แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ออกตั๋วแลกเงินสั่งสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 หรือตามคำสั่ง โดยสาขาธนาคารของจำเลยที่ 3 ผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วแลกเงินใต้ข้อความว่า “เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย” ต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นอาวัล และผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 938 วรรคสองตอนสุดท้าย
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า “อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือสั่งจ่าย” นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา 939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 9401คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่าเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจากจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ โจทก์ได้ซื้อตัวแลกเงินของธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาอุตรดิตถ์ จำนวน ๕๒,๐๘๐.๐๙ บาท ซึ่งเป็นธนาคารสาขาอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ ๑ เพื่อสั่งให้จำเลยที่ ๓ จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้จำเลยที่ ๑ แล้วส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ แต่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ผิดสัญญากับโจทก์ โจทก์บอกเลิกสัญญาและขอตั๋วแลกเงินคืน จำเลยที่๑ ที่ ๒ ไม่คืนให้ โจทก์ได้แจ้งอายัดตั๋วแลกเงินต่อธนาคารกรุงไทย สาขาอุตรดิตถ์ ธนาคารกรุงไทยสาขาอุตรดิตถ์โทรศัพท์และมีหนังสือแจ้งการอายัดถึงจำเลยที่ ๓ และโทรเลขแจ้งจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ทราบ จำเลยที่ ๑ ได้รับแจ้งการอายัดด้วยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเงินตามตั๋วแลกเงินฉบับนั้นไป ขอให้จำเลยทั้งสามใช้เงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน ๕๘,๕๙๑.๐๙ บาท ให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ร่วมกันใช้เงินผลกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการขายน้ำมัน ๗,๖๘๐ บาท กับค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อและติดตามทวงถาม ๕,๐๐๐ บาท ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า เป็นผู้รับตั๋วแลกเงินฉบับพิพาทตามกฎหมายตามธรรมเนียมประเพณีการค้าและธนาคารพาณิชย์ โจทก์จะสั่งระงับการจ่ายเงินไม่ได้ เพราะมีผู้นำตั๋วแลกเงินฉบับพิพาทมายื่น จำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้รับรองต้องจ่ายเงินทันที ทั้งตั๋วแลกเงินได้เปลี่ยนมือจากจำเลยที่ ๑ ไปยังธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาเจริญผลแล้ว การสั่งระงับการจ่ายเงินของโจทก์ไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ ๖๓,๑๓๕.๐๙ บาท โดยให้จำเลยที่ ๓ ร่วมกับผิดเพียง ๕๔,๓๓๔.๐๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน ๕๒,๐๘๐.๐๙ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๒
จำเลยที่ ๓ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้รับรองหรืออาวัลตั๋วแลกเงินฉบับพิพาทแล้ว จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้น พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๓ ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ ๓ จะเป็นทั้งผู้รับและผู้อาวัลไม่ได้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายต้องห้ามไม่ให้เป็นผู้รับอาวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๙๓๙ ดังนั้น จำเลยที่ ๓ จึงอยู่ในฐานะผู้รับรองต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการใช้เงิน เมื่อโจทก์ห้ามใช้เงินตามตั๋วแลกเงินฉบับนั้น จำเลยที่ ๓ ต้องปฏิบัติตาม
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ด้านหน้าของตั๋วแลกเงินปรากฏข้อความพิมพ์ไว้เหนือลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่า “เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย” ตรงตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๙๓๙ วรรคหนึ่งและวรรคสองยังมีข้อความว่า “อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินของหรือที่ใบประจำต่อ
ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล” จึงต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของสาขาธนาคารจำเลยที่ ๓ เป็นอาวัล โจทก์ฎีกาว่ากฎหมายกำหนดตัวผู้รับอาวัลไว้เฉพาะบุคคลนายนอกผู้จ่ายจะเป็นผู้รับอาวัลไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นว่าผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามาตรา ๙๓๘ วรรคสองตอนสุดท้าย ส่วนมาตรา ๙๗๙ วรรคสามบัญญัติว่า “อนึ่งเพียงลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำร้องอาวัลแล้ว เว้นแต่กรณีที่เป็นลายมือชื่อผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย” นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีถ้อยคำสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นคำรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา ๓๙๑ อยู่แล้ว หากมาตรา ๙๓๙ ไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำอีก ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใดเมื่อฟังว่า สาขาธนาคารจำเลยที่ ๓ เป็นผู้รับอาวัลก็ต้องบังคับตามกฎหมาย ๙๔๐ คือจำเลยเมื่อฟังว่าสาขาธนาคารที่ ๓ เป็นผู้รับอาวัลก็ต้องบังคับตามมาตรา ๙๔๐ คือจำเลยที่ ๓ มีความผูกพันอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่ายหรือโจทก์ ฉะนั้นการที่จำเลยที่ ๓ จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินซึ่งมีสาขาธนาคารของตนรับอาวัล จึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ ๓ จ่ายเงิน ที่โจทก์ฎีกาว่ามีอำนาจตามมาตรา ๙๙๒ ศาลฎีกาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้
พิพากษายืน