แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยที่1ขับแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่1เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงเหตุที่จะให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเช่นนี้แล้วเท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองจำเลยที่2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบจึงไม่ต้องรับผิดด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ขับ รถยนต์ ของ โจทก์ ไป ตาม ถนน ซอย สมประสงค์ 1 ขณะ จะ แล่น ผ่าน สี่แยก ดังกล่าว ตรง ไป ทาง อินทรา จำเลย ที่ 1 ได้ ขับรถยนต์ แล่น มา ตาม ถนน ซอย สมประสงค์ 2 จาก ทาง ด้าน ใน ซอย มุ่งหน้า ไป ทาง ปากซอย เพื่อ ออก ถนน เพชรบุรี จำเลย ที่ 1 เห็น อยู่ แล้ว ว่า ขณะ นั้น รถยนต์ ของ โจทก์ กำลัง จะ ผ่านพ้น สี่แยก ดังกล่าว จำเลย ที่ 1ควร จะ ชะลอ ความ เร็ว ของ รถ และ หยุด รถ เพื่อ ให้ รถ ของ โจทก์ ซึ่ง แล่น เข้า มาใน สี่แยก ดังกล่าว พ้น ไป เสีย ก่อน แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่ ชะลอ ความ เร็วเป็นเหตุ ให้ รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ มา พุ่ง เข้า ชน รถยนต์ ของ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้ทำละเมิด และ จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ต้อง ร่วมกันรับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน จำนวน145,250 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เหตุ เกิดเพราะ ความประมาท ของ โจทก์ ฝ่ายเดียว ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ ฐานะ ของจำเลย ที่ 2 เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน จำนวน69,250 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง จำเลย ที่ 2 นอกจากที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ให้ รับผิด ใน ฐานะ ที่เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ แต่ โจทก์มิได้ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ใน ฐานะ อะไรหรือ มี นิติสัมพันธ์ อย่างไร กับ ผู้เอาประกันภัย อัน จะ เป็นเหตุ ให้ผู้เอาประกันภัย ต้อง ร่วมรับผิด ใน การ ทำละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ ฟ้องของ โจทก์ มิได้ บรรยาย ถึง เหตุ ที่ จะ ให้ ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิดเช่นนี้ แล้ว เท่ากับ คำฟ้อง โจทก์ มิได้ บรรยาย ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหา ที่ จะ ให้ ผู้รับประกันภัย ต้อง รับผิด เป็น คำฟ้อง ที่ไม่ ชัดแจ้ง ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ค้ำจุนซึ่ง จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ก็ ต่อเมื่อ ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิดชอบจึง ไม่ต้อง รับผิด ด้วย ที่ โจทก์ อ้าง ใน ฎีกา ว่า ตาม กรมธรรม์ประกันภัยของ จำเลย ที่ 2 นั้น ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ผู้ขับ รถยนต์ คัน เอา ประกันภัยเป็น บุคคล เสมือน เป็น ผู้เอาประกันภัย ตาม สัญญา กรมธรรม์ประกันภัยแต่ โจทก์ มิได้ แนบ สัญญา กรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว มา กับ ฟ้องโจทก์ เพิ่ง ยกขึ้น ใน ชั้นฎีกา คำฟ้อง ของ โจทก์ ใน ส่วน ของ จำเลย ที่ 2จึง เป็น ฟ้องเคลือบคลุม
พิพากษายืน