คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดจะไปถึงธนาคารโจทก์ได้ทราบว่าเงินฝากนั้นไม่ใช่ของจำเลยเนื่องจากมีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้วและไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดถือว่าได้มีการอายัดไว้โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311เมื่อโจทก์ถอนการอายัดโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง5ข้อ4ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากโจทก์ไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295ตรี

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย และ ต่อมา โจทก์ จำเลยได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอมแต่ แล้ว จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษาตามยอม โจทก์ ขอให้ ออกหมาย บังคับคดี เพื่อ ยึดทรัพย์สิน ของ จำเลยศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี หลังจาก นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ อายัด เงินฝาก ของ จำเลย ไป ยัง ธนาคาร เอเชีย จำกัด สาขา พระปิ่นเกล้า ตาม คำขอ ของ โจทก์ ต่อมา โจทก์ ขอ ถอน การ อายัด เงิน ดังกล่าว เพราะ บัญชี ที่ อายัด นั้น ตรง กับ ชื่อ และ นามสกุล ของ จำเลยแต่ เป็น คน ละ คน กัน เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ถอน การ อายัด และ แจ้งให้ โจทก์ ชำระ ค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด และ ค่าใช้จ่าย ชั้น บังคับคดีเป็น เงิน 21,127.53 บาท โจทก์ ไม่ชำระ เจ้าพนักงาน บังคับคดีจึง ขอให้ ศาล ถอน การ บังคับคดี ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ถอน การ บังคับคดีหลังจาก นั้น เจ้าพนักงาน บังคับคดี แจ้ง ยืนยัน ให้ โจทก์ ชำระ ค่าธรรมเนียมถอน การ อายัด และ ค่าใช้จ่าย ชั้น บังคับคดี ดังกล่าว มิฉะนั้น จะ ขอให้ ศาลยึดทรัพย์สิน ของ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 295 ตรี
โจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า การ ขอ อายัด เงิน นั้น มิใช่ ความผิด ของ โจทก์แต่ เป็นเหตุ สุดวิสัย เพราะ ไม่อาจ ทราบ ได้ว่า จะ มี บุคคลอื่น ที่ มี ชื่อและ นามสกุล เดียว กัน กับ จำเลย ทั้ง โจทก์ ได้ แก้ไข เหตุการณ์ โดยขอให้ ธนาคาร และ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ระงับ การ อายัด ไว้ จึง ยัง มิได้ มีการ อายัด ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี โดย ให้ยก เว้นค่าธรรมเนียม ถอน การ อายัด
ศาลชั้นต้น พิจารณา คำร้อง แล้ว มี คำสั่ง ว่า เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดี มี หนังสือ แจ้ง อายัด ไป แล้ว ถือว่า มี การ อายัด ส่วน ผล ของ การอายัด จะ เป็น เช่นไร เป็น อีก เรื่อง หนึ่ง การ อายัด เป็น ไป ตาม คำขอ ของโจทก์ โจทก์ จึง ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม ส่วน นี้ ยกคำร้อง ค่า คำร้องเป็น พับ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าโจทก์ จะ ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม การ อายัด เงิน แล้ว ไม่มี การ ขาย หรือจำหน่าย ตาม ตาราง 5 ข้อ 4 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ เป็น ผู้ขอ ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี อายัด เงินฝากไป ยัง ธนาคาร เอเชีย จำกัด สาขา พระปิ่นเกล้า และ เจ้าพนักงาน บังคับคดี มี หนังสือ ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2534 แจ้ง อายัด ไป ยัง ธนาคารแล้ว แม้ ก่อน ที่ หนังสือ แจ้ง อายัด ดังกล่าว จะ ไป ถึง ธนาคาร โจทก์ ได้ตรวจสอบ กับ ธนาคาร ทราบ ว่า เงินฝาก ที่ โจทก์ ขอ อายัด นั้น ไม่ใช่ ของจำเลย แต่ มี ชื่อ และ นามสกุล พ้อง กัน กับ ของ จำเลย โจทก์ จึง ขอให้ ธนาคารงด การ อายัด ไว้ ก่อน โดย โจทก์ จะ ไป ระงับ การ อายัด ต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดี ตาม ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง ใน คำร้อง และ ฎีกา ก็ ตาม แต่ ก็ ปรากฎ ตามคำร้องของโจทก์ เอง ว่า โจทก์ ได้ ถอน การ อายัด ต่อ เจ้าพนักงาน บังคับคดีใน วันที่ 30 สิงหาคม 2534 ซึ่ง เป็น เวลา ภายหลัง ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี มี หนังสือ อายัด ไป ยัง ธนาคาร แล้ว ทั้ง ตาม คำร้องของโจทก์ดังกล่าว ไม่ ปรากฎ ว่า ขณะที่ โจทก์ ขอ ถอน การ อายัด นั้น ธนาคาร ยังมิได้ รับ หนังสือ อายัด จาก เจ้าพนักงาน บังคับคดี แต่อย่างใด ที่ โจทก์ฎีกา ว่า โจทก์ ได้ ถอน การ อายัด เสีย ก่อน ที่ หนังสือ อายัด ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี จะ ไป ถึง ธนาคาร จึง เป็น การ กล่าวอ้าง นอกเหนือ จาก ที่ กล่าว ในคำร้อง ไม่อาจ รับฟัง ได้ ดังนี้ กรณี ต้อง ถือว่า ได้ มี การ อายัด ไว้ โดยชอบแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 เมื่อ โจทก์ถอน การ อายัด จึง ต้อง เสีย ค่าธรรมเนียม อายัด แล้ว ไม่มี การ ขาย หรือจำหน่าย ตาม ตาราง 5 ข้อ 4 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งการ ที่ ปรากฎ ว่า บัญชี เงินฝาก ที่ อายัด นั้น ไม่ใช่ ของ จำเลย และ ธนาคารมี หนังสือ แจ้ง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ทราบ ภายหลัง ที่ ได้รับ หนังสืออายัด แล้ว โจทก์ จะ ยกมา เป็น ข้ออ้าง ให้ พ้น ความรับผิด ใน ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน บังคับคดี หาได้ไม่ และ หาก โจทก์ ผู้ขออายัด ไม่ชำระเจ้าพนักงาน บังคับคดี ย่อม ขอ หมาย บังคับคดี แก่ ทรัพย์สิน ของ โจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรีคดี ไม่มี เหตุ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ตาม คำร้องของโจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น ให้ยก คำร้องของโจทก์ ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share