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1ก็ จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2และ ล. 3 จึง ไม่มี เหตุ ที่ โจทก์ จะ ยินยอม คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกันเอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ใน วันที่ 6 สิงหาคม 2530โดย ที่ จำเลย ที่ 1 ยัง มิได้ มา ทำ สัญญาซื้อขาย กับ โจทก์ อัน จะ ทำให้จำเลย ที่ 3 หมด ภาระ ผูกพัน ตาม สัญญาค้ำประกัน แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ คืน หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2และ ล. 3 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ด้วย ความ เข้าใจผิด ของ พนักงาน โจทก์โจทก์ มิได้ มี เจตนา ประสงค์ จะ ปลดหนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 แม้ จำเลย ที่ 3ได้รับ หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมาย ล. 2 และ ล. 3 ดังกล่าวซึ่ง เป็น เอกสาร อันเป็น หลักฐาน แห่ง หนี้ คืน ไป ซึ่ง เข้า ข้อสันนิษฐานตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่า หนี้ นั้นเป็น อัน ระงับ สิ้นไป แล้ว ก็ ตาม แต่ ข้อสันนิษฐาน ตาม บทบัญญัติ มาตราดังกล่าว ก็ มิใช่ ข้อสันนิษฐาน เด็ดขาด ดังนั้น เมื่อ ปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า ขณะที่ โจทก์ ส่ง หนังสือ สัญญาค้ำประกัน สอง ฉบับ คืน ให้ จำเลย ที่ 3นั้น จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่ได้ ทำ สัญญาซื้อขาย กับ โจทก์ ตาม กำหนด นัดให้ ถูกต้อง ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ชำระหนี้ ต่อ โจทก์ ตาม ประกาศประกวดราคา เอกสาร หมาย จ. 3 และ จ. 4 และ จำเลย ที่ 3 ผู้ค้ำประกันยัง ไม่ หลุดพ้น จาก ความรับผิด ใน หนี้ ดังกล่าว ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 698 จำเลย ที่ 3 จึง จะ อ้างว่า เมื่อ จำเลย ที่ 3ได้รับ เวนคืน ต้นฉบับ หนังสือ สัญญาค้ำประกัน จาก โจทก์ โดยสุจริตจำเลย ที่ 3 ก็ หลุดพ้น จาก ความรับผิด ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน แล้ว หาได้ไม่เพราะ กรณี ไม่ต้อง ด้วย บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ว่าด้วย ความ ระงับ สิ้นไปแห่ง การ ค้ำประกัน อันเป็น เหตุ ให้ ผู้ค้ำประกัน หลุดพ้น จาก ความรับผิดดัง ที่ บัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะ แล้ว ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 698 ส่วน ที่ จำเลย ที่ 3 แก้ ฎีกา ว่า การ ที่ โจทก์ คืน หนังสือสัญญาค้ำประกัน ทั้ง สอง ฉบับ ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ด้วย ความ สำคัญผิดหรือ เข้าใจผิด อัน เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของ โจทก์หรือ พนักงาน โจทก์ ทำให้ จำเลย ที่ 3 ได้รับ ความเสียหาย ไม่อาจ ไล่เบี้ยเอา แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ เพราะ จำเลย ที่ 3 ได้ ปลด ภาระ หนี้สินของ จำเลย ที่ 1 และ ได้ ยกเลิก สัญญาค้ำประกัน ของ จำเลย ที่ 2 ที่ ทำให้ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 เพื่อ เป็น หลักประกัน ใน การ ที่ จำเลย ที่ 3 ได้ ออกหนังสือ ค้ำประกัน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 นั้น เห็นว่า เป็น เรื่อง ที่จำเลย ที่ 3 ต้อง ไป ว่ากล่าว กัน ต่างหาก ต่อไป หา ได้ เกี่ยวข้อง กับ การที่ จำเลย ที่ 3 ไม่ หลุดพ้น จาก ความรับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด ไม่ ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ จึง ฟังขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ชำระ เงิน จำนวน 2,963,150 บาท ให้ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์