คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ฎีกา
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่นำสืบโดยมิได้โต้เถียงกันว่า
++ โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่32941, 32942, 32944 และ 89930 ตำบลสวนหลวง (ที่ 8 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 316 ตารางวา พร้อมด้วยอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น 1 หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าว โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้บริหารกิจการให้เช่าพักอาศัย
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1โฉนดเลขที่ 32942 เนื้อที่ 15 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตและลานคอนกรีตบางส่วน ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้ และไม้ยืนต้นอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวางเขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 10 ตารางวา ตารางวาละ40,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตบางส่วนเป็นเงิน58,864.52 บาท ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิและกระถางต้นไม้ 37,768.41บาท และไม้ยืนต้น 850 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 โจทก์ที่ 1ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2537 ตามเอกสารหมาย จ.10
++ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4 ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 120,000 บาท ค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสี่แปลงอันมีราคาลดลงตารางวาละ 30,000 บาท ค่าทดแทนรายได้ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ 126 ห้อง ที่ต้องลดค่าเช่าลงห้องละ 2,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 15,120,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีก 95,717.07 บาท ตามสำเนาอุทธรณ์เอกสารหมายจ.12 แต่จำเลยที่ 4 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือไม่
++
++ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ตารางวาละ 110,000 บาทแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารงานอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนครั้งนี้
++ การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาแต่เพียงขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฎีกาของโจทก์ที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่
++ เห็นว่า ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 นั้นไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ต้องกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา21 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทน โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ด้วย
++ นายกลยุทธ มณฑาศวิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นพยานจำเลยทั้งสี่เบิกความว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ นำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 แม้นางสาวณัฐนรี คงจันทร์ ซึ่งเคยรับราชการเป็นหัวหน้างานการประเมินราคาทรัพย์สินสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดินและเป็นพยานจำเลยทั้งสี่อีกคนหนึ่งเบิกความว่า ราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงตารางวาละ 40,000 บาท เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้ไปสำรวจเก็บได้ในปี 2535 ข้อมูลนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขาย นายหน้า จากสถาบันการเงินและจากการประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินราคาทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงทำเล ที่ตั้ง การเข้าถึงแปลงที่ดิน รูปแปลนที่ดิน และข้อจำกัดการใช้ที่ดิน ซึ่งเรียกว่าการประเมินรายแปลงก็ตาม จากคำเบิกความของพยานจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวก็ยังไม่ได้ความว่าที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตารางวาละเท่าใด เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้เหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา21 (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมได้
++
++ ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตั้งอยู่ติดซอยซึ่งเป็นถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง 2 และซอยรามคำแหง 4ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ 100 ถึง 150 เมตร อยู่ในย่านที่มีความเจริญ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ประมาณ 200 ถึง 300 เมตร ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะ มีแต่เพียงทางเท้า อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 90,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.14 และ จ.15 และภาพถ่ายหมาย จ.17
++ จึงเห็นได้ว่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีสภาพและทำเลที่ตั้งดีกว่าที่ดินของนางซาฟียะ นางสาวณัฐนรีเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ทั้งสองว่า ที่ดินใกล้เคียงหากรถยนต์เข้าถึงจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ดังนั้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่นางซาฟียะตารางวาละ90,000 บาท สูงกว่าที่กำหนดให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อคำนึงถึงพยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบเกี่ยวกับที่ดินแปลงอื่น ๆราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด กับสภาพที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารสูง 7 ชั้น และที่ตั้งที่ดินของโจทก์ที่ 1ดังกล่าว ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)แล้ว
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมคือ ตารางวาละ 110,000 บาท ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืน 15 ตารางวา เป็นเงิน 1,650,000บาท จำเลยที่ 1 ได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินแล้วจำนวน 400,000 บาท จึงต้องชำระเพิ่มอีก 1,250,000 บาท
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลงอีก 500,000 บาท ส่วนจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ที่ดินและอาคารของโจทก์ที่ 1ราคาไม่ลดลงนั้น
++ เห็นว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาหรือราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้น โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อจำเลยที่ 4 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
++
++ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ จำนวนเงิน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
++
++ ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดินที่เสื่อมราคาหรือมีราคาลดลงนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 4 ซึ่งเป็นแผนผังแสดงที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตรงกับเลขหมาย 287 ถูกเขตทางพิเศษตลอดด้านทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดถนนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีรูปทรงเปลี่ยนไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และเขตทางพิเศษเป็นระบบทางด่วนยกระดับซึ่งโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางดังกล่าวจากหน้าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ การที่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลืออยู่ใต้ทางพิเศษย่อมทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปกระทบถึงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และถูกทางพิเศษที่อยู่ด้านบนบดบังทัศนียภาพตามปกติ อีกทั้งต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องเสียงเครื่องยนต์และฝุ่นละอองจากรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาบนทางพิเศษ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลือจึงมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางด้อยลง มูลค่าของที่ดินย่อมลดลงจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม
++ ที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 มีเนื้อที่ 106 ตารางวาจะต้องถูกเวนคืน 15 ตารางวา ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ การใช้ประโยชน์ของที่ดินที่เหลือจึงไม่สะดวกเหมือนเดิม
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลืออันมีราคาลดลง เป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ศาลฎีกาได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปแล้วตารางวาละ 110,000 บาท ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่91 ตารางวา ขณะที่ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนจึงควรมีราคารวมแล้วเป็นเงิน 10,010,000 บาท ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงจำนวน 1,000,000 บาท คิดเป็นอัตราส่วนเพียงประมาณร้อยละสิบของมูลค่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าว นับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมแล้ว จึงเพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็น 1,000,000 บาทตามที่โจทก์ขอ
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนค่าเช่าที่ลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์เดือนละ 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เพราะโจทก์ต้องปรับค่าเช่าลดลง อันเป็นผลประทบโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้น
++ เห็นว่า ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนจากการที่สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 มีราคาค่าเช่าลดลงได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนกรณีนี้ได้
++ ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างอันได้แก่รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้และไม้ยืนต้น จำนวนเงิน97,482.93 บาท ที่กำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเกินคำฟ้องหรือคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142 ประกอบมาตรา 246 นั้น
++ เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีนายธีระพล ธีรมหานนท์วิศวกร 7 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืน เป็นพยานเบิกความว่า สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่ถูกเวนคืนได้ถ่ายรูปไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เข้าทำการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนแล้ว ก็จะนำมาถอดแบบเพื่อคำนวณราคา เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้วพยานจะนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณตามดัชนีของราคาวัสดุที่เป็นราคากลางของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจะทำการปรับราคาขึ้นโดยคิดค่าวัสดุ ค่าแรง กำไร ภาษี ค่าดำเนินการเข้าด้วย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.6 รั้วคอนกรีตมีการหักค่าเสื่อม 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าวัสดุเนื่องจากสร้างมานาน 7 ปีแล้วส่วนลานคอนกรีตสร้างมานานเกือบ 3 ปี ไม่มีการหักค่าเสื่อม เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ตามคำเบิกความของนายธีระพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้กระทำโดยมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ส่วนโจทก์ที่ 1 เบิกความลอย ๆ แต่เพียงว่า สำหรับสิ่งปลูกสร้าง90,000 บาทเศษ หากมีการสร้างจริงไม่สามารถสร้างได้ในราคาดังกล่าวจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย 200,000 บาทเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินราคาและแจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายมาให้ พยานให้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายรายประเมินราคา แต่ละรายประเมินไว้เกินกว่า 200,000บาท ทั้งนั้น จึงขอเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง 200,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสืบสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว
++ ดังนั้น พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว
++ เมื่อไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ที่ 1 เกินคำขอของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ต่อไป เพราะแม้วินิจฉัยไปก็หาทำให้ผลคำวินิจฉัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
++ อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปีตามที่โจทก์ที่ 1 ขอด้วยนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจจะเกินคำขอของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลฎีกาจึงเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกินคำขอของโจทก์ที่ 1

ย่อยาว

โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ ๑ เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่๓๒๙๔๑, ๓๒๙๔๒, ๓๒๙๔๔ และ ๘๙๙๓๐ ตำบลสวนหลวง (ที่ ๘ พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร รวมเนื้อที่ ๓๑๖ ตารางวาพร้อมตึก ๗ ชั้น ชื่ออาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ ตลอดจนไม้ยืนต้นและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ที่ ๒ เป็นผู้บริหารกิจการอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๓๓มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓ เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา -อาจณรงค์ และวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๔ มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้แทนจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยที่ ๔ ผู้แทนจำเลยที่ ๓ เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ โฉนดเลขที่ ๓๒๙๔๒ เนื้อที่๒๐.๓๕ ตารางวา พร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นถูกเวนคืน คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ซึ่งจำเลยที่ ๔ ตั้งขึ้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ ๑ เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท สิ่งปลูกสร้าง ๙๖,๖๓๒.๙๓ บาทและไม้ยืนต้น ๘๕๐ บาท รวมเป็นเงิน ๔๙๗,๔๘๒.๙๓ บาท และเมื่อวันที่ ๑๘กรกฎาคม ๒๕๓๗ จำเลยทั้งสี่ได้นำเงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เพื่อชำระให้แก่โจทก์ที่ ๑ แต่โจทก์ทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนไม่เป็นธรรมเพราะกำหนดต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด จึงยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ ๔ แต่จำเลยที่ ๔ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ อยู่ในย่านธุรกิจการค้ามีราคาซื้อขายตารางวาละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท เนื้อที่ ๒๐.๓๕ ตารางวา เป็นเงิน๒,๔๔๒,๐๐๐ บาท นอกจากนี้หลังจากเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ ๒๙๕.๖๕ตารางวา มีราคาลดลงตารางวาละ ๓๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าเสื่อมราคา๘,๘๖๙,๕๐๐ บาท อีกทั้งทำให้อาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์มีราคาลดลง๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท และประโยชน์จากการให้เช่าอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ได้รับผลกระทบจากการที่จำเลยทั้งสี่ก่อสร้างทางด่วนพิเศษดังกล่าวจนต้องลดค่าเช่าสำหรับห้องพักปรับอากาศจากเดิมเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ต่อห้องจำนวน ๗๒ ห้อง และห้องพักธรรมดาจากเดิมเดือนละ ๑,๗๐๐ บาท ต่อห้องจำนวน ๕๔ ห้อง โจทก์ทั้งสองขอคิดเพียง ๕ ปี เป็นเงินค่าเสียหายส่วนนี้๑๔,๑๔๘,๐๐๐ บาท นอกจากนี้เงินค่าทดแทนรั้วคอนกรีต ลานคอนกรีตศาลพระภูมิและไม้ยืนต้นที่จำเลยทั้งสี่กำหนดให้ก็ต่ำเกินไป เนื่องจากส่วนที่ถูกเวนคืนนั้น โจทก์ทั้งสองใช้เป็นทางเข้าออก จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เหมาะสม โจทก์ทั้งสองเสียหายส่วนนี้เป็นเงิน๒๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าเสียหาย ๒๗,๖๕๙,๕๐๐ บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน ๒๗,๖๕๙,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๘.๗๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ อันเป็นวันที่จำเลยที่ ๑ วางเงินค่าทดแทนถึงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗ เป็นเงิน ๑๑๙,๓๕๒.๖๔ บาทดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๙ ต่อปี นับแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๕กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เป็นเงิน ๑,๒๖๑,๗๒๗.๘๗ บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๑๐.๗๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ถึงวันฟ้องจำนวน ๕๔ วันเป็นเงิน ๔๓๙,๘๙๙.๗๒ บาท รวมค่าดอกเบี้ยเป็นเงิน ๑,๘๒๐,๙๘๐.๒๓ บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๒๙,๔๘๐,๔๘๐.๒๓ บาท และให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๐.๗๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๒๗,๖๕๙.๕๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์การกำหนดเงินค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ยังมิได้วินิจฉัย จึงยังไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๓และที่ ๔ ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๙๔๒ ของโจทก์ที่ ๑ ถูกเวนคืนบางส่วนเนื้อที่เพียง ๑๐ ตารางวา มิใช่ ๒๐.๓๕ ตารางวา การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นแก่โจทก์ทั้งสองถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินแปลงเล็กอยู่ในซอยลึกห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ ๑๗๐ ถึง ๒๕๐ เมตร เมื่อโจทก์ที่ ๑ ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารเป็นตึก ๗ ชั้น โจทก์ที่ ๑ ก็ไม่มีสิทธิต่อเติมหรือดัดแปลงให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือมีมูลค่าหรือราคาต่ำจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด โจทก์ที่ ๑ ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้เงินในส่วนนี้ และการก่อสร้างทางพิเศษบริเวณที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ที่ถูกเวนคืนไม่ก่อให้เกิดมลภาวะหรือความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้เช่าห้องพักของโจทก์ที่ ๑ เพราะสะพานลอยมีความสูงจากพื้นดินประมาณ ๑๓ ถึง ๑๔ เมตร มีการก่อสร้างผนังต่อจากสะพานสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๓ เมตร และมีเจ้าพนักงานตำรวจคอยตรวจซึ่งหากรถยนต์คันใดมีควันดำก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้แล่นผ่าน โจทก์ที่ ๑ จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสี่ได้ต้องเป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน๒,๒๐๓,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ พร้อมดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ ๘.๗๕ต่อปี ในช่วงระยะวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗ไม่เกินอัตราร้อยละ ๙ ต่อปี นับแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๕กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ไม่เกินอัตราร้อยละ ๑๐.๗๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์๒๕๓๘ ถึงวันฟ้อง และดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ที่ ๑ โดยกำหนดค่าทนายความ ๔๐,๐๐๐ บาท ยกฟ้องโจทก์ที่ ๒ ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ที่ ๒ กับจำเลยทั้งสี่ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่นำสืบโดยมิได้โต้เถียงกันว่า โจทก์ที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่๓๒๙๔๑, ๓๒๙๔๒, ๓๒๙๔๔ และ ๘๙๙๓๐ ตำบลสวนหลวง (ที่ ๘ พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๓๑๖ ตารางวา พร้อมด้วยอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์สูง ๗ ชั้น ๑ หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าว โดยมีโจทก์ที่ ๒ เป็นผู้บริหารกิจการให้เช่าพักอาศัย ที่ดินของโจทก์ที่ ๑โฉนดเลขที่ ๓๒๙๔๒ เนื้อที่ ๑๕ ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตและลานคอนกรีตบางส่วน ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้ และไม้ยืนต้นอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวางเขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ ๑ จำนวน ๑๐ ตารางวา ตารางวาละ๔๐,๐๐๐ บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตบางส่วนเป็นเงิน๕๘,๘๖๔.๕๒ บาท ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิและกระถางต้นไม้ ๓๗,๗๖๘.๔๑บาท และไม้ยืนต้น ๘๕๐ บาท ตามเอกสารหมาย ล.๕ และ ล.๖ โจทก์ที่ ๑ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ ๑ ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และแจ้งให้โจทก์ที่ ๑ ทราบเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม๒๕๓๗ ตามเอกสารหมาย จ.๑๐ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ ๔ ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสี่แปลงอันมีราคาลดลงตารางวาละ ๓๐,๐๐๐ บาท ค่าทดแทนรายได้ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ ๑๒๖ ห้อง ที่ต้องลดค่าเช่าลงห้องละ ๒,๐๐๐ บาทต่อเดือน เป็นเวลา ๕ ปี เป็นเงิน ๑๕,๑๒๐,๐๐๐ บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีก ๙๕,๗๑๗.๐๗ บาท ตามสำเนาอุทธรณ์เอกสารหมายจ.๑๒ แต่จำเลยที่ ๔ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่า โจทก์ที่ ๑ มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม และโจทก์ที่ ๒ มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือไม่ในปัญหาดังกล่าวโจทก์ทั้งสองนำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ตั้งอยู่ติดถนนคอนกรีตซึ่งเป็นซอยเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง ๒ และซอยรามคำแหง ๔รถยนต์แล่นสวนกันได้ อยู่ห่างโรงพยาบาลแพทย์ปัญญาประมาณ ๖๐ เมตรห่างถนนรามคำแหงประมาณ ๑๐๐ เมตร อยู่ในย่านเจริญ มีมหาวิทยาลัยศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ราชการหลายแห่ง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ ๑ ปรากฏตามภาพถ่ายหมาย จ.๑๖ ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ มีราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในขณะพระราชกฤษฎีกาฯ ใช้บังคับตารางวาละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ ๑ ไม่เป็นธรรม เพราะกำหนดราคาที่ดินต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ประมาณ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ เมตร มีเพียงทางเท้า รถยนต์ไม่อาจเข้าถึงตามภาพถ่ายหมาย จ.๑๗ และแผนที่สังเขปเอกสารหมาย จ.๑๘ แต่จำเลยที่ ๑ กำหนดเงินค่าทดแทนให้ในราคาตารางวาละ ๙๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๑๔ และ จ.๑๕ ที่ดินของร้อยเอกสาธิต สุวรรณประกรและนางวัลลี สุวรรณประกร จำเลยที่ ๑ กำหนดเงินค่าทดแทนให้ในราคาตารางวาละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๒๒ และ จ.๒๓ ทางพิเศษติดกับอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ ๑ ที่ให้บุคคลอื่นเช่าอยู่อาศัย ทำให้ขาดทัศนียภาพ เกิดมลภาวะ ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ส่วนที่เหลือถูกจำกัดสิทธิในการใช้ที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือจึงมีราคาลดลงตารางวาละ๓๐,๐๐๐ บาท เนื้อที่ ๒๙๕.๖๕ ตารางวา เป็นเงิน ๘,๘๖๙,๕๐๐ บาทส่วนอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้นได้ก่อสร้างโดยวางฐานรากไว้อย่างมั่นคง สามารถที่จะสร้างเพิ่มขึ้นได้อีก ๒ ถึง ๓ ชั้น แต่เมื่อมีการสร้างทางพิเศษแล้ว ไม่สามารถก่อสร้างเพิ่มเติมได้ โจทก์ที่ ๑ ขอคิดค่าเสียหายในส่วนนี้ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ก่อนเวนคืนมีผู้มาเช่าเต็มตลอดเวลา แต่หลังจากมีทางพิเศษแล้วทำให้ผู้ที่เช่าพักอาศัยอยู่ก่อนนั้นย้ายออกไปเป็นจำนวนมาก โจทก์ที่ ๑ จึงต้องลดราคาค่าเช่าลง โดยห้องพักที่มีเครื่องปรับอากาศลดลงห้องละ ๒,๐๐๐ บาท จำนวน ๗๒ ห้อง เป็นเงิน ๑๔๔,๐๐๐บาทต่อเดือน ระยะเวลา ๕ ปี เป็นเงิน ๘,๖๔๐,๐๐๐ บาท ห้องพักธรรมดาลดลงห้องละ ๑,๗๐๐ บาท จำนวน ๕๔ ห้อง เป็นเงิน ๙๑,๙๐๐ บาทต่อเดือน ระยะเวลา ๕ ปี เป็นเงิน ๕,๕๐๘,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน๑๔,๑๔๘,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ สร้างประตูทางเข้าและกำแพงใหม่ ปรับปรุงถนนทางเข้าและปลูกต้นไม้รวมเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท รวมค่าเสียหายที่โจทก์ที่ ๑ ได้รับทั้งสิ้น ๒๗,๖๕๙,๕๐๐ บาท
จำเลยทั้งสี่นำสืบว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ ๑ โดยนำราคาประเมินที่ดินของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน มาใช้ในการประเมินเป็นรายแปลง โดยได้ข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ดินมาจากการสอบถามผู้ขายที่ดิน นายหน้าผู้ค้าที่ดิน สถาบันการเงินและจากประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินโดยคำนึงถึงสภาพที่ตั้ง รูปที่ดินและข้อจำกัดการใช้ที่ดิน แล้วกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ ๑ในราคาตารางวาละ ๔๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย ล.๓ แผ่นที่ ๒หากใช้ราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ ของกรมที่ดินแล้ว ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ มีราคาประเมินเพียงตารางวาละ ๓๒,๕๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย ล.๔ ส่วนการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคำนวณโดยการถอดแบบแล้วนำจำนวนวัสดุมาคำนวณโดยใช้ราคาวัสดุของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นเกณฑ์ตามเอกสารหมาย ล.๖ การกำหนดเงินค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืนนั้นใช้วิธีสืบราคาท้องตลาดของไม้ยืนต้นจากแหล่งขายต้นไม้ในกรุงเทพมหานคร ตามสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ เอกสารหมาย ล.๘ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ ๑ ที่ถูกเวนคืนอยู่ระหว่างซอยรามคำแหง ๒ และซอยรามคำแหง ๔ ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ๑๕๐ เมตร และอยู่ห่างจากถนนพระรามที่ ๙ ตัดกับถนนรามคำแหงประมาณ๔๐๐ เมตร ตามแผนที่เอกสารหมาย ล.๓ แผ่นที่ ๓ ส่วนที่ดินของนางซาฟียะเปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากถนนรามคำแหงเพียงประมาณ ๗๐ เมตร ราคาที่ดินของโจทก์ที่ ๑ จึงไม่เท่ากับที่ดินของนางซาฟียะ สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ ๑ที่ถูกเวนคืนคือ รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีตและต้นไม้ เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ได้เข้าไปสำรวจเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๕ ปรากฏว่ารั้วคอนกรีตได้สร้างมาเป็นเวลา ๗ ปี ลานคอนกรีตสร้างมาประมาณ ๓ ปี มิใช่ของใหม่ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ ๑ในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมแล้ว
พิเคราะห์แล้ว ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ ๒,๐๐๐ บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ ๑ อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ ๑๑๐,๐๐๐ บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ ๑ ตารางวาละ ๑๑๐,๐๐๐ บาทแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ ๑ ที่ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ ๒,๐๐๐ บาท ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนโจทก์ที่ ๒ นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ ๑ เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ ๒ เป็นเพียงผู้บริหารงานอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ ๑ เท่านั้น โจทก์ที่ ๒ ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนครั้งนี้ การที่โจทก์ที่ ๒ ฎีกาแต่เพียงขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒ ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฎีกาของโจทก์ที่ ๒จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๒๔๙ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์ที่ ๑ มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่๓๒๙๔๒ ของโจทก์ที่ ๑ ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓ นั้นไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ ๑ ต้องกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา๒๑ (๑) ถึง (๕) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทน โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๙๔๒ ของโจทก์ที่ ๑ ตามที่เป็นอยู่ในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓ ด้วย นายกลยุทธ มณฑาศวิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นพยานจำเลยทั้งสี่เบิกความว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ นำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ ๑ แม้นางสาวณัฐนรี คงจันทร์ ซึ่งเคยรับราชการเป็นหัวหน้างานการประเมินราคาทรัพย์สินสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดินและเป็นพยานจำเลยทั้งสี่อีกคนหนึ่งเบิกความว่า ราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงตารางวาละ ๔๐,๐๐๐ บาท เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้ไปสำรวจเก็บได้ในปี ๒๕๓๕ ข้อมูลนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขาย นายหน้า จากสถาบันการเงินและจากการประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินราคาทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงทำเล ที่ตั้ง การเข้าถึงแปลงที่ดิน รูปแปลนที่ดิน และข้อจำกัดการใช้ที่ดิน ซึ่งเรียกว่าการประเมินรายแปลงก็ตาม จากคำเบิกความของพยานจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวก็ยังไม่ได้ความว่าที่ดินโฉนดเลขที่๓๒๙๔๒ ของโจทก์ที่ ๑ มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๓ ตารางวาละเท่าใด เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ที่ ๑ และจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ให้เหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา๒๑ (๑) ถึง (๕) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ ๑ และสังคมได้ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ที่ ๑ นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ตั้งอยู่ติดซอยซึ่งเป็นถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง ๒ และซอยรามคำแหง ๔ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ ๑๐๐ ถึง ๑๕๐ เมตร อยู่ในย่านที่มีความเจริญ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ประมาณ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ เมตร ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะ มีแต่เพียงทางเท้า อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ ๙๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๑๔ และ จ.๑๕ และภาพถ่ายหมาย จ.๑๗ จึงเห็นได้ว่าที่ดินของโจทก์ที่ ๑ มีสภาพและทำเลที่ตั้งดีกว่าที่ดินของนางซาฟียะ นางสาวณัฐนรีเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ทั้งสองว่า ที่ดินใกล้เคียงหากรถยนต์เข้าถึงจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ดังนั้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่นางซาฟียะตารางวาละ๙๐,๐๐๐ บาท สูงกว่าที่กำหนดให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ ๑ เมื่อคำนึงถึงพยานหลักฐานที่โจทก์ที่ ๑ นำสืบเกี่ยวกับที่ดินแปลงอื่น ๆราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ที่จะต้องเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด กับสภาพที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารสูง ๗ ชั้น และที่ตั้งที่ดินของโจทก์ที่ ๑ดังกล่าว ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๒๑ (๑) ถึง (๕)แล้ว เห็นว่า เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ที่จะต้องเวนคืนที่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ ๑ และสังคมคือ ตารางวาละ ๑๑๐,๐๐๐ บาท ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ถูกเวนคืน ๑๕ ตารางวา เป็นเงิน ๑,๖๕๐,๐๐๐บาท จำเลยที่ ๑ ได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินแล้วจำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท จึงต้องชำระเพิ่มอีก ๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท ฎีกาของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ที่โจทก์ที่ ๑ ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลงอีก ๕๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ที่ดินและอาคารของโจทก์ที่ ๑ราคาไม่ลดลงนั้น เห็นว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาหรือราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้น โจทก์ที่ ๑ มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อจำเลยที่ ๔ โจทก์ที่ ๑ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ จำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ที่ ๑นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดินที่เสื่อมราคาหรือมีราคาลดลงนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.๕ แผ่นที่ ๔ ซึ่งเป็นแผนผังแสดงที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ตรงกับเลขหมาย ๒๘๗ ถูกเขตทางพิเศษตลอดด้านทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดถนนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ มีรูปทรงเปลี่ยนไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และเขตทางพิเศษเป็นระบบทางด่วนยกระดับซึ่งโจทก์ที่ ๑ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางดังกล่าวจากหน้าที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ได้ การที่ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ส่วนที่เหลืออยู่ใต้ทางพิเศษย่อมทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปกระทบถึงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และถูกทางพิเศษที่อยู่ด้านบนบดบังทัศนียภาพตามปกติ อีกทั้งต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องเสียงเครื่องยนต์และฝุ่นละอองจากรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาบนทางพิเศษ ที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ส่วนที่เหลือจึงมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางด้อยลง มูลค่าของที่ดินย่อมลดลงจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ ๑ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๒๑วรรคสาม ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๙๔๒ ของโจทก์ที่ ๑ มีเนื้อที่ ๑๐๖ ตารางวาจะต้องถูกเวนคืน ๑๕ ตารางวา ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ การใช้ประโยชน์ของที่ดินที่เหลือจึงไม่สะดวกเหมือนเดิมที่โจทก์ที่ ๑ ฎีกาขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลืออันมีราคาลดลง เป็นเงิน๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท นั้น เห็นว่า ศาลฎีกาได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปแล้วตารางวาละ ๑๑๐,๐๐๐ บาท ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่๙๑ ตารางวา ขณะที่ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนจึงควรมีราคารวมแล้วเป็นเงิน ๑๐,๐๑๐,๐๐๐ บาท ที่โจทก์ที่ ๑ ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท คิดเป็นอัตราส่วนเพียงประมาณร้อยละสิบของมูลค่าที่ดินของโจทก์ที่ ๑ ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าว นับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ ๑ และสังคมแล้ว จึงเพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ ๑ เป็น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทตามที่โจทก์ขอ ฎีกาของโจทก์ที่ ๑ข้อนี้ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยทั้งสี่ฟังไม่ขึ้น
ที่โจทก์ที่ ๑ ฎีกาขอเงินค่าทดแทนค่าเช่าที่ลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์เดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เพราะโจทก์ต้องปรับค่าเช่าลดลง อันเป็นผลประทบโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้น เห็นว่า ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. ๒๕๓๐ หมวด ๒ เงินค่าทดแทน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โจทก์ที่ ๑ มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนจากการที่สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ ๑ มีราคาค่าเช่าลดลงได้ โจทก์ที่ ๑ จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนกรณีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ ๑ ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างอันได้แก่รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้และไม้ยืนต้น จำนวนเงิน๙๗,๔๘๒.๙๓ บาท ที่กำหนดให้แก่โจทก์ที่ ๑ เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ ๑ แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ ๑ ซึ่งเกินคำฟ้องหรือคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๔๒ ประกอบมาตรา ๒๔๖ นั้น เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีนายธีระพล ธีรมหานนท์วิศวกร ๗ ซึ่งมีหน้าที่ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืน เป็นพยานเบิกความว่า สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ ๑ ที่ถูกเวนคืนได้ถ่ายรูปไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ เข้าทำการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนแล้ว ก็จะนำมาถอดแบบเพื่อคำนวณราคา เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้วพยานจะนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณตามดัชนีของราคาวัสดุที่เป็นราคากลางของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจะทำการปรับราคาขึ้นโดยคิดค่าวัสดุ ค่าแรง กำไร ภาษี ค่าดำเนินการเข้าด้วย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.๖ รั้วคอนกรีตมีการหักค่าเสื่อม ๑ เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าวัสดุเนื่องจากสร้างมานาน ๗ ปีแล้วส่วนลานคอนกรีตสร้างมานานเกือบ ๓ ปี ไม่มีการหักค่าเสื่อม เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ตามคำเบิกความของนายธีระพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ที่ ๑ ได้กระทำโดยมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ส่วนโจทก์ที่ ๑ เบิกความลอย ๆ แต่เพียงว่า สำหรับสิ่งปลูกสร้าง๙๐,๐๐๐ บาทเศษ หากมีการสร้างจริงไม่สามารถสร้างได้ในราคาดังกล่าวจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย ๒๐๐,๐๐๐ บาทเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินราคาและแจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายมาให้ พยานให้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายรายประเมินราคา แต่ละรายประเมินไว้เกินกว่า ๒๐๐,๐๐๐บาททั้งนั้น จึงขอเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์ที่ ๑ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสืบสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ที่ ๑ ดังกล่าวดังนั้น พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่ ๑ เห็นว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ ๑ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ ๑ แล้วที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มให้แก่โจทก์ที่ ๑ อีก๑๕๐,๐๐๐ บาท ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เมื่อไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ ๑ แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ที่ ๑ เกินคำขอของโจทก์ที่ ๑ หรือไม่ต่อไป เพราะแม้วินิจฉัยไปก็หาทำให้ผลคำวินิจฉัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องไม่เกินอัตราร้อยละ ๑๐.๗๕ ต่อปีตามที่โจทก์ที่ ๑ ขอด้วยนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจจะเกินคำขอของโจทก์ที่ ๑ ได้ ศาลฎีกาจึงเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกินคำขอของโจทก์ที่ ๑
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน ๒,๒๕๐,๐๐๐บาท แก่โจทก์ที่ ๑ และอัตราดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องต้องไม่เกินอัตราร้อยละ๑๐.๗๕ ต่อปี และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ที่ ๑ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ ๑ ชนะคดีในชั้นฎีกา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

Share