แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางขณะจำเลยใช้รถดังกล่าวกระทำความผิดแต่เมื่อผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบก่อนที่ศาลจะสั่งริบผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถนั้นได้และเมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 24, 50 และ พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ทวิ ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำเลย และ สั่ง ริบ รถยนต์กระบะหมายเลข ทะเบียน 3ย-0062 กรุงเทพมหานคร ของกลาง
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ขอให้ สั่ง คืน รถยนต์ ของกลาง แก่ ผู้ร้อง
โจทก์ ยื่น คำร้องคัดค้าน ว่า ผู้ร้อง ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ ของกลางที่ แท้จริง ผู้ร้อง รู้เห็นเป็นใจ ใน การกระทำ ความผิด ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ผู้ร้อง เช่าซื้อ รถยนต์กระบะ หมายเลข ทะเบียน 3ย-0062 กรุงเทพมหานคร จาก บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด เมื่อ วันที่ 3 กันยายน 2534เจ้าพนักงาน สรรพสามิต จับกุม จำเลย ได้ พร้อม บุหรี่ ต่างประเทศ ซึ่งมิได้ ปิดอากรแสตมป์ และ ยึด รถยนต์ ดังกล่าว ซึ่ง ใช้ บรรทุก บุหรี่ เป็นของกลาง ผู้ร้อง คง ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ รถยนต์ ของกลาง ต่อไป จน ครบกำหนดราคา ตาม สัญญาเช่าซื้อ เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2535 ตาม ใบเสร็จรับ เงิน เอกสาร หมาย ร.1 ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา ให้ริบ รถยนต์ดังกล่าว วันที่ 6 กรกฎาคม 2535 คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้องประการ แรก ว่า ผู้ร้อง มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ คืน รถยนต์ ของกลาง หรือไม่เห็นว่า แม้ ขณะ จำเลย ใช้ รถยนต์ ของกลาง กระทำ ความผิด ผู้ร้องเป็น ผู้เช่าซื้อ รถยนต์ ของกลาง มิใช่ เจ้าของ ก็ ตาม แต่ก่อน ที่ศาลชั้นต้น จะ สั่ง ริบ รถยนต์ ของกลาง ผู้ร้อง ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ ครบผู้ร้อง จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ใน รถยนต์ ของกลาง ก่อน ที่ ศาลชั้นต้นจะ มี คำสั่ง ริบ ดังนี้ ผู้ร้อง ย่อม มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ คืน รถยนต์ของกลาง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ฎีกา ของ ผู้ร้อง ข้อ นี้ฟังขึ้น
คดี มี ปัญหา ต่อไป ว่า ผู้ร้อง และ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด รู้เห็นเป็นใจ ใน การกระทำ ความผิด หรือไม่ สำหรับ ปัญหา นี้ ศาลล่าง ทั้ง สอง ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควรวินิจฉัย ไป เลย โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลล่าง ทั้ง สองวินิจฉัย ก่อน เห็นว่า แม้ ผู้ร้อง และ จำเลย จะ เป็น พี่น้อง ร่วม บิดา มารดาเดียว กัน แต่ ก็ มิได้ อาศัย อยู่ บ้าน เดียว กัน อัน อาจจะ แสดง ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจ ใน การกระทำ ความผิด เมื่อ รถยนต์ ของกลาง ถูก ยึดบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด ขอรับ รถยนต์ ของกลาง จาก พนักงานสอบสวน มา เก็บรักษา ใน เดือน เดียว กัน นั่นเอง และเดือน ถัด มา ผู้ร้อง ก็ ชำระ ค่าใช้จ่าย ใน การ ติดต่อ ขอรับ รถยนต์ของกลาง มา เก็บรักษา ไว้ แก่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด เป็น เงิน 700 บาท ตาม ใบรับเงิน ชั่วคราว เอกสาร หมาย ร.4 ทั้ง ผู้ร้องยัง ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ ต่อไป ใน ลักษณะ ที่ เคย ปฏิบัติ อีก 3 ครั้งรวม 7 งวด พฤติการณ์ ดังกล่าว แสดง ว่า บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด และ ผู้ร้อง เตรียม การ เพื่อ ขอรับ รถยนต์ ของกลาง คืน แล้ว การ มิได้ ร้องขอ คืน รถยนต์ ของกลาง ใน ชั้นสอบสวน จึง มิใช่ ข้อ พิรุธแต่อย่างใด ทั้ง ไม่ ปรากฎ ว่า บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด รู้เห็นเป็นใจ ใน การกระทำ ความผิด ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ผู้ร้องและ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด มิได้ รู้เห็นเป็นใจ ด้วย ใน การกระทำ ความผิด ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ คืน รถยนต์ ของกลาง แก่ ผู้ร้อง