แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อศาลได้วินิจฉัยถึงสิทธิระหว่างโจทก์จำเลยในคดีก่อนว่าจำเลยอาศัยโจทก์อยู่ในที่พิพาทเท่านั้นมิใช่จำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของและคดีได้ถึงที่สุดแล้วคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145จำเลยจะอ้างสิทธิต่อสู้คดีให้เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ถ้าจำเลยจะมีสิทธิครอบครองอย่างเป็นเจ้าของก็ต้องเป็นสิทธิที่จำเลยมีขึ้นใหม่ภายหลังคำพิพากษาเมื่อยังไม่เกิน1ปีโจทก์ยังมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ บ้าน เลขที่ 65 ซึ่ง ปลูก อยู่ ในที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 27/10 จำเลย และ บริวารอาศัย อยู่ โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ จำเลย อยู่ ใน บ้าน ดังกล่าว ต่อไป จึง ให้ทนาย บอกกล่าว ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป แต่ จำเลย เพิกเฉย ขอ บังคับจำเลย และ บริวาร ให้ ออก ไป จาก บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าว ห้าม เกี่ยวข้องกับ ให้ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 2,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออก ไป จาก บ้าน และ ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ละทิ้ง การ ครอบครอง ที่ดิน ตาม ฟ้อง จำเลยครอบครอง เป็น เวลา เกินกว่า 1 ปี จำเลย ย่อม ได้ สิทธิ ครอบครอง ที่ดินดังกล่าว ก่อน ที่ จำเลย จะ ฟ้องโจทก์ ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 363/2528 ของศาลชั้นต้น จำเลย ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน มา เป็น เวลา กว่า 10 ปีแล้ว จำเลย ย่อม ได้ สิทธิ ครอบครอง บ้าน และ ที่ดิน ตาม กฎหมาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก บ้าน เลขที่ 65หมู่ ที่ 1 ตำบล ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัด จันทบุรี ซึ่ง ปลูก บ้าน อยู่ ใน ที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 27/10ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เดือน ละ 500 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออกจาก ที่พิพาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย เคย ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ ทรัพย์พิพาท ราย นี้ อ้างว่า จำเลย ได้ ครอบครอง ทรัพย์พิพาท อย่าง เป็น เจ้าของ เป็น เวลา 20 ปี เศษ แต่ หลักฐาน ทาง ทะเบียนเป็น ชื่อ ของ โจทก์ ขอให้ เปลี่ยน ชื่อ โจทก์ เป็น ชื่อ จำเลย ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลฎีกา พิพากษาคดี ถึงที่สุด โดย วินิจฉัยว่า โจทก์ เป็น ผู้ซื้อ ที่พิพาท แต่ ให้ จำเลย อยู่อาศัย โจทก์ จึง ได้ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก ที่พิพาท ใน คดี นี้
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย มี ว่า คำพิพากษา ใน คดี ก่อน ผูกพันจำเลย หรือไม่ โดย จำเลย ฎีกา ว่า ตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลฎีกา ว่าโจทก์ ครอบครอง ที่พิพาท แต่ ปี 2506 มิใช่ ครอบครอง นับแต่ วัน อ่านคำพิพากษา ศาลฎีกา จำเลย ได้ อยู่ ใน บ้าน และ ที่ดิน โดย เจตนา เป็น เจ้าของมา เกิน 20 ปี จึง โต้แย้ง สิทธิ โจทก์ มา แต่ แรก แล้ว จำเลย ย่อม ได้ สิทธิครอบครอง โจทก์ มิได้ ฟ้องขับไล่ ภายใน 1 ปี ย่อม ไม่มี สิทธิ ฟ้องคดี ก่อน ศาล มิได้ วินิจฉัย เรื่อง การ ครอบครอง เพราะ ไม่มี กฎหมายรับรอง ให้ วินิจฉัย จำเลย จึง ต่อสู้ คดี ได้ คำพิพากษา คดี ก่อน ไม่ผูกพันจำเลย นั้น เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริง ที่ รับฟัง ได้ โจทก์ จำเลย เคย เป็นคู่ความ ฟ้องคดี เกี่ยวกับ ที่พิพาท โดย จำเลย อ้างว่า ได้ ครอบครอง ที่พิพาท อย่าง เป็น เจ้าของ แต่ ศาล วินิจฉัย ว่า โจทก์ เป็น ผู้ซื้อ ที่พิพาทเอง จำเลย เพียงแต่ อาศัย อยู่ ใน ที่พิพาท เห็น ได้ว่า ศาล ได้ วินิจฉัย ถึงสิทธิ ระหว่าง โจทก์ จำเลย ว่า จำเลย อาศัย โจทก์ อยู่ ใน ที่พิพาท เท่านั้นมิใช่ จำเลย ครอบครอง อย่าง เป็น เจ้าของ และ คดี ได้ ถึงที่สุด แล้วคำพิพากษา ดังกล่าว ย่อม ผูกพัน คู่ความ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 145 จำเลย จะ อ้าง สิทธิ ต่อสู้ คดี ให้ เป็น อย่างอื่น หาได้ไม่ถ้า โจทก์ (น่า จะ เป็น จำเลย )จะ มีสิทธิ ครอบครอง อย่าง เป็น เจ้าของก็ ต้อง เป็น สิทธิ ที่ โจทก์ (น่า จะ เป็น จำเลย )มี ขึ้น ใหม่ ภายหลัง คำพิพากษาเมื่อ ยัง ไม่เกิน 1 ปี โจทก์ ยัง มีอำนาจ ฟ้องขับไล่ จำเลย ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน