คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ข้อเท็จจริงที่ว่าตามธรรมเนียมประเพณีของการซื้อขายที่ดินในปัจจุบันโจทก์ควรได้ค่านายหน้าไม่เกินร้อยละ3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้นจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์จะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่จะรับรองให้ฎีกาได้นั้นจะต้องเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ด้วยกรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งทั้งปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย มอบ ให้ โจทก์ เป็น นายหน้า ติดต่อ ขาย ตึกแถวพร้อม ที่ดิน ให้ โดย จะ ให้ ค่า นายหน้า ร้อยละ 5 โจทก์ นำ นาย กุงเหยียง แซ่ตั้ง มา ทำ สัญญา ซื้อ ตึกแถว และ ที่ดิน กับ จำเลย ราคา 2,400,000 บาท จึง มีสิทธิ รับ ค่า นายหน้า เป็น เงิน 120,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลยชำระ เงิน ค่า นายหน้า และ ดอกเบี้ย รวม 121,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ตกลง มอบหมาย ให้ โจทก์ เป็น นายหน้าจำเลย ขาย ตึกแถว และ ที่ดิน ให้ แก่ นาย กุงเหยียง แซ่ตั้ง แต่ ไม่ได้ เป็น ผล จาก การกระทำ ของ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 120,000 บาท พร้อม ด้วยดอกเบี้ย คำขอ นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์รับรอง ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ควร ได้ ค่า นายหน้าเพียง 50,000 บาท เนื่องจาก ปัจจุบัน ธรรมเนียม ประเพณี ของ การ ซื้อ ขายที่ดิน มี การ ให้ ค่า นายหน้า ไม่เกิน ร้อยละ 3 ของ ราคา ซื้อ ขาย ที่ดินซึ่ง อาจจะ เป็น ร้อยละ 2 หรือไม่ เกิน ร้อยละ 3 ตาม แต่ จะ ตกลง กันแต่ ค่า นายหน้า ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง คือ ร้อยละ 5 ซึ่ง มาก กว่า ค่า นายหน้าตาม ธรรมเนียม ประเพณี การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ใน ปัจจุบัน นั้น เห็นว่าข้อ ฎีกา ดังกล่าว จำเลย ไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ จึง มิใช่ เป็น ข้อ ที่ ได้ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ แม้ ผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ จะ รับรอง ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงดังกล่าว ก็ ตาม แต่ ข้อเท็จจริง ที่ จะ รับรอง ให้ ฎีกา ได้ นั้น จะ ต้องเป็น ข้อเท็จจริง ที่ ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ด้วยกรณี จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้ง ปัญหา ดังกล่าว มิได้ เป็น ปัญหา เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายก ฎีกา

Share