คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์กับพวกอ้างว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองจำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดแนวเขตโจทก์คัดค้านว่าเป็นของโจทก์ประเด็นมีว่าผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าทางพิพาทในที่ดินดังกล่าวของจำเลยเป็นภารจำยอมของโจทก์ตามกฎหมายหรือไม่เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกันฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินติดต่อกันมาเกิน10ปีย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความ แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวถึงเนื้อที่ทางพิพาท1งาน25ตารางวาแต่แผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งศาลได้แสดงบริเวณที่โจทก์นำรังวัดขอเปิดทางภารจำยอมเนื้อที่ประมาณ1งาน25ตารางวาและบริเวณเขตโฉนดที่ดินจำเลยนำรังวัดเนื้อที่ประมาณ30ไร่1งาน33ตารางวาที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าทางพิพาทกว้าง2วายาวถึงทางสาธารณะจึงเป็นที่เดียวกันย่อมไม่เกินคำขอ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม น.ส. 3เลขที่ 18 จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 199ติดต่อ กับ ที่ดิน ของ โจทก์ ทาง ทิศตะวันออก บิดา โจทก์ และ บริวาร ใช้ทางเดิน ผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย เป็น เนื้อที่ รวม 1 งาน 25 ตารางวา ออก สู่ทางสาธารณะ ต่อมา โจทก์ ครอบครอง ที่ดิน ต่อ จาก บิดา ก็ ใช้ ทางพิพาทตลอดมา จน ถึง ปัจจุบัน เป็น เวลา 35 ปี จำเลย ไม่เคย โต้แย้ง คัดค้านทาง ดังกล่าว จึง ตกเป็น ภารจำยอม ของ ที่ดิน โจทก์ โดย อายุความ ต่อมาจำเลย และ บริวาร ร่วมกัน นำ เสา คอนกรีต มา ปัก และ ขึง ลวดหนามกีดขวาง ทาง ขอให้ บังคับ จำเลย เปิด ทางภารจำยอม โดย รื้อถอน สิ่ง กีดขวางที่ จำเลย ทำ ไว้ กับ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ให้ ทาง ดังกล่าว ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 199 เนื้อที่ รวม 1 งาน 25 ตารางวา เป็น ทางภารจำยอม ของ ที่ดินตาม น.ส. 3 เลขที่ 18 หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย และ ห้าม มิให้ จำเลย และ บริวารกระทำการ ใด ๆ อันเป็น การ รบกวน การ ใช้ ทางภารจำยอม
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เพียงแต่ อาศัย เดิน เป็น บางครั้ง บางคราวใน ลักษณะ หลบซ่อน ไม่เปิดเผย จำเลย เคย ฟ้องโจทก์ กับพวก ต่อ ศาลชั้นต้นเป็น คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 539, 540/2526 ซึ่ง ศาลฎีกา พิพากษาถึงที่สุด จำเลย จึง ปัก หลัก ล้อม รั้ว แนวเขต ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกาโจทก์ มิได้ กล่าวอ้าง เรื่อง ภารจำยอม ใน คดี ก่อน แต่ กลับมา ฟ้อง ในคดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้ำ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า ทางพิพาท ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 199 กว้าง ประมาณ 2 วา และ ยาว ถึง ทางสาธารณะ เป็น ทางภารจำยอมสำหรับ ที่ดิน ของ โจทก์ ตาม น.ส. 3 เลขที่ 18 ห้าม จำเลย รบกวน ขัดขวางการ ใช้ ทาง ดังกล่าว ของ โจทก์ และ บริวาร และ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน เป็นภารจำยอม แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือ คำพิพากษา ของ ศาลแทน การแสดง เจตนา
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน คดี เดิม ที่ จำเลย ฟ้องโจทก์ กับพวก นั้นจำเลย ฟ้อง กล่าวอ้าง ว่า ที่ดิน นอก โฉนด เลขที่ 199 อันเป็น ที่หัว ไร่ ปลาย นา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โดย การ ครอบครอง มา เกิน 10 ปี แล้วต่อมา เมื่อ จำเลย ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไป ระวัง แนวเขต โจทก์ ได้ คัดค้านรังวัด อ้างว่า ที่ดิน ดังกล่าว เป็น ของ โจทก์ ประเด็น แห่ง คดี มี ว่าผู้ใด เป็น เจ้าของ ผู้ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ส่วน คดี นี้ มี ประเด็นว่า ทางพิพาท เป็น ภารจำยอม ของ โจทก์ ตาม กฎหมาย หรือไม่ กล่าว คือที่ดินพิพาท ของ จำเลย ต้อง ยอมรับ กรรม บางอย่าง คือ ให้ โจทก์ ใช้ เป็นทาง เข้า ออก สู่ ถนน สาธารณะ หรือไม่ เป็น การ วินิจฉัย โดย อาศัย เหตุ ต่างกันฟ้อง ของ โจทก์ จึง มิใช่ ฟ้องซ้ำ
โจทก์ ได้ ใช้สอย ที่ดิน ทางพิพาท ซึ่ง เป็น อสังหาริมทรัพย์ ของ จำเลยเป็น ทาง เข้า ออก โดย สงบ เปิดเผย และ ด้วย เจตนา จะ ให้ ได้ สิทธิ ในภารจำยอม ใน ที่ดิน นั้น ติดต่อ กัน มา นาน เกิน 10 ปี มิได้ ใช้ ในลักษณะ ร่วม เดิน หรือ ถือ วิสาสะ ใน ฐานะ เพื่อนบ้าน ย่อม ได้ ภารจำยอมเหนือ ที่ดิน จำเลย โดย อายุความ
แม้ ใน คำฟ้อง ของ โจทก์ จะ กล่าว ถึง เนื้อที่ 1 งาน 25 ตารางวาก็ ตาม แต่ ตาม แผนที่ เอกสาร หมาย จ. 2 ซึ่ง เจ้าพนักงาน ที่ดิน จัดทำ ส่งต่อ ศาล แสดง พื้นที่ เส้น สี ดำ หมาย สี เขียว คือ บริเวณ ที่ โจทก์ นำ รังวัดขอ เปิด ทางภารจำยอม เนื้อที่ ประมาณ 1 งาน 25 ตารางวา และ เส้น สี ดำหมาย สีแดง คือ บริเวณ เขต โฉนด เลขที่ 199 จำเลย นำ ทำการ รังวัด เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ 1งาน 33 ตารางวา ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ว่า ทางพิพาทใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 199 กว้าง ประมาณ 2 วา ยาว ถึง ทางสาธารณะ จึง เป็นที่ เดียว กัน ย่อม ไม่เกินคำขอ
พิพากษายืน

Share