คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ร้องฎีกาว่าพยานหลักฐานผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานผู้ร้องฟังได้ว่าผู้ร้องได้ชำระค่าหุ้นเต็มตามมูลค่าครบถ้วนแล้วเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกามาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บัญชีผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญเป็นเอกสารที่จำเลยจัดทำส่งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องตรงกับ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1141ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น พยานหลักฐานอันถูกต้องและตามมาตรา1024ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการการที่พยานผู้ร้องเบิกความว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นตามมูลค่าแล้วโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดสนับสนุนจึงไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบัญชีผู้ถือหุ้นเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงผู้ร้องต้องรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระตามที่ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันหนี้ไป การที่บริษัทจะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1120หาใช่จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด10ปีนับแต่วันที่ผู้ร้องเข้าชื่อจองซื้อหุ้นไม่ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในการเรียกให้ผู้ร้องส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนับแต่วันทำสัญญาเข้าชื่อจองซื้อหุ้นแม้จะเกิน10ปีก็ ไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ล้มละลาย ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาด ใน การ รวบรวม และ จำหน่าย ทรัพย์สินของ จำเลย ผู้คัดค้าน ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ ผู้ร้อง ทั้ง สี่ ชำระ ค่าหุ้น ที่ค้างชำระ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วัน ผิดนัดจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ผู้ร้อง แต่ละ คน ปฏิเสธ หนี้ ต่อ ผู้คัดค้าน ภายใน เวลาที่ กำหนด ผู้คัดค้าน สอบสวน แล้ว เห็นว่า ผู้ร้อง แต่ละ คน เป็น หนี้ตาม จำนวน ที่ มี หนังสือ แจ้ง ไป จึง ได้ มี หนังสือ ยืนยัน หนี้ ให้ ผู้ร้องแต่ละ คน ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย ต่อ ผู้คัดค้าน ผู้ร้องทั้ง สี่ ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สี่ ชำระ ค่าหุ้น เต็มตาม มูลค่า หุ้น ครบถ้วน แล้ว บัญชี ราย ชื่อ ผู้ถือหุ้น ที่ ผู้คัดค้านอ้าง ไม่ ตรง ความจริง ผู้คัดค้าน มิได้ บังคับ ตาม สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปี คดี ขาดอายุความ ขอให้ มี คำสั่ง ให้ จำหน่าย ชื่อ ผู้ร้องทั้ง สี่ ออกจาก บัญชี ลูกหนี้ ของ จำเลย
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้ร้อง ไม่มี หลักฐาน การ ชำระหนี้ค่าหุ้น และ ตาม บัญชี ราย ชื่อ ผู้ถือหุ้น ของ จำเลย ผู้ร้อง ทั้ง สี่ยัง ค้าง ค่าหุ้น ตาม ที่ ผู้คัดค้าน ยืนยัน หนี้ ไป ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา คำร้องขอ งผู้ร้อง ทั้ง สี่ รวมกัน แล้ว มี คำสั่งให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง ทั้ง สี่
ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี สำหรับ ผู้ร้อง ที่ 1 เป็น คดี ที่ จำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ห้าม มิให้ คู่ความฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ฎีกา ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ ว่า พยานหลักฐาน ผู้คัดค้าน ไม่มี น้ำหนัก หักล้างพยานหลักฐาน ผู้ร้อง ที่ 1 ฟังได้ ว่า ผู้ร้อง ที่ 1 ได้ ชำระ ค่าหุ้น เต็มตาม มูลค่า ครบถ้วน แล้ว เป็น ฎีกา โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้ ฎีกาตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว แม้ ศาลชั้นต้น รับ ฎีกา ผู้ร้อง ที่ 1 มา ก็ เป็นการ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย คดี คง มี ปัญหา ใน ข้อ นี้ แต่เพียง ตามฎีกา ผู้ร้อง ที่ 2 และ ที่ 3 ว่า ผู้ร้อง ที่ 2 และ ที่ 3 ชำระ ค่าหุ้นเต็ม มูลค่า แล้ว หรือไม่ เห็นว่า จาก บัญชี ผู้ถือหุ้น ใน วัน ประชุม สามัญครั้งที่ 1/2530 เมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2530 ตาม เอกสาร หมายจ. พ.ท. 1 ที่ ผู้คัดค้าน ส่ง เป็น พยานหลักฐาน ระบุ ว่า จำเลย มี ผู้ถือหุ้น9 คน เป็น จำนวน หุ้น ทั้งสิ้น 5,000 หุ้น มูลค่า หุ้น ละ 1,000 บาท ชำระค่าหุ้น ครบถ้วน แล้ว 5 คน คง ค้างชำระ ค่าหุ้น 4 คน โดย ผู้ร้องที่ 2 ถือ หุ้น จำนวน 1,890 หุ้น ชำระ ค่าหุ้น แล้ว หุ้น ละ 300 บาทผู้ร้อง ที่ 3 ถือ หุ้น จำนวน 2,000 หุ้น ชำระ ค่าหุ้น แล้ว หุ้น ละ 300บาท ซึ่ง เอกสาร หมาย จ. พ.ท. 1 นี้ เป็น เอกสาร ที่ จำเลย จัดทำ ส่ง ต่อนายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานคร โดย ผู้ร้อง ที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจ ของ จำเลย ใน ขณะ นั้น เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ รับรองความ ถูกต้อง ตรง กับ สมุดทะเบียน ผู้ถือหุ้น ซึ่ง ตาม กฎหมาย ให้สันนิษฐาน ไว้ ว่า เป็น พยานหลักฐาน อัน ถูกต้อง ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1141 และ มาตรา 1024 ก็ บัญญัติให้ สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า บรรดา สมุดบัญชี เอกสาร ของ บริษัท นั้น ย่อมเป็น พยานหลักฐาน อัน ถูกต้อง ตาม ข้อความ ที่ ได้ บันทึก ไว้ ใน นั้นทุกประการ เมื่อ พยาน ผู้ร้อง ที่ 2 และ ที่ 3 มี ผู้ร้อง ที่ 3 เบิกความว่า ผู้ร้อง ที่ 2 และ ที่ 3 ชำระ ค่าหุ้น เต็ม ตาม มูลค่า แล้ว โดย ไม่มีพยาน อื่น ใด สนับสนุน เช่นนี้ จึง ไม่สามารถ นำสืบ หักล้าง พยานเอกสารที่ ผู้คัดค้าน อ้าง เป็น พยานหลักฐาน ซึ่ง ถือว่า เป็น ข้อสันนิษฐานของ กฎหมาย ได้ ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า เอกสาร ที่ ผู้คัดค้านอ้างอิง เป็น พยาน นั้น เป็น เอกสาร ที่ ถูกต้อง แท้จริง ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 และ ที่ 3 ต้อง รับผิด ใน หนี้ ค่าหุ้น ที่ ค้างชำระ ตาม ที่ ผู้คัดค้านมี หนังสือ ยืนยัน หนี้ ไป และ กรณี ก็ ไม่จำเป็น ที่ ศาลอุทธรณ์จะ ต้อง หยิบยก เอกสาร หมาย จ. พ.ท. 2 ขึ้น มา วินิจฉัย เพราะ เอกสารดังกล่าว นักวิชาการ เงิน และ บัญชี กอง คำนวณ และ เฉลี่ยทรัพย์กรมบังคับคดี ได้ ตรวจสอบ ทาง บัญชี ของ จำเลย จาก หลักฐาน ที่ ปรากฎ ตามเอกสาร หมาย จ. พ.ท. 1 แล้ว คัดลอก มา ฉะนั้น การ รับฟัง เอกสาร หมายจ. พ.ท. 1 ก็ เพียงพอ แล้ว และ เป็น การ วินิจฉัย พยานหลักฐาน โดยชอบด้วย กฎหมาย แล้ว
ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ต่อไป มี ว่า สิทธิเรียกร้อง ของ ผู้คัดค้าน ขาดอายุความ หรือไม่ที่ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้า ชื่อ จอง ซื้อ หุ้น เมื่อ กลาง ปี 2526 แต่ ผู้คัดค้าน ได้ ยืนยันหนี้ ตลอดจน ยื่น คำคัดค้าน คำร้อง ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เมื่อพ้น กลาง ปี 2536 จึง เกิน กำหนด 10 ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญา เข้า ชื่อจอง ซื้อ หุ้น สิทธิเรียกร้อง ของ ผู้คัดค้าน จึง ขาดอายุความ นั้น เห็นว่าการ ที่ บริษัท จำเลย จะ เรียกเงิน ค่าหุ้น ซึ่ง ยัง จะ ต้อง ส่ง อีก ในแต่ละ คราว นั้น เป็น ดุลพินิจ ของ กรรมการ ที่ จะ เรียก จาก ผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็น จำนวน เท่าใด ก็ ได้ หาใช่ จะ ต้อง เรียกร้อง ภายใน กำหนด10 ปี นับแต่ วันที่ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เข้า ชื่อ จอง ซื้อ หุ้นซึ่ง สิทธิ เรียกเงิน ค่าหุ้น ซึ่ง ยัง จะ ต้อง ส่ง อีก นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 ได้ บัญญัติ ไว้ ชัดแจ้ง ว่าบรรดา เงินค่าหุ้น ซึ่ง จะ ต้อง ส่ง อีก นั้น กรรมการ จะ เรียก ให้ ผู้ถือหุ้นส่ง ใช้ เสีย เมื่อใด ก็ ได้ ดังนั้น สิทธิเรียกร้อง ของ ผู้คัดค้าน ใน การเรียก ให้ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ส่ง ใช้ เงินค่าหุ้น ที่ ค้างชำระจึง ไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม ศาลชั้นต้น ให้ยก คำร้องของ ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ชอบแล้ว ฎีกา ทุก ข้อ ของ ผู้ร้อง ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share