คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ว่า จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นเงินเดือนกับจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงาน มิได้มีเจตนาที่จะกำหนดค่าจ้างเป็นอัตราที่แน่นอนเป็นรายวัน อัตราค่าจ้างรายวันจะเปลี่ยนไปตามผลของการที่โจทก์แต่ละคนมาทำงาน ค่าจ้างส่วนที่เป็นเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงานเป็นหน่วย โจทก์แต่ละคนจึงได้รับค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงนี้ตามค่าจ้างของการทำงานที่ได้รับจริง 90 วัน หรือ 180 วันตามอายุงานของโจทก์แต่ละคนมิใช่คำนวณแบบเป็นรายวัน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แต่ละคน โดยคำนวณอัตราค่าจ้างที่โจทก์ดังกล่าวแต่ละคนได้รับ คือค่าจ้างที่ตกลงกันเดือนละ 3,000 บาทเว้นแต่โจทก์ที่ 7 ได้รับเดือนละ 3,500 บาท บวกด้วยเบี้ยเลี้ยงวันละ200 บาท โดยมิได้คำนึงว่าโจทก์แต่ละคนจะมาทำงานหรือไม่ ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมีวันหยุดสัปดาห์ละหนึ่งวัน เดือนหนึ่งจะมาทำงานอย่างมากไม่เกิน 26 วัน เงินส่วนเบี้ยเลี้ยงที่จะได้รับไม่เกินเดือนละ5,200 บาท ที่ศาลแรงงานกลางให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานมีผลให้โจทก์แต่ละคนได้รับค่าชดเชยเกินกว่าที่จะมีสิทธิได้รับ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 12 เดือนละ 3,000 บาท และโจทก์ที่ 7 เดือนละ3,500 บาท กับเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงานอีกวันละ 200 บาท นั้น การจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์แต่ละคนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเป็นรายวัน มิใช่เป็นการจ่ายค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานเป็นหน่วยดังที่จำเลยอ้าง ซึ่งการคำนวณจำนวนค่าชดเชยนั้นต้องคิดจากค่าจ้างรายวัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันหยุดที่โจทก์แต่ละคนไม่มาทำงานในแต่ละเดือนดังที่จำเลยอ้าง
++ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์แต่ละคนได้รับเบี้ยเลี้ยงอัตราสุดท้ายขณะเลิกจ้างวันละ 200 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7ถึงที่ 11 ทำงานกับจำเลยติดต่อมาครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ดังกล่าวไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยในส่วนนี้คนละ 36,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 12 ทำงานกับจำเลยมาครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 12 ไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ที่ 12 ในส่วนนี้จำนวน 18,000 บาท จำเลยจ่ายค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงที่เป็นค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และโจทก์ที่ 12 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ยังจ่ายไม่ครบให้แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ย่อยาว

คดีทั้งสิบเอ็ดสำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมพิจารณากับคดีอื่นอีกหนึ่งสำนวน ซึ่งโจทก์ถอนฟ้องในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลาง โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสิบเอ็ดสำนวนนี้ว่า โจทก์ที่ 1 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 12 ตามลำดับ
โจทก์ทั้งสิบเอ็ดสำนวนฟ้องใจความทำนองเดียวกันขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด รวมทั้งค่าจ้างและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ที่ 12 พร้อมดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้อง
จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนให้การ ขอให้ยกฟ้อง
ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ที่ 12 กับจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 12 เป็นเงิน 1,060 บาท และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 5,600 บาท รวมเป็นเงิน 6,660 บาทโจทก์ที่ 12 ได้รับเงินจากจำเลยแล้วเป็นเงิน 3,000 บาท จำเลยตกลงให้โจทก์ที่ 12 รับเงินส่วนที่ค้างอีก ๓,๖๖๐ บาท จากจำเลย และผู้แทนโจทก์ทั้งหมดกับจำเลยร่วมกันแถลงรับว่า โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๕ และโจทก์ที่ ๗ ถึงที่ ๑๑ ทำงานกับจำเลยครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี และใน 180 วันสุดท้ายของการจ้าง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 ได้ไปทำงานจริงจำนวน 123 วัน 133 วัน 121 วัน 138 วัน 134 วัน 132 วัน 129 วัน 131 วัน 126 วัน และ 129 วัน ตามลำดับ ส่วนโจทก์ที่ 12 ทำงานกับจำเลยครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ในระยะเวลาการจ้าง 90 วันสุดท้าย โจทก์ที่ 12 ไปทำงานจริง 63 วัน คดีตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางหมายเลขแดงที่ 1343 – 1382/2542 และหมายเลขแดงที่ 3279 – 3321/2542 ทั้งสองคดีดังกล่าวศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงซึ่งวินิจฉัยเป็นค่าจ้างในส่วนที่ขาด และจำเลยได้จ่ายแก่โจทก์ดังกล่าวแล้ว โดยโจทก์ดังกล่าวยอมรับเงินเบี้ยเลี้ยงตามคำพิพากษาเฉพาะในวันที่ไปทำงานจริง
โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและจำเลยไม่สืบพยาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 โจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 และโจทก์ที่ 12 เป็นเงิน 11,400 บาท 9,400 บาท 11,800 บาท 8,400 บาท 9,200 บาท 9,600 บาท ๑๐,๒๐๐ บาท ๙,๘๐๐ บาท ๑๐,๘๐๐ บาท ๑๐,๒๐๐ บาทและ ๕,๔๐๐ บาท ตามลำดับ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งหมด
จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจัยว่า การที่จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 12 เดือนละ 3,000 บาท และโจทก์ที่ 7 เดือนละ 3,500 บาท กับเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงานอีกวันละ ๒๐๐ บาท นั้น การจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์แต่ละคนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเป็นรายวัน มิใช่เป็นการจ่ายค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานเป็นหน่วยดังที่จำเลยอ้าง ซึ่งการคำนวณจำนวนค่าชดเชยนั้นต้องคิดจากค่าจ้างรายวัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันหยุดที่โจทก์แต่ละคนไม่มาทำงานในแต่ละเดือนดังที่จำเลยอ้าง ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์แต่ละคนได้รับเบี้ยเลี้ยงอัตราสุดท้ายขณะเลิกจ้างวันละ 200 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 ทำงานกับจำเลยติดต่อมาครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ดังกล่าวไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยในส่วนนี้คนละ 36,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 12 ทำงานกับจำเลยมาครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 12 ไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ที่ 12 ในส่วนนี้จำนวน 18,000 บาท จำเลยจ่ายค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงที่เป็นค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และโจทก์ที่ 12 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ยังจ่ายไม่ครบให้แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.

Share