แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์จึงได้ทำหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้จะระบุว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้แต่ข้อความในหนังสือระบุว่าตามที่จำเลยที่1ได้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์นั้นจำเลยที่1ได้คืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ในสภาพเสียหายจึงยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน16,350บาทให้แก่โจทก์โดยผ่อนชำระเป็นงวดๆอันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามข้อตกลงใหม่แห่งหนังสือดังกล่าวนั่นเองจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไปและได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นตามมาตรา852เมื่อจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อตามมูลหนี้เดิมไม่ได้ตกลงในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2534 จำเลย ที่ 1ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ จาก โจทก์ ใน ราคา 83,250 บาท ชำระเป็น งวด รวม 30 งวด งวด ละ เดือน เดือน ละ 2,775 บาทเริ่ม ชำระ งวด แรก วันที่ 10 สิงหาคม 2534 งวด ต่อไป ทุกวัน ที่ 10ของ เดือน ถัด ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาค้ำประกันการ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 โดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วม ต่อมาวันที่ 14 ตุลาคม 2535 จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ และ ส่ง คืนรถจักรยานยนต์ ที่ เช่าซื้อ แก่ โจทก์ โดย ยินยอม ชดใช้ ค่าเสียหายเป็น เงิน 16,350 บาท ชำระ ครั้งแรก วันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 เป็น เงิน1,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ ชำระ เป็น งวด งวด ละ เดือน เดือน ละ 1,000 บาททุกวัน ที่ 4 ของ เดือน ถัด ไป จนกว่า จะ ครบ หาก ผิดนัด งวด ใด งวด หนึ่งถือว่า ผิดนัด ทั้งหมด ยอม ให้ โจทก์ บังคับคดี ได้ ทันที พร้อม ทั้ง ยอม เสียดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ใน จำนวนเงิน ที่ ค้างชำระ นับแต่วัน ผิดนัด จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ จำเลย ที่ 1 ผิดนัด ไม่ชำระ เงิน แก่ โจทก์ตาม สัญญา รับสภาพหนี้ จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะผู้ค้ำประกัน จึง ต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ ด้วย ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 16,881.40 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 16,350 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ขาดนัด ยื่นคำให้การ จำเลย ที่ 1 ไม่สืบ พยานจำเลย ที่ 2 ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงินจำนวน 16,881.40 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 16,350 บาท นับแต่ วันฟ้อง (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2536)สำหรับ จำเลย ที่ 2 ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า จำเลย ที่ 1ได้ เช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ ไป จาก โจทก์ โดย มี จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ค้ำประกัน ต่อมา จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ค่าเช่าซื้อ ตาม สัญญา และ นำ รถจักรยานยนต์ คัน ที่ เช่าซื้อ มา คืน โจทก์ ใน สภาพ เสียหาย กับ ได้ ทำ หนังสือตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ยอม ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ คดี มี ปัญหา ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา ข้อกฎหมาย ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกันต้อง ร่วมรับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว แก่ โจทก์ หรือไม่ เห็นว่าการ ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ หนังสือ ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ให้ แก่ โจทก์มิใช่ เป็น เพียง การ ตกลง ใน การ ชำระหนี้ โดย การ เปลี่ยนแปลง กำหนด เวลาชำระหนี้ ตาม สัญญาเช่าซื้อ เดิม เท่านั้น แม้ จะ ระบุ ว่า เป็น หนังสือรับสภาพหนี้ แต่ ข้อความ ใน หนังสือ ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 มี ข้อความระบุ ด้วย ว่า ตาม ที่ จำเลย ได้ เช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ ไป จาก โจทก์ นั้นจำเลย ได้ คืน รถจักรยานยนต์ ที่ เช่าซื้อ ให้ แก่ โจทก์ ใน สภาพ เสียหายจึง ยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 16,340 บาท ให้ แก่ โจทก์ โดย ผ่อนชำระเป็น งวด ๆ อันเป็น การ ตกลง ระงับ ข้อพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มี อยู่ ตาม สัญญาเช่าซื้อ เดิม ให้ เสร็จ ไป ด้วย ต่าง ยอม ผ่อนผันให้ แก่ กัน ตาม ข้อตกลง ใหม่ แห่ง เอกสาร หมาย จ. 6 นั่นเอง ดังนั้นข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 จึง เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ ผล ของ สัญญาประนีประนอม ยอมความ ย่อม ทำให้ การ เรียกร้อง ซึ่ง แต่ละ ฝ่ายได้ ยอม สละ ระงับ สิ้นไป และ ทำให้ แต่ละ ฝ่าย ได้ สิทธิ ตาม ที่ แสดง ใน สัญญานั้น ว่า เป็น ของ ตน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังนั้นสิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ตาม สัญญาเช่าซื้อ เดิม จึง ระงับ ไป และ ได้ สิทธิเรียกร้อง ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เอกสาร หมาย จ. 6 เมื่อจำเลย ที่ 2 ผู้ค้ำประกัน สัญญาเช่าซื้อ ตาม มูลหนี้เดิม ไม่ได้ ตกลง ในการ ทำ บันทึก ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิดศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน