คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่ศาลชั้นต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยรับผิดในอัตราสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(6)เป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาที่พิพากษาคดีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และเมื่อไม่ปรากฏเหตุสมควรการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค จำนวน 4,000,000บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จสิ้น
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 4,000,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง(29 มกราคม 2536) เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่าการ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ ว่าศาลชั้นต้น ใช้ ดุลพินิจ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ 15ต่อ ปี นั้น เป็น การ ชอบ หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น จะ กำหนด อัตราดอกเบี้ย ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ ใน อัตรา ที่ สูง ขึ้น กว่า ที่ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ตาม กฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(6) นั้น เป็น กรณี ที่ ศาล จะ ใช้ ดุลพินิจ กำหนด ให้ ใน เวลา ที่ศาล พิพากษาคดี นั้น พฤติการณ์ จึง ไม่ เปิด ช่อง ให้ จำเลย ยก ปัญหา ดังกล่าวขึ้น กล่าว ใน ศาลชั้นต้น จำเลย ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ยกขึ้น อ้าง ซึ่ง ปัญหาดังกล่าว ใน ชั้นอุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคสอง เมื่อ ไม่ปรากฏ เหตุสมควร ที่ โจทก์ จะ ได้รับ ดอกเบี้ยใน อัตรา ที่ สูง ขึ้น กว่า ที่ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ตาม กฎหมาย ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จึง ชอบแล้ว ส่วน ที่ โจทก์ ขอ คิด ดอกเบี้ย ย้อน ไป ถึง วันนัด ผิด คือวันที่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน นั้น เห็นว่า คำขอ ท้าย คำฟ้อง โจทก์ขอ คิด ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง ถึง วัน ชำระ เสร็จสิ้น เท่านั้น มิได้ขอ คิด ดอกเบี้ย นับแต่ วัน ผิดนัด ศาล จะ พิพากษา ให้ จำเลย รับผิด ชำระดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ นับแต่ วัน ผิดนัด ซึ่ง เกิน ไป กว่า ที่ ปรากฏ ใน คำฟ้องหาได้ไม่ เพราะ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ชอบแล้วฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share