แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้จำเลยที่1ต้องโทษจำคุกอยู่ในเรือนจำเรือนจำก็มิใช่ท้องที่ที่จำเลยที่1มีถิ่นที่อยู่ไม่อาจถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่1(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1เดิม)โจทก์ทั้งห้าจะฟ้องจำเลยที่1ในมูลละเมิดต่อศาลชั้นต้นที่เรือนจำตั้งอยู่มิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิมแต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ทำให้โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องโจทก์ทั้งห้าไว้พิจารณา จำเลยที่2ต้องเสียค่าบริการให้จำเลยที่3เป็นรายวันเพื่อตอบแทนการนำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเข้าร่วมแล่นกับจำเลยที่3การเดินรถคันดังกล่าวจึงเป็นกิจการร่วมกันการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุโดยรับจ้างจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ด้วย ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่2เช่าซื้อรถยนต์กระบะคันที่ถูกจำเลยที่1ขับชนโดยต้องรับผิดซ่อมแซมรถด้วยโจทก์ที่2ย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นได้แม้ต่อมาสัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันก็ไม่เป็นเหตุให้สิทธิของโจทก์ที่2ซึ่งมีอยู่แล้วระงับสิ้นไป จำเลยที่3ฎีกาว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์คนละ100,000บาทสูงเกินไปนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง โดย โจทก์ ที่ 3 ถึง ที่ 5ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา ใจความ ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็นบุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย สมภาษ บุญยวรรณ์ กับ นาง ถนอม บุญยวรรณ์ โจทก์ ที่ 2 เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย เจือ สงคราม มี บุตร ด้วยกัน 3 คน คือ โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง รถยนต์โดยสาร คัน หมายเลขทะเบียน 10-0203 นครศรีธรรมราช และ ได้ นำเข้า ประกอบการ ขนส่งร่วม กับ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัดโดย แบ่ง ผลประโยชน์ จาก การ ใช้ รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว ซึ่ง กัน และ กันมี จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง พนักงาน ขับ รถ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3เมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม 2530 เวลา กลางวัน จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร คัน ดังกล่าว รับ ส่ง คนโดยสาร ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 โดย แล่น จาก จังหวัด สงขลา มุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ ระโนด ด้วย ความ เร็ว สูง เกินกว่า อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด เมื่อ ถึง บริเวณ หลักกิโลเมตร ที่ 19 ถึง 20 จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร แซง ขึ้น หน้ารถยนต์ อีก คัน หนึ่ง เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ ที่ สวน มา ใน ขณะ เดียว กัน มีรถยนต์กระบะ คัน หมายเลข ทะเบียน 20-1713 สงขลา ซึ่ง ขับ โดยนาย เจือ สามี ของ โจทก์ ที่ 2 แล่น สวน มา รถยนต์โดยสาร ที่ จำเลย ที่ 1ขับ จึง พุ่ง เข้า ชน รถยนต์กระบะ ที่นาย เจือ ขับ เป็นเหตุ ให้ นาย เจือ นาย สมภาษ นางถนอม เด็ก ชาย คณิตหรือเอียด บุญยวรรณ์ และ เด็ก หญิง อมรรัตน์ หรือแดง บุญยวรรณ์ ถึงแก่ความตาย ทั้งหมด ศาลชั้นต้น ได้ มี คำพิพากษา ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 2 ปี 6 เดือนการกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว เป็น การกระทำ ละเมิด ใน ทางการที่ จ้าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น นายจ้าง จึง ต้อง ร่วมรับผิด ในความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น ต่อ โจทก์ ทั้ง ห้า ดังนี้ โจทก์ ที่ 1 ใน ฐานะเป็น บุตร ของ นาย สมภาษ กับ นาง ถนอม และ เป็น พี่ ของ เด็ก ชาย คณิต หรือ เอียด เด็ก หญิง อมรรัตน์หรือแดง ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย เพื่อ การ จัดงาน ศพ ของ ผู้ตาย ทั้ง สี่ รวมทั้งสิ้น 60,000 บาท โจทก์ ที่ 1 ต้องขาดไร้อุปการะ และ ขาด ความ อบอุ่น คิด เป็น ค่าเสียหาย เดือน ละ 2,500 บาทเป็น เวลา 2 ปี เป็น เงิน 60,000 บาท รวม ค่าเสียหาย และ ค่าสินไหมทดแทนของ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน ทั้งสิ้น 120,000 บาท โจทก์ ที่ 2 ต้อง เสียค่าใช้จ่าย ใน การ จัดงาน ศพ ของ นาย เจือ เป็น เงิน ทั้งสิ้น 20,000 บาท โจทก์ ที่ 2 กับ นาย เจือ มี รายได้ จาก การ ขับ รถยนต์ รับจ้าง วัน ละ ไม่ ต่ำกว่า 400 บาท และ นาย เจือ สามี ได้ แบ่ง ให้ โจทก์ ที่ 2 ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว วัน ละ 150 บาท โจทก์ ที่ 2 จึง คิด ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้เดือน ละ 4,500 บาท เป็น เวลา 5 ปี เป็น เงิน 270,000 บาท และโจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้เช่าซื้อ รถยนต์กระบะ คัน หมายเลข ทะเบียน 20-1713สงขลา ที่ ได้รับ ความเสียหาย แต่ หาก โจทก์ ที่ 2 จะขาย รถยนต์กระบะดังกล่าว ก็ จะ ได้ ราคา ไม่ ต่ำกว่า 160,000 บาท คิด หักเงิน ที่ โจทก์ที่ 2 ยัง ค้างชำระ แก่ ผู้ให้เช่าซื้อ ออก แล้ว เป็น ค่าเสียหาย ที่ จำเลยทั้ง สาม จะ ต้อง รับผิด จำนวน 103,200 บาท รวม ค่าเสียหาย และค่าสินไหมทดแทน ที่ โจทก์ ที่ 2 ได้รับ เป็น เงิน ทั้งสิ้น 393,200 บาทโจทก์ ที่ 3 เป็น บุตร ของ นาย เจือ ยัง เรียน หนังสือ อยู่ ต้อง ขาดไร้อุปการะ เดือน ละ 2,000 บาท มี กำหนด เวลา 13 ปี จนกว่าโจทก์ ที่ 2 จะ บรรลุนิติภาวะ เป็น ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 312,000 บาทโจทก์ ที่ 4 เป็น บุตร ของ นาย เจือ ต้อง ขาดไร้อุปการะ เดือน ละ 2,000 บาท มี กำหนด เวลา 19 ปี จนกว่า โจทก์ ที่ 4 จะ บรรลุนิติภาวะเป็น เงิน 456,000 บาท โจทก์ ที่ 5 เป็น บุตร ของ นาย เจือ ยัง เรียน หนังสือ อยู่ ต้อง ขาดไร้อุปการะ เดือน ละ 2,000 บาท มี กำหนด เวลา12 ปี จนกว่า โจทก์ ที่ 5 จะ บรรลุนิติภาวะ เป็น ค่าเสียหาย 288,000บาท ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ดังกล่าว ให้ แก่โจทก์ ทั้ง ห้า พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำละเมิด ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา ทั้ง ห้า สำนวน
จำเลย ที่ 2 ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้างและ ขับ รถ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 รถยนต์โดยสาร คัน หมายเลขทะเบียน 10-0203 นครศรีธรรมราช ไม่ใช่ เป็น รถ ของ จำเลย ที่ 2 และจำเลย ที่ 2 ไม่ใช่ ผู้ประกอบ การ ขนส่ง และ ไม่เคย มี นิติสัมพันธ์ กับจำเลย ที่ 3 ค่าเสียหาย เกี่ยวกับ การ จัดงาน ศพ ของ ผู้ตาย เป็น ฟ้องที่ เคลือบคลุม เพราะ โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่ได้ บรรยาย ว่า ได้ ใช้ จ่าย อะไร บ้างรายการ ละ เท่าใด ทำให้ จำเลย ที่ 2 ไม่สามารถ ต่อสู้ คดี ได้ ถูกต้องค่า ขาดไร้อุปการะ ของ โจทก์ ที่ 1 ไม่ถึง เดือน ละ 2,500 บาท เพราะโจทก์ ที่ 1 จบ การศึกษา แล้ว และ กำลัง หา งาน ทำ อยู่ จึง สามารถ ช่วย ตัวเองได้ ดังนั้น ค่าใช้จ่าย ที่ จำเป็น ส่วนตัว เดือน ละ ไม่เกิน 700 บาทและ ไม่มี สิทธิ เรียก เป็น เวลา ถึง 2 ปี เพราะ หลังจาก บิดา มารดา ของโจทก์ ที่ 1 เสียชีวิต เพียง 5 เดือน โจทก์ ที่ 1 ก็ สามารถ หา งาน ทำได้ แล้ว สำหรับ โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ รับ เงิน ค่าใช้จ่าย จาก นาย เจือ แต่อย่างใด เพราะ เงิน ส่วน หนึ่ง ต้อง เก็บ ไว้ ผ่อนชำระ ค่าเช่าซื้อ รถและ โจทก์ ที่ 2 ได้ ขาย รถยนต์กระบะ คืน ให้ แก่ บริษัท ผู้ให้เช่าซื้อ ไปแล้ว โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ต้อง ขาดไร้อุปการะ จาก บิดา ผู้ตายเดือน ละ ไม่เกิน 500 บาท และ ไม่แน่ ว่า บิดา ของ โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ ตาม กำหนด เวลาที่ โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 ขอ มา หรือไม่ จำเลย ที่ 2 มี ภูมิลำเนาอยู่ ใน อำนาจศาล จังหวัด นครศรีธรรมราช โจทก์ ทั้ง ห้า จึง ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลย ที่ 2 ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(2)
จำเลย ที่ 3 ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 3ไม่ได้ มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขตอำนาจศาล ชั้นต้น โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 3 ที่ ศาลชั้นต้น โจทก์ ที่ 1 มิได้ เป็น บุตร โดยชอบด้วย กฎหมาย ของ นาย สมภาษ กับ นาง ถนอม และ โจทก์ ที่ 2 ก็ มิได้ เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย เจือ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 3 และ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ร่วม ประกอบการ ขนส่ง กับ จำเลย ที่ 3 การ ขับ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1ไม่ได้ ใช้ เส้นทาง ที่ จำเลย ที่ 3 ได้รับ อนุญาต เหตุ ที่ เกิดขึ้นเนื่องจาก นาย เจือ เป็น ฝ่าย ขับ รถยนต์ โดยประมาท ด้วย ความ เร็ว สูง เกินกว่า อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด ล้ำ เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ ของ จำเลย ที่ 1ค่าใช้จ่าย จัดงาน ศพ ของ โจทก์ ที่ 1 ไม่เกิน 15,000 บาท โจทก์ ที่ 1บรรลุนิติภาวะ แล้ว จึง ไม่ ขาดไร้อุปการะ เพราะ บิดา ไม่มี หน้าที่ ตามกฎหมาย ต้อง อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ ที่ 1 จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหายดังกล่าว ส่วน ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับ การ จัดงาน ศพ ที่ โจทก์ ที่ 2 เรียกไม่เกิน 8,000 บาท โจทก์ ที่ 2 ไม่มี สิทธิ เรียก ค่า ขาดไร้อุปการะเพราะ ผู้ตาย ไม่เคย ได้ อุปการะ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่า รถยนต์ เพราะ โจทก์ ที่ 2 เป็น แต่เพียง ผู้เช่าซื้อเท่านั้น การ ที่ โจทก์ ที่ 2 คืน รถยนต์กระบะ คัน เกิดเหตุ ให้ แก่ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ โดย ยอมรับ เงิน ค่าตอบแทน จำนวน 56,800 บาท เป็น การสมยอม กัน ดังนั้น โจทก์ ที่ 2 ไม่มี สิทธิ อ้างว่า เงิน ขาด ไป 103,200 บาทสำหรับ ค่าใช้จ่าย ใน ครอบครัว เป็น เงิน 270,000 บาท โจทก์ ที่ 2ไม่ได้ บรรยาย ให้ ชัดแจ้ง ว่า เป็น ค่า อะไร บ้าง เป็น ระยะเวลา อย่างไรจึง เป็น ฟ้องเคลือบคลุม นาย เจือ ไม่มี ความ สามารถ อุปการะ โจทก์ ที่ 3ที่ 4 และ ที่ 5 ได้ ถึง คน ละ 2,000 บาท ต่อ เดือน ตาม ที่ เรียกร้องเพราะ ผู้ตาย มี รายได้ หลังจาก หัก ค่าใช้จ่าย แล้ว ไม่เกิน วัน ละ 50 บาทดังนั้น หาก ผู้ตาย สามารถ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5ได้ ก็ ไม่เกิน คน ละ 300 บาท ต่อ เดือน โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย ตาม ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 100,000 บาท ให้ แก่โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 240,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 3 เป็น เงิน100,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 4 เป็น เงิน 100,000 บาท และ ให้ แก่โจทก์ ที่ 5 เป็น เงิน 100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 9 พฤษภาคม 2530 อันเป็น วัน ทำละเมิด จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 จำนวน 40,000 บาท โจทก์ ที่ 2 จำนวน223,200 บาท นอกจาก ที่ แก้ นี้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ที่ 3 ฎีกา ข้อ แรก ว่า จำเลย ที่ 1ไม่ได้ มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขต ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น จึง ไม่มี อำนาจรับฟ้อง คดี ไว้ พิจารณา เห็นว่า ตาม คำฟ้อง โจทก์ ทั้ง ห้า ระบุ ว่า จำเลยที่ 1 มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เรือนจำจังหวัด สงขลา เนื่องจาก จำเลย ที่ 1ต้องโทษ จำคุก อยู่ ใน เรือนจำ ดังกล่าว มี กำหนด 2 ปี 6 เดือน เรือนจำจังหวัด สงขลา มิใช่ ท้องที่ ที่ จำเลย ที่ 1 มี ถิ่นที่อยู่ จึง ไม่อาจ ถือว่า เป็น ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 1 ขณะที่ โจทก์ ทั้ง ห้า ยื่นฟ้อง โจทก์ทั้ง ห้า จะ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ต่อ ศาลชั้นต้น มิได้ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม โจทก์ ทั้ง ห้าต้อง ฟ้อง ต่อ ศาล ที่ จำเลย ที่ 1 มี ภูมิลำเนา คือ ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลชั้นต้น ไม่มี อำนาจ พิจารณา พิพากษา ได้ แต่เนื่องจาก ขณะ คดี นี้ อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3ได้ มี พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 ซึ่ง ใช้ บังคับ แล้ว แก้ไข เพิ่มเติม มาตรา 4(1)บัญญัติ ว่า “คำฟ้อง ให้ เสนอ ต่อ ศาล ที่ จำเลย มี ภูมิลำเนา ใน เขต ศาลหรือ ต่อ ศาล ที่ มูลคดี เกิดขึ้น ใน เขต ศาล ไม่ว่า จำเลย จะ มี ภูมิลำเนาอยู่ ใน ราชอาณาจักร หรือไม่ ” เช่นนี้ จึง ทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้า มีอำนาจ ฟ้องคดี ต่อ ศาลชั้นต้น ซึ่ง เป็น ศาล ที่ มูลคดี เกิด ได้ ด้วย ศาลชั้นต้น จึง มีอำนาจ รับฟ้อง โจทก์ ทั้ง ห้า ไว้ พิจารณา ฎีกา จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น จำเลย ที่ 3 ฎีกา ต่อไป ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้าง กระทำการใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้ นาย เหี้ยง ตรีวรพันธุ์ กรรมการ บริษัท จำเลย ที่ 3 เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ที่ 3 ว่า จำเลย ที่ 3อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 2 นำ รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ เข้าร่วม แล่นใน เส้นทาง จังหวัด นครศรีธรรมราช อำเภอ ท่าศาลา ตาม สัญญา จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 ต้อง ชำระ ค่าบริการให้ จำเลย ที่ 3 เป็น เงิน 40 บาท ต่อ วัน และ จำเลย ที่ 1 ให้การต่อ พนักงานสอบสวน ใน ชั้นสอบสวน ว่า ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 รับจ้างขับ รถ ให้ จำเลย ที่ 2 โดย ขับ กลับ จาก นำ แม่ ค้า ไป ซื้อ ของ ที่ อำเภอ สะเดา และ มี นาง เชื่อง ภริยา จำเลย ที่ 2 นั่ง ควบคุม ไป ด้วย เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2 ต้อง เสีย ค่าบริการ ให้ จำเลย ที่ 3 เป็น เงิน 40 บาทต่อ วัน เพื่อ ตอบแทน การ นำ รถ เข้าร่วม แล่น กับ จำเลย ที่ 3 การ เดินรถคัน เกิดเหตุ จึง เป็น กิจการ ร่วมกัน ระหว่าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฉะนั้นการ ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ใน ขณะ เกิดเหตุโดย รับจ้าง จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น การกระทำ ของ ลูกจ้าง ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น การกระทำ ของ ลูกจ้าง ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 3 ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย ที่ 3 ฎีกาต่อไป ว่า เกิดเหตุ นอก เส้นทาง จำเลย ที่ 3 ไม่ต้อง รับผิด เห็นว่าตาม สัญญา นำ รถ เข้าร่วม แล่น ใน เส้นทาง ตาม เอกสาร หมาย ป.ล. 8 ข้อ 6ระบุ ว่า จำเลย ที่ 2 มีสิทธิ นำ รถ ออก นอก เส้นทาง ได้ ฉะนั้น จำเลย ที่ 3จะ อ้าง เหตุ ดังกล่าว มา ปฏิเสธ ความรับผิด ไม่ได้ ฎีกา จำเลย ที่ 3ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จำเลย ที่ 3 ฎีกา ต่อไป อีก ว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่มี สิทธิเรียก ค่าเสียหาย เกี่ยวกับ รถยนต์กระบะ คัน หมายเลข ทะเบียน 20-1713สงขลา เพราะ สัญญาเช่าซื้อ ระงับ ไป ก่อน โจทก์ ทั้ง ห้า ฟ้องคดี เห็นว่าข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม ที่ โจทก์ ที่ 2 นำสืบ ว่า ขณะ เกิดเหตุ โจทก์ ที่ 2เช่าซื้อ รถยนต์กระบะ คัน ดังกล่าว โดย ต้อง รับผิด ซ่อมแซม รถ ด้วย ฉะนั้นโจทก์ ที่ 2 ย่อม มีสิทธิ ได้รับ ค่าสินไหมทดแทน สำหรับ ความเสียหายที่ เกิดขึ้น ได้ แม้ ต่อมา สัญญาเช่าซื้อ จะ เลิกกัน ก็ ไม่เป็นเหตุ ให้สิทธิ ของ โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง มี อยู่ แล้ว ระงับ สิ้นไป ฎีกา จำเลย ที่ 3ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ส่วน ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนดค่า ขาดไร้อุปการะ ให้ โจทก์ ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 5 คน ละ 100,000 บาทสูง เกิน ไป นั้น เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง เมื่อ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาทกัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย ให้ ”
พิพากษายืน