แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลานานเกินสมควรอันจะถือว่าคำตักเตือนนั้นสิ้นผลที่ไม่อาจถือได้ว่ามีการตักเตือน แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนจะมีผลอยู่ตลอดไป การพิจารณาว่าระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์เป็นแต่ละกรณีถึงเหตุและความหนักเบาของการกระทำความผิดตลอดจนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดแก่นายจ้างว่ามีเพียงใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถรับส่งพนักงานของจำเลยได้กระทำผิดครั้งแรกโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้โจทก์ขับรถไปส่งคนเจ็บและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ขับรถไปส่งพนักงานจ่ายเงินอีก ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อย อันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ซึ่งเมื่อนับแต่ที่จำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือเนื่องจากการกระทำผิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2532 จนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 7มีนาคม 2533 เป็นเวลาไม่เนิ่นนาน ทั้งไม่ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ได้ปรับปรุงตน ไม่ได้กระทำผิดโดยที่ได้สำนึกและเชื่อฟังคำตักเตือนดังกล่าว คำตักเตือนของจำเลยจึงยังมีผลอยู่การกระทำผิดของโจทก์ครั้งหลัง จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่จ่ายค่าล่วงเวลาตามกำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากนายอารมย์ เมื่อปี 2535 ซึ่งที่ดินแปลงนี้นายอารมย์เป็นผู้ครอบครอง และทำประโยชน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ต่อมาปี 2511จำเลยที่ 2 ได้สมคบกับนายอำเภอบรบือยื่นคำขอจับจองที่ดินแปลงดังกล่าว นายอำเภอบรบือได้ออกใบจองให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาอำเภอบรบือได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญายกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการฉ้อฉลเพื่อให้ที่ดินของนายอารมย์ตกเป็นของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างตลาดสดและถนนในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้มีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอบที่ดินพิพาทเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองทำขึ้นทุกฉบับ ห้ามจำเลยที่ 1 ก่อสร้างตลาดสดและถนนในที่ดินพิพาท และให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินแปลงดังกล่าว
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจับจองที่ดินพิพาทและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยชอบ จำเลยที่ 1 ได้รับการยกให้และครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงได้สิทธิครอบครองขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อที่ต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ฎีกามีว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์นำสืบว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีจ่าสิบตำรวจโต๊ะเป็นผู้ครอบครองจ่าสิบตำรวจโต๊ะขายที่พิพาทให้แก่นายแป๊ะกุ่ย แซ่โค้ว ในราคา2,000 บาท นายแป๊ะกุ่ยขายให้นายอารมย์ 10,000 บาท และนายอารมย์ขายให้โจทก์ในราคา 400,000 บาท โจทก์ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยให้นายอารมย์เช่าปีละ 5,000 บาท จำเลยนำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของจ่าสิบตำรวจโต๊ะ จ่าสิบตำรวจโต๊ะยกให้แก่อำเภอบรบืออำเภอบรบือให้นายเต็งลิ้ม เช่าปีละ 500 บาท ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งสุขาภิบาลอำเภอบรบือจำเลยที่ 1 ขึ้นทางอำเภอบรบือจึงยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังคงให้นายเต็งลิ้มเช่าตลอดมา ใน พ.ศ. 2511 คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 เห็นว่าที่ดินพิพาทยังไม่มีหนังสือแสดงสิทธิ จึงประชุมและลงมติให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอจับจองที่ดินพิพาทและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการตามระเบียบแล้วได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ทำการโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทันที เห็นว่านอกจากจำเลยจะมีนายไมตรี ไนยะกูลนายประถม ศิริมาลา นายจำรูญ กาวิละ ซึ่งเคยรับราชการในตำแหน่งนายอำเภอบรบือ และเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 เข้าเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีเอกสารซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทคือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์หลักฐานการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 2 หลักฐานที่จำเลยที่ 2 ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.7 นอกจากนี้จำเลยยังมีเอกสารซึ่งแสดงว่านายเต็งลิ้มเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.2ล.3 ล.8 และ ล.9 ส่วนโจทก์มีแต่พยานบุคคลเข้าเบิกความลอย ๆ ว่าได้มีการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อกันมาเป็นทอด ๆ แต่ไม่มีสัญญาซื้อขายมาแสดง นอกจากนั้นนายอารมย์เบิกความว่า นายอารมย์ร่วมกับนายเต็งลิ้มซื้อที่ดินพิพาทจากนายแป๊ะกุ่ย ซึ่งถ้าคนทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจากนายแป๊ะกุ่ยจริง นายเต็งลิ้มก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเช่าที่ดินพิพาทจากผู้ใด ส่วนที่นายอารมย์ยังไม่ได้ขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ นายอารมย์อ้างว่านายเต็งลิ้มเป็นคนต่างด้าวไม่อาจมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้จึงตกลงว่ารอให้ลูกชายของนายเต็งลิ้มโตเสียก่อนจึงจะไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เพื่อจะได้ใส่ชื่อลูกชายของนายเต็งลิ้มลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เห็นว่าเป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผล เพราะหากนายอารมย์ซื้อที่ดินพิพาทจริง นายอารมย์ก็สามารถที่จะขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในชื่อของตนเองก่อนได้ และเมื่อลูกชายนายเต็งลิ้มโต จะเพิ่มชื่อลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ย่อมทำได้ พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ คดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 และให้นายเต็งลิ้มเช่า นายอารมย์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของนายเต็งลิ้ม ดังนั้นแม้นายอารมย์ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์จริงนายอารมย์ก็ไม่มีสิทธิครอบครองที่จะโอนให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.