คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่1ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1โดยสำคัญผิดว่าเป็นนิติกรรมการจดทะเบียนจำนองเพิ่มวงเงินตามคำหลอกลวงของจำเลยที่1กับสามีนิติกรรมระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะแล้วพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1เท่านั้นนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่2ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น สามี ภริยา กัน และ ร่วมกัน เป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาท แต่ ใน โฉนด ที่ดิน มี ชื่อ โจทก์ ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์เท่านั้น จำเลย ที่ 1 ได้ ยืม โฉนด ที่ดินพิพาท จาก โจทก์ ทั้ง สอง ไป วางเป็น หลักทรัพย์ ค้ำประกัน เงินกู้ ต่อ จำเลย ที่ 2 เป็น เงิน 300,000 บาทต่อมา จำเลย ที่ 1 กับ สามี ได้ ไป หลอกลวง โจทก์ ที่ 1 ลงลายมือชื่อใน เอกสาร หลาย ฉบับ ที่ จำเลย ที่ 1 กับ สามี เตรียม ไป โจทก์ ที่ 1เข้าใจ ว่า เป็น การ ลงลายมือชื่อ มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ เอา โฉนดที่ดิน แปลง ดังกล่าว ไป วาง ค้ำประกัน หนี้ เงินกู้ ของ จำเลย ที่ 1ต่อ แหล่ง เงินกู้ เช่น ที่ ได้ เคย ให้ ยืม ไป ใน คราว ก่อน ๆ จึง ได้ ลง ลายมือชื่อ ให้ ไป แต่ ปรากฏว่า เอกสาร ที่ จำเลย ที่ 1 หลอก ให้ โจทก์ ที่ 1ลงลายมือชื่อ เป็น เอกสาร การ โอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4387 แล้วจำเลย ที่ 1 ได้ นำ ไป จดทะเบียน โอน ขาย ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ราคา เพียง190,000 บาท นิติกรรม การ โอน ขาย ที่ดิน จึง ไม่ผูกพัน โจทก์ ทั้ง สองต่อมา จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 3 ได้รับ จำนอง ไว้ จาก จำเลย ที่ 1ใน ราคา สูง ถึง 500,000 บาท นิติกรรม จำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น การกระทำ โดย ไม่สุจริต สมยอม เพื่อ ให้เกิด ความเสียหาย ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง การ รับ จำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 3 จึง เป็น นิติกรรม ที่ เกิดจาก กลฉ้อฉล ตกเป็นโมฆะ เสีย เปล่า อัน เกิดจาก เจตนา อัน ไม่สุจริต ของ จำเลย ที่ 1 กับ ที่ 2และ ที่ 3 ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ ที่ 1 เสีย และ ให้ โอน ที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ของ โจทก์ ทั้ง สอง ใน สภาพ ปลอด จำนอง หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สาม
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 1โจทก์ ที่ 1 ได้ ขาย แก่ จำเลย ที่ 1 โดย ทำ หนังสือ และ จดทะเบียน สิทธิต่อ เจ้าพนักงาน กับ เสีย ค่าตอบแทน โดยสุจริต โจทก์ ทั้ง สอง ต่าง ยินยอมพร้อมใจ ที่ จะ โอน กรรมสิทธิ์ แก่ จำเลย ที่ 1 แม้ โจทก์ ที่ 2 จะ ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ยินยอม ให้ โจทก์ ที่ 1 ทำนิติกรรม โอน กรรมสิทธิ์แต่ โจทก์ ที่ 1 ได้ ลง บันทึก เป็น หนังสือ รับรอง ให้ ไว้ ว่า โจทก์ ที่ 1จะ เป็น ผู้รับผิดชอบ ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น เอง ที่ดินพิพาท ไม่ใช่สินสมรส ระหว่าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย โจทก์ ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ มา ก่อนที่ จะ สมรส กับ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 รู้เห็นเป็นใจ ใน การโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท และ ได้ ให้ สัตยาบัน แล้ว คิด ถึง วันฟ้อง เป็นเวลา กว่า 1 ปี คดี ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า การ ซื้อ ขาย ระหว่าง โจทก์ ที่ 1กับ จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย มิได้ มี การ หลอกลวงโจทก์ ที่ 2 มิใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้รับ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4387ไว้ จาก จำเลย ที่ 1 โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน ทั้ง ได้ มี การ จดทะเบียนการ จำนอง ไว้ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดิน มา จด จำนองไว้ กับ จำเลย ที่ 2 โจทก์ ทั้ง สอง จึง ต้อง รับ ภาระ การ จำนอง ที่ จำเลย ที่ 1ทำ กับ จำเลย ที่ 2 ด้วย การ จด จำนอง กับ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น ไป ตามความ ยินยอม ของ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่มี สิทธิ มา ขอเพิกถอน การ จดทะเบียน จำนอง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน นิติกรรม ซื้อ ขายที่ดิน โฉนด เลขที่ 4387 ตำบล ทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัด สระบุรี ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 1 ให้ จำเลย ที่ 1 ดำเนินการ จดทะเบียนโอน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว กลับ เป็น ชื่อ ของ โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ตาม เดิม หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ดำเนินการ ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา กับ ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง สอง ศาล แทน โจทก์ ทั้ง สอง โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้ 5,000 บาทส่วน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ ระหว่าง โจทก์ ทั้ง สอง กับ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ให้ เป็น พับ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ปัญหาข้อกฎหมายเป็น ใจความ ว่า โจทก์ ที่ 2 ได้ ที่ดินพิพาท โดย นิติกรรม หุ้นส่วนเมื่อ ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ย่อม เป็น โมฆะ โจทก์ ที่ 2 ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น เห็นว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ที่ 1 ทำนิติกรรม ขาย ที่ดินพิพาทให้ จำเลย ที่ 1 โดย สำคัญผิด ว่า เป็น นิติกรรม การ จดทะเบียน จำนองเพิ่ม วงเงิน ตาม คำ หลอกลวง ของ จำเลย ที่ 1 กับ สามี นิติกรรม ระหว่างโจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 1 จึง ตกเป็น โมฆะ แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอนนิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 1เท่านั้น นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นเช่นนี้ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง คง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ที่ 2 ที่ จำเลยที่ 1 ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น จึง ไม่เป็น สาระ แก่ คดีอันควร ได้รับ การ วินิจฉัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้
พิพากษายก ฎีกา จำเลย ที่ 1 คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ทั้งหมดให้ จำเลย ที่ 1 ค่า ทนายความ ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ

Share