คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง ที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว คงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่า ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อปี 2523 โจทก์ซื้อบ้านเลขที่ 52/6 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 10265 ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านและที่ดินจัดสรรในโครงการหมู่บ้านสยามวิลล่าของบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด ต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2524 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 18 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่1265 และอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 ในราคาตารางวาละ3,500 บาท เป็นเงิน 63,000 บาท จากจำเลยที่ 1 โจทก์วางเงินมัดจำเป็นเงิน 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางมัดจำ โจทก์จึงขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากสำนักงานเขตบางเขน แล้วปลูกสร้างอาคารบนที่ดินพิพาทจากนั้นขอเลขหมายประจำบ้านจากสำนักงานเขตบางเขนและได้เลขหมายประจำบ้าน 52/60
++ ครั้นวันที่ 15 เมษายน2528 โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทที่ค้างอีก 53,000 บาท ให้จำเลยที่ 1และมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
++ แต่เมื่อวันที่ 5 กันยายน2533 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมิได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดิน 1265 ให้โจทก์ตามข้อตกลง
++
++ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 นั้น
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำพิพากษาดังเช่นที่จำเลยที่ 2 ฎีกา หากแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 โดยมิได้บังคับจำเลยทั้งสองให้ไปจดทะเบียนเพิกถอนแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
++
++ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการแรกว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที การโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 เพื่อโอนให้โจทก์จึงเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมาย
++
++ ในข้อนี้ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องการโอนขายที่ดินโครงการที่ 2 ให้แก่บริษัทเซ็นจูรี่พาร์คคอนโดมิเนียม จำกัด เพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับจำนองและในการโอนขายที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะต้องยินยอมให้ถนนในที่ดินโฉนดเลขที่1264 และ 1265 ซึ่งอยู่ในโครงการที่ 1 เป็นทางสาธารณประโยชน์ก่อน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ1265 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้น จำเลยที่ 1 มีเจตนายกให้เฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นถนนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว
++ ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อนหากแต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 สัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์และจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์มาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2แล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการที่สองมีว่า มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า กรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในการกระทำหรือในความสำคัญผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ควรต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติให้ความรับผิดชั้นสุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ทั้งนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย
++ ตามคำขอยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าเพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดเลขที่ 1265 จำเลยที่ 1 สัญญาจะขายให้โจทก์ และโจทก์ปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การและต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
++ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ10,000 บาท และที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายมีว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีในศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้นายสุรพันธ์ จันไกรผล ฟ้องและดำเนินคดีแทน เมื่อวันที่ ๖ มกราคม๒๕๒๔ โจทก์ตกลงซื้อที่ดินบางส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ ตำบลลาดยาว(บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานครจากจำเลยที่ ๑ เนื้อที่ ๑๘ ตารางวา ราคาตารางวาละ ๓,๕๐๐ บาทเป็นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาท โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาทและจำเลยที่ ๑ ยินยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางเงินมัดจำ หลังจากทำหนังสือวางเงินมัดจำแล้วโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยปลูกบ้านเลขที่ ๕๒/๖๐ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๒๘ โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือจำเลยที่ ๑ ให้สัญญาว่าเมื่อไถ่ถอนจำนองแล้วจะยื่นคำขอแบ่งแยกรังวัดที่ดินพิพาทออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์หากผิดสัญญา จำเลยที่ ๑ ยินยอมชำระค่าเสียหายเป็นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาทแต่เมื่อปี ๒๕๓๓ จำเลยที่ ๑ ไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วกลับยกที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ ๒ เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยไม่มีเงื่อนไขและไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอแบ่งแยกรังวัดออกโฉนดที่ดิน เนื้อที่ ๑๘ ตารางวา จากโฉนดที่ดินเลขที่๑๒๖๕ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ เฉพาะส่วนที่ดินพิพาทเนื้อที่ ๑๘ ตารางวา ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ ต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาห้วยขวาง พร้อมกับขอออกโฉนดที่ดินแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนา หรือหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินเพื่อออกโฉนด แล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันใช้ราคาที่ดินและบ้านเลขที่ ๕๒/๖๐ ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทเป็นเงิน๒,๐๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี กับให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองปลูกบ้านจริง แต่ยังไม่ได้รังวัดแบ่งแยกโฉนดและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๓จำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๔ และ ๑๒๖๕ ตำบลลาดยาว(บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ให้แก่จำเลยที่ ๒ เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมีเจตนายกที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นทางสาธารณประโยชน์อยู่เดิม ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒ ด้วย แต่เนื่องจากจำเลยที่ ๑ สำคัญผิดว่าจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ ให้แก่โจทก์แล้วซึ่งจำเลยที่ ๒ ก็ทราบดีว่าขณะที่จำเลยที่ ๑ ยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่รวมถึงที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษาไปตามความเป็นจริง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้นายสุรพันธ์ จันไกรผล เป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ โจทก์ไม่เคยซื้อหรือจะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัดหรือจากจำเลยที่ ๑หนังสือวางเงินมัดจำเป็นเอกสารปลอม และการที่จำเลยที่ ๑ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน๔๒ ตารางวา ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นการกระทำโดยบริสุทธิ์ใจไม่มีผู้ใดบังคับขู่เข็ญและไม่ได้สำคัญผิดในนิติกรรม อย่างไรก็ดีที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์ตั้งแต่วันที่ ๕ กันยายน๒๕๓๓ ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว จึงไม่อาจนำทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวไปทำการรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์หรือผู้ใดได้ เว้นแต่มีการตราพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้จำเลยที่ ๒ ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเรียกร้องราคาค่าเสียหาย ซึ่งเป็นราคาที่ดินและบ้านจากจำเลยที่ ๒ ที่ดินพิพาทมีราคาไม่ถึงตารางวาละ ๖๐,๐๐๐ บาท ราคาบ้านไม่ถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ ตามคำขอโอนให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ฉบับลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๓ เฉพาะส่วนที่ดินพิพาทเนื้อที่ ๑๘ ตารางวา ที่โจทก์ปลูกบ้านเลขที่ ๕๒/๖๐ ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๖๕ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าวเอง หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ ๑๐,๐๐๐ บาท
จำเลยที่ ๒ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยที่ ๒ ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ๕,๐๐๐ บาท แทนโจทก์
จำเลยที่ ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อปี ๒๕๒๓ โจทก์ซื้อบ้านเลขที่ ๕๒/๖ พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๐๒๖๕ ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านและที่ดินจัดสรรในโครงการหมู่บ้านสยามวิลล่าของบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด จากจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด ต่อมาวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๔ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ ๑๘ ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่๑๒๖๕ และอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ ๑ ในราคาตารางวาละ๓,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาท จากจำเลยที่ ๑ โจทก์วางเงินมัดจำเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท และจำเลยที่ ๑ ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางมัดจำโจทก์จึงขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากสำนักงานเขตบางเขน แล้วปลูกสร้างอาคารบนที่ดินพิพาทจากนั้นขอเลขหมายประจำบ้านจากสำนักงานเขตบางเขนและได้เลขหมายประจำบ้าน ๕๒/๖๐ ครั้นวันที่ ๑๕ เมษายน๒๕๒๘ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทที่ค้างอีก ๕๓,๐๐๐ บาท ให้จำเลยที่ ๑และมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ ๑ จะต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อวันที่ ๕ กันยายน๒๕๓๓ จำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๔ และ ๑๒๖๕ให้แก่จำเลยที่ ๒ เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมิได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดิน ๑๒๖๕ ให้โจทก์ตามข้อตกลงที่จำเลยที่ ๒ ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๕ นั้น เห็นว่า ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำพิพากษาดังเช่นที่จำเลยที่ ๒ ฎีกา หากแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒ โดยมิได้บังคับจำเลยทั้งสองให้ไปจดทะเบียนเพิกถอนแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ ๒ ประการแรกว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ ๒ ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๖๕ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้หรือไม่ โดยจำเลยที่ ๒ ฎีกาว่าเมื่อจำเลยที่ ๑ ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที การโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๕ โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ ๒ ร่วมกับจำเลยที่ ๑ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๖๕ เพื่อโอนให้โจทก์จึงเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายในข้อนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ต้องการโอนขายที่ดินโครงการที่ ๒ ให้แก่บริษัทเซ็นจูรี่พาร์คคอนโดมิเนียม จำกัด เพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับจำนองและในการโอนขายที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ ๑ จะต้องยินยอมให้ถนนในที่ดินโฉนดเลขที่๑๒๖๔ และ ๑๒๖๕ ซึ่งอยู่ในโครงการที่ ๑ เป็นทางสาธารณประโยชน์ก่อน การที่จำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๔ และ๑๒๖๕ ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้น จำเลยที่ ๑ มีเจตนายกให้เฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นถนนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่จำเลยที่ ๑ ตกลงขายให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อนหากแต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๑ สัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ ๑ยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ ๒ โดยจำเลยที่ ๑ สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ ๑แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ ๒จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่จำเลยที่ ๑ยื่นคำขอโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์และจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์มาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๐๕ และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒แล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ ๒ ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๖๕แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ ๒ ประการที่สองมีว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และมีเหตุที่จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์หรือไม่ โดยจำเลยที่ ๒ฎีกาว่า กรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ ๒ มิได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในการกระทำหรือในความสำคัญผิดของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ควรต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๖๑ วรรคแรก บัญญัติให้ความรับผิดชั้นสุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ทั้งนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย ตามคำขอยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๔ และ ๑๒๖๕ ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าเพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดเลขที่ ๑๒๖๕ จำเลยที่ ๑ สัญญาจะขายให้โจทก์ และโจทก์ปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ ๑ จะทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๖๔ และ ๑๒๖๕ แก่จำเลยที่ ๒ เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ ๒ ทราบแล้ว และจำเลยที่ ๒ ก็ยังให้การและต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเมื่อจำเลยที่ ๒ แพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ ๒ ร่วมกับจำเลยที่ ๑ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ๑๐,๐๐๐ บาท และที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ ๒ ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ๕,๐๐๐ บาท แทนโจทก์ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ ๒ ประการสุดท้ายมีว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ ๒ โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยที่ ๒ ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ ๒ ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยที่ ๒ แพ้คดีในศาลชั้นต้นจำเลยที่ ๒ อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ ๒ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๐ วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยที่ ๒ เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ ๒ ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง คดีนี้ราคาที่ดินพิพาท ๑,๐๘๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ๒๗,๐๐๐ บาท แต่จำเลยที่ ๒เสียค่าขึ้นศาลไว้ตอนยื่นอุทธรณ์ ๒๐๐ บาท และเสียเพิ่มตอนศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เสียเพิ่มอีก ๒๗,๒๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๗,๔๐๐ บาทจำเลยที่ ๒ จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เกินมา ๔๐๐ บาท
พิพากษายืน ให้จำเลยที่ ๒ ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา๓,๐๐๐ บาท แทนโจทก์ และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมา ๔๐๐ บาทแก่จำเลยที่ ๒.

Share