คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์จองซื้อห้องชุดเป็นจำนวนมากถึง38ห้องมีราคาทั้งสิ้นถึง15,124,000บาทในลักษณะทำมาหาประโยชน์ทางธุรกิจโจทก์ย่อมจะต้องเสนอเงื่อนไขต่างๆเพื่อรักษาสิทธิของตนให้จำเลยเห็นชอบเสียก่อนโจทก์จึงจะลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปได้เมื่อมีรายละเอียดของข้อความแห่งสัญญาที่โจทก์ยังตกลงกับจำเลยไม่ได้หลายข้อดังกล่าวแล้วซึ่งโจทก์แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญและโจทก์จำเลยมีความประสงค์ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันต่อไปอีกแต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ตกลงกันให้ถูกต้องเรียบร้อยทุกข้อและยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาจึงไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดตามความต้องการของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวที่จำเลยริบเงินมัดจำจองห้องชุดที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากจำเลยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ จอง ห้องชุด ของ จำเลย จำนวน 38 ห้องได้ วางเงิน มัดจำ ไว้ จำนวน 380,000 บาท โดย จะ ตกลง ใน รายละเอียดและ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย กัน ใน วันที่ 1 กันยายน 2532 หลังจาก นั้นโจทก์ จำเลย ได้ ตกลง ใน รายละเอียด เพื่อ จะ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย กันหลาย ครั้ง แต่ ไม่อาจ ตกลง กัน ได้ ใน บาง ข้อ ต่อมา เมื่อ ประมาณ ต้น เดือนตุลาคม 2532 โจทก์ และ จำเลย ไม่อาจ ตกลง ใน รายละเอียด ของของ สัญญา ได้ โจทก์ จำเลย จึง ได้ เลิกสัญญา จอง ห้องชุด ต่อ กัน จำเลยมี หน้าที่ จะ ต้อง คืนเงิน มัดจำ จำนวน 380,000 บาท ให้ โจทก์ ภายใน7 วัน นับแต่ วันที่ ได้รับ หนังสือ ทวงถาม แต่ จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับจำเลย ชำระ เงิน จำนวน 390,228.76 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 380,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ ให้ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ได้ จอง ห้องชุด ตาม ฟ้อง จริง แต่ มิได้ตกลง กัน ว่า จะ มา ตกลง รายละเอียด ของ สัญญาจะซื้อจะขาย อีก ครั้งเงื่อนไข ใน รายละเอียด ของ สัญญาจะซื้อจะขาย เป็น ไป ตาม แบบพิมพ์สัญญา ซึ่ง จำเลย ทำ ไว้ โดย โจทก์ จะ ต้อง มา ทำ หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ภายใน วันที่ 1 กันยายน 2532 แต่ โจทก์ ไม่มา ทำ สัญญาจำเลย ได้ ติดต่อ ให้ มา ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย และ ชำระ เงิน ภายใน 7 วันโจทก์ ได้รับ หนังสือ แล้ว กลับ มี หนังสือ ถึง จำเลย ให้ ออก ค่าใช้จ่าย ใน การจดทะเบียน ให้ งด เก็บ ค่าธรรมเนียม การ โอนสิทธิ ตาม สัญญา จะซื้อจะขาย ให้ บุคคลอื่น และ หา หลักประกัน การ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ให้ โจทก์หาก ไม่รับ เงื่อนไข โจทก์ ไม่ประสงค์ จะ ทำ สัญญา และ ให้ จำเลย คืนเงิน ภายใน7 วัน ความจริง โจทก์ จำเลย ได้ ตกลง กัน แล้ว ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา จอง ซื้อห้องชุด โดย ให้ เป็น ไป ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่ง เป็น แบบพิมพ์ ของ จำเลยกล่าว คือ ให้ โจทก์ จำเลย ออก เงิน ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย ใน การจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ห้องชุด ฝ่าย ละ ครึ่ง และ โจทก์ ต้อง เสียค่าธรรมเนียม การ โอนสิทธิ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ให้ บุคคลอื่นให้ แก่ จำเลย ราย ละ 10,000 บาท ส่วน เงื่อนไข ที่ ให้ จำเลย หาหลักประกัน นั้น ไม่ใช่ เป็น ข้อ ที่ โจทก์ จำเลย ได้ แสดง ไว้ ตั้งแต่ วัน ทำหนังสือ สัญญา จอง ซื้อ ห้องชุด จำเลย ไม่ผิด สัญญา จึง มีอำนาจ ริบ มัดจำ ได้ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 380,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2532เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ชำระ เงิน ให้ โจทก์ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ จอง ซื้อ ห้องชุด เป็น จำนวน มาก ถึง38 ห้อง มี ราคา ทั้งสิ้น ถึง 15,124,000 บาท ใน ลักษณะ ทำ มา หา ประโยชน์ทาง ธุรกิจ โจทก์ ย่อม จะ ต้อง เสนอ เงื่อนไข ต่าง ๆ เพื่อ รักษา สิทธิ ของ ตนให้ จำเลย เห็นชอบ เสีย ก่อน โจทก์ จึง จะ ลงนาม ใน สัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ได้ เมื่อ มี รายละเอียด ของ ข้อความ แห่ง สัญญา ที่ โจทก์ ยัง ตกลงกับ จำเลย ไม่ได้ หลาย ข้อ ซึ่ง โจทก์ แสดง ไว้ ว่า เป็น สาระสำคัญและ โจทก์ จำเลย มี ความ ประสงค์ ที่ จะ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย เป็นหนังสือ กัน ต่อไป อีก แต่ ทั้ง สอง ฝ่าย ยัง ไม่ ตกลง กัน ให้ ถูกต้อง เรียบร้อยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ต้องประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ดัง ฎีกา ของ จำเลย จำเลย ไม่มี สิทธิ กำหนด ระยะเวลาให้ โจทก์ ต้อง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ห้องชุด ตาม ความ ต้องการ ของจำเลย แต่ ฝ่ายเดียว ที่ จำเลย ริบ เงินมัดจำ จอง ห้องชุด ที่ โจทก์วาง ไว้ แก่ จำเลย จึง เป็น การ ไม่ชอบ โจทก์ ย่อม มีสิทธิ เรียกคืนจาก จำเลย ได้
พิพากษายืน

Share