คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)โจทก์เป็นผู้ครอบครองจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนั้นไม่อาจห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิได้เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ที่พิพาท เป็น ที่ดิน ที่ นาย บุญฉ้วน เลาหะกุล แจ้งการ ครอบครอง ตาม แบบ ส.ค.1 ตั้ง อยู่ ตำบล ตะลุบัน อำเภอ สายบุรีจังหวัด ปัตตานี เดิม เป็น ที่ รกร้าง ว่างเปล่า โจทก์ ได้ เข้าครอบครอง ทำ ประโยชน์ โดย ความสงบ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของมา ประมาณ 20 ปี ย่อม ได้ สิทธิ ครอบครอง เมื่อ ปี พ.ศ. 2521 โจทก์ กับจำเลย ซึ่ง เป็น ผู้จัดการ มรดก ของ นาย บุญฉ้วน ได้ พิพาท กันเกี่ยวกับ ที่ดิน ทาง ทิศใต้ ที่พิพาท ได้ มี การ ทำ แผนที่ พิพาทจำเลย นำชี้ ว่า ที่ดิน แปลง ด้าน ทิศใต้ ที่พิพาท ว่า เป็น ของ ตนแสดงว่า จำเลย เจตนา สละ การ ครอบครอง ที่พิพาท ทั้ง ยัง ได้ เบิกความเป็น พยาน ใน คดี นั้น ว่า นาย บุญฉ้วน เป็น ผู้ อุิทศ ให้ ที่ พิพาทเป็น ที่ สาธารณะ สำหรับ คน อิสลาม นำ ศพ ไป ป่าช้า ต่อมา เมื่อ เดือนมีนาคม 2524 จำเลย ได้ นำ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไป ทำการ รังวัด ที่พิพาทเพื่อ ออก โฉนด โจทก์ คัดค้าน เจ้าพนักงาน ที่ดิน สั่ง ให้ โจทก์ ฟ้องโจทก์ จึง ฟ้อง คดี นี้ ขอ ให้ ศาล พิพากษา ว่า ที่ พิพาท เป็น ของโจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ เคย สละ สิทธิ ครอบครอง ที่พิพาท ที่พิพาทเป็น ที่ดิน ที่ นาย บุญฉ้วน สามี จำเลย แจ้ง การ ครอบครอง ตาม แบบส.ค.1 เมื่อ นาย บุญฉ้วน ถึงแก่กรรม จำเลย เป็น ผู้จัดการ มรดก ได้ดำเนินการ รังวัด เพื่อ ออก โฉนด โจทก์ คัดค้าน ว่า ที่พิพาท เป็น ของโจทก์ เหตุ ที่ จำเลย นำ ชี้ ที่ดิน ไม่ รวม ที่พิพาท ว่า เป็น ของจำเลย เพราะ จำเลย ตั้งใจ อุทิศ ที่พิพาท ให้ เป็น ที่ สาธารณะ สำหรับคนอิสลาม นำ ศพ ไป ป่าช้า ตาม ความประสงค์ ของ นาย บุญฉ้วน ต่อมา ทราบจาก เทศบาล ตำบล ตะลุบัน ว่า คน อิสลาม ไม่ ใช้ ที่พิพาท นำ ศพ ไปป่าช้า อีก ต่อไป แล้ว จำเลย จึง ได้ ดำเนินการ รังวัด เพื่อ ออก โฉนดดังกล่าว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวารเกี่ยวข้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เชื่อ ว่า นาย บุญฉ้วน ได้ อุทิศที่พิพาท ทั้ง แปลง ให้ เป็น ที่สาธารณะ สำหรับ คนอิสลาม นำ ศพ ไปป้าช้า ที่พิพาท ไม่ ใช่ ของ โจทก์ และ จำเลย เมื่อ โจทก์ ครอบครองที่พิพาท อยู่ โจทก์ จึง มี สิทธิ ใน ที่พิพาท ดีกว่า จำเลย และวินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ที่ โจทก์ ขอ ให้ ห้าม จำเลย และ บริวาร เข้าเกี่ยวข้อง กับ ที่พิพาท นั้น เนื่องจาก ที่พิพาท ตก เป็น สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ประเภท สำหรับ พลเมือง ใช้ ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) จึง ไม่ อาจ ห้าม มิให้เกี่ยวข้อง เสีย ทั้งหมด ได้ เพราะ เป็น การ ขัด วัตถุ ประสงค์ ของ การใช้ สาธารณสมบัติ ของ แผ่นดิน ประเภท นี้ จะ ห้าม ได้ เฉพาะ กรณี ที่เข้า ไป เกี่ยวข้อง โดย ที่ มิใช่ เป็น ไป เพื่อ การ ใช้ ที่ดิน ตามวัตถุ ประสงค์ ของ สาธารณสมบัติ ของ ที่ดิน แปลง นี้ เท่านั้น พิพากษากลับ ห้าม มิให้ จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ ที่พิพาท เว้นแต่ ที่เป็น การ ใช้ ประโยชน์ ใน ที่ดิน ตาม วัตถุ ประสงค์ ของ สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน แปลง พิพาท

Share