แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การที่ขุดพื้นดินยกคันนาล้ำทางหลวงย่อมเป็นความผิดตาม ม.336(13) หาใช่ตาม ม.336(2) ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ตามมาตราหนึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์คดีจึงเป็นอันยุติ โจทก์จะฎีกาต่อมาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรานั้นหาได้ไม่.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจขุดพื้นดินยกคันนาล้ำทางหลวงและขุดพื้นดินในถนนหลวงปลูกข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต และขุดพื้นดินในถนนหลวงปลูกข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.๓๓๖(๒),(๑๓)
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยทำผิดตามฟ้องซึ่งผิดตาม ม.๓๓๖(๒) หาเป็นผิดตาม ม.๓๓๖(๑๓) ไม่ปรับ ๑๒ บาท ลดตาม ม.๕๙ คงปรับ ๘ บาท
จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว
ศาลอุทธรณ์ฟังเช่นศาลชั้นต้นแต่เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดตาม ม.๓๓๖(๑๓) ไม่ผิดตาม ม.๓๓๖(๒) เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์จะลงโทษไม่ได้ เมื่อไม่ผิดตาม ม.๓๓๖(๒) ก็ไม่มีทางลงโทษจำเลย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกาว่าการพื้นดินยกคันนารุกล้ำทางหลวงเป็นผิดตาม ม.๓๓๖(๒). และการพื้นดินปลูกข้าวปิดทางหลวงเป็นผิดตาม ม.๓๓๖(๑๓) แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลก็ลงโทษจำเลยได้
ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยในทางหลวงสายที่ ๑ – ๒ ตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้นเป็นความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.๓๓๖(๑๓) หาเป็นความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.๓๓๖(๒) ดังโจทก์ฟ้องไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ตาม ม.๓๓๖(๑๓) โจทก์มิได้อุทธรณ์คดีเป็นอันยุติเพียงศาลชั้นต้น โจทก์จะฎีกาต่อมชห
จำเลยตามมาตรานี้อีกไม่ได้
จึงพิพากษายืน.