แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่1คนหนึ่งรวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้นศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกเสียจากสารบบความมีผลให้จำเลยที่1พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่1ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกหนี้ โจทก์ ทั้งสิ้น 4,361,375บาท ต่อมา เมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2530 จำเลย ทั้ง สอง ได้ สมคบ กันทำการ ฉ้อฉล โจทก์ โดย จำเลย ที่ 2 เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น จำเลยต่อ ศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 11523/2530 เรียกร้อง ให้จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ จำนวน 139,017,825.91 บาท แก่ จำเลย ที่ 2ทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 2 รู้ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ ผิดสัญญา กู้แต่อย่างใด แต่ เป็น ความผิด ของ จำเลย ที่ 2 ที่ ไม่ ปล่อย เงิน ให้จำเลย ที่ 1 กู้ จน ครบ วงเงิน ตาม สัญญา และ ยัง ไม่ถึง กำหนด เวลา ชำระหนี้ คืนเมื่อ จำเลย ที่ 1 รับ สำเนา คำฟ้อง ใน วันที่ 16 มิถุนายน 2530 แล้วจำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ที่ 2 ต่อหน้า ศาลใน วันรุ่งขึ้น และ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความโดย จำเลย ทั้ง สอง ทราบ ดี ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ จะ ชำระหนี้ ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ได้ ทั้งนี้ เพื่อ มิให้ เจ้าหนี้ ราย อื่นของ จำเลย ที่ 1 รวมทั้ง โจทก์ ทราบ และ จำเลย ที่ 1 จงใจ ที่ จะ ให้ตน ผิดนัด ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 2 บังคับคดียึดทรัพย์ จำนอง ซึ่ง มี อาคาร ไวทเฮาซเทาเออ เพียง สิ่ง เดียว ทำให้ เจ้าหนี้ อื่น และ โจทก์ เสียเปรียบ ไม่สามารถ ที่ จะ รับชำระหนี้ จากจำเลย ที่ 1 ได้ ขอให้ เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ระหว่างจำเลย ทั้ง สอง ใน คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 11523/2530 หมายเลขแดงที่ 10450/2530 ของ ศาลชั้นต้น และ ห้าม จำเลย ที่ 2 นำ ผล ของสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ไป ใช้ บังคับ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น หนี้ โจทก์โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ศาล พิพากษาตามยอม แล้ว เพราะ หนี้ ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มี อยู่ จริงจำเลย ที่ 1 ตกลง ชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ตาม สัญญา ประนีประนอมยอมความ อาคาร ไวทเฮาซเทาเออ ได้ จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกันหนี้ แก่ จำเลย ที่ 2 อยู่ ก่อน แล้ว การ บังคับจำนอง เพื่อ ขายทอดตลาด อาคารดังกล่าว ไม่ทำ ให้ โจทก์ เสียเปรียบ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ อาคาร ไวทเฮาซเทาเออ เป็น ทรัพย์ ที่ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกัน การ ชำระหนี้ แก่ จำเลย ที่ 2 โจทก์ เป็น เพียง เจ้าหนี้ สามัญ ย่อม ไม่อาจบังคับ ชำระหนี้ จาก ทรัพย์ จำนอง ได้ ก่อน จำเลย ที่ 2 โจทก์ มิได้เสียเปรียบ แต่อย่างใด เพราะ จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ จำเลย ที่ 2 จริงสัญญา ประนีประนอม ยอมความ นั้น ตรง ตาม เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 เพราะจำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ จำเลย ที่ 2 และ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา จริง หาก เนิ่นช้าไป จำเลย ที่ 1 จะ เสียหาย มาก ขึ้น เนื่องจาก ต้อง เสีย ดอกเบี้ย แก่จำเลย ที่ 2 เป็น เงิน วัน ละ ประมาณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ไป แล้ว โจทก์ ฟ้อง เพิกถอน คำพิพากษา ไม่ได้จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ว่าจ้าง โจทก์ ตาม ฟ้อง โจทก์ กับพวก กระทำการโดย ไม่สุจริต ขอให้ ยกฟ้อง
ใน ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 1เด็ดขาด ตาม คดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 345/2533 โจทก์ ขอให้จำหน่ายคดี จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้น จำหน่ายคดี สำหรับ จำเลย ที่ 1ตาม คำขอ ของ โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน สัญญาประนีประนอม ยอมความ ระหว่าง จำเลย ทั้ง สอง ที่ ทำ ต่อหน้า ศาลชั้นต้นเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน 2530 อ้างว่า นิติกรรม ดังกล่าว เป็น การ ฉ้อฉลทำให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 คนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหนี้ อื่น ของ จำเลย ที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่ง เป็น การ ใช้ สิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 การ เพิกถอน การ ฉ้อฉล ดังกล่าวโจทก์ จะ ต้อง ฟ้อง คู่กรณี ทั้ง สอง ฝ่าย ที่ ทำนิติกรรม นั้น ศาล จึง จะบังคับ ตาม คำขอ ของ โจทก์ ได้ เพราะ หาก ศาล พิพากษา ให้ เพิกถอน นิติกรรมตาม คำขอ ของ โจทก์ ย่อม จะ มีผล กระทบ ถึง คู่กรณี โจทก์ จะ ฟ้อง คู่กรณีที่ ทำนิติกรรม ที่ ขอให้ เพิกถอน คนใด คนหนึ่ง โดย ไม่ฟ้อง คู่กรณีอีก คนหนึ่ง ไม่ได้ เพราะ ผล ของ คำพิพากษา ไม่อาจ บังคับ บุคคล นอก คดีการ ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง แล้ว โจทก์ ขอให้ ศาลชั้นต้น สั่งจำหน่ายคดี สำหรับ จำเลย ที่ 1 ออก เสีย จาก สารบบความ มีผล ให้ จำเลย ที่ 1พ้น จาก การ ที่ ต้อง ถูก บังคับ ตาม คำพิพากษา ศาล ไม่อาจ พิจารณา พิพากษาตาม คำขอ ของ โจทก์ เพราะ จะ มีผล กระทบ ไป ถึง จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก คดี ได้ และ ปัญหา นี้ เป็น ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา ยกขึ้น วินิจฉัย เอง ได้ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ รับ วินิจฉัย คดี ให้ นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ใน ส่วน นี้ คง เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ของ คดี ที่ ให้ยก ฟ้อง
พิพากษายืน