คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ คำรับสารภาพของจำเลยทั้งใน ชั้นจับกุมและ ชั้นสอบสวนจะเป็น พยานบอกเล่าที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพียงนำไปฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ก็ตามแต่ คำเบิกความพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ที่ว่าพยานเป็นผู้สอบสวนจำเลยและจำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นคำเบิกความของ ประจักษ์พยานในข้อที่ว่ามีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคนใดและจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่าอย่างไร พนักงานสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ไปตามอำนาจหน้าที่โดยไม่มีส่วนได้เสียกับคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดและไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อนข้อระแวงเรื่องจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยย่อมไม่มีทั้งคำเบิกความของพยานดังกล่าวที่เกี่ยวกับการสอบสวนจำเลยก็ไม่มีพิรุธที่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่ชอบรูปคดีเชื่อได้ว่าจำเลยได้ ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน โดยสมัครใจตามความจริง แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยและพวกแต่เมื่อฟังคำเบิกความของพนักงานสอบสวนกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนประกอบกันเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกทำการลักรถยนต์ของผู้เสียหายไปจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2536 เวลา กลางวันจำเลย กับพวก อีก หลาย คน ที่ หลบหนี ร่วมกัน ลัก รถยนต์ หมายเลข ทะเบียนท-2436 นครราชสีมา ราคา 394,200 บาท ของ บริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่ง อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ นาย เจน วิสุทธะนะ ผู้เสียหาย พร้อม ด้วย เครื่องปรับอากาศ และ วิทยุ ติด รถยนต์ ราคา 50,000 บาท ของ ผู้เสียหายรวม ราคา ทรัพย์ ทั้งสิ้น 444,200 บาท ไป โดยทุจริต โดย ใช้ รถยนต์เป็น ยานพาหนะ เพื่อ สะดวก แก่ การกระทำ ผิด และ เพื่อ ให้ พ้น จาก การ จับกุมเหตุ เกิด ที่ ตำบล พญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา จำเลย เป็น บุคคล คนเดียว กับ จำเลย ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 847/2536 และจำเลย ที่ 4 ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 849/2536 ของ ศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 336 ทวิ , 83 โดย ให้ นับ โทษจำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 847/2536 และ 849/2536 กับ ให้จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ จำนวน 444,200 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ แต่ รับ ว่า เป็น บุคคล คนเดียว กับ จำเลย ใน คดี ที่โจทก์ ขอให้ นับ โทษ ต่อ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคสอง , 336 ทวิ จำคุก 4 ปีจำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก 2 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ จำนวน 444,200 บาทแก่ ผู้เสียหาย และ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ ใน คดีอาญา หมายเลขแดงที่ 632/2537 ของ ศาลชั้นต้น ส่วน ที่ โจทก์ ขอให้ นับ โทษ จำเลย ต่อ จากโทษ จำเลย ที่ 4 ใน คดีอาญา หมายเลขดำ ที่ 849/2536 ของ ศาลชั้นต้น นั้นเนื่องจาก คดี ดังกล่าว ศาล ยัง มิได้ มี คำพิพากษา จึง ไม่อาจ นับ โทษ ต่อ ได้ให้ยก คำขอ ส่วน นี้ เสีย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้นฟังได้ ว่า เมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2536 มี คนร้าย ลัก รถยนต์กระบะยี่ห้อ นิสสัน สี เขียว คัน หมายเลข ทะเบียน ผ-2436 นครราชสีมา ที่นาย เจน วิสุทธะนะ ผู้เสียหาย เช่าซื้อ มาจาก บริษัท สยามกลการ จำกัด ไป ต่อมา ใน เดือน พฤษภาคม 2536 เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับ จำเลยกับพวก อีก หลาย คน ได้ ใน ข้อหา ความผิด ฐาน ร่วมกัน ลัก รถยนต์ ใน คดี อื่นจำเลย ให้การ ใน คดี นั้น ว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวก ที่ ถูกจับ ใน คราว เดียว กันทำการ ลัก รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ไป จาก ลานจอดรถ ของ สนาม ชนไก่ ผ่าน ศึกตำบล พญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา พนักงานสอบสวน จึง ทำการ สอบสวน และ ให้ จำเลย นำ ชี้ ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำรับสารภาพและ ถ่าย ภาพ การ นำ ชี้ ของ จำเลย ไว้ คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ ว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวก กระทำ ความผิด ฐาน ลัก รถยนต์ ของผู้เสียหาย คัน ที่ โจทก์ ฟ้อง หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ ไม่มีประจักษ์พยาน รู้เห็น เหตุการณ์ ตอน คนร้าย ร่วมกัน ทำการ ลัก รถยนต์ของ ผู้เสียหาย ไป ก็ ตาม แต่ โจทก์ ก็ มี ร้อยตำรวจเอก ชำนาญ ภูมิเนาว์นิล กับ พันตำรวจโท พรเทพ เพชรคง ซึ่ง เป็น ผู้ ร่วม สอบสวน คดี นี้ ด้วยกัน เบิกความ เป็น พยานโจทก์ สอดคล้อง ต้อง กัน ว่า เมื่อ จำเลย ถูกจับ ใน คดี อื่นพร้อม กับพวก อีก หลาย คน ฐาน ร่วมกัน ลัก รถยนต์ ราย อื่น ซึ่ง เกิดขึ้นใน ท้องที่เกิดเหตุ คดี นี้ เช่นกัน ใน ชั้น แรก จำเลย กับพวก ให้การรับสารภาพ ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ผู้จับกุม ว่า จำเลย กับพวก ได้ ร่วมกันลัก รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย คดี นี้ ไป ใน วันเกิดเหตุ เจ้าพนักงาน ตำรวจผู้จับกุม จึง ส่งตัว จำเลย ให้ พยาน ทั้ง สอง ใน ฐานะ พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวน ชั้นสอบสวน จำเลย ก็ ยัง คง ให้การรับสารภาพ ว่า เมื่อ วันที่4 เมษายน 2536 เวลา ประมาณ 22 นาฬิกา จำเลย พร้อม ด้วย พวก อีก2 คน ขับ รถยนต์กระบะ ไป ตาม ถนน สาย ลำนารายณ์-ชัยภูมิ เพื่อ ตระเวน หารถยนต์ที่ จะ ลัก จน กระทั่ง วันที่ 5 เมษายน 2536 เวลา 11 นาฬิกาจำเลย กับพวก พบ รถยนต์ หลาย คัน จอด อยู่ ที่ ลานจอดรถ ของ สนาม ชนไก่ที่เกิดเหตุ โดย ไม่มี ยาม เฝ้า จำเลย จึง คอย ดู ต้น ทาง ให้ พวก ของ จำเลยเข้า ไป ลัก รถยนต์ คัน ของ ผู้เสียหาย มา แล้ว ขับ พา หนี ไป ด้วยกัน จาก นั้นก็ มี คน มา รับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป ขาย ที่ ประเทศ กัมพูชา อีก ต่อ หนึ่ง จำเลย กับ พวก ก็ จะ ได้รับ เงิน ส่วนแบ่ง ค่า รถ ที่ ลัก มา ได้ คำรับสารภาพของ จำเลย ดังกล่าว พนักงานสอบสวน ได้ บันทึก ไว้ และ ได้ ให้ จำเลย นำ ชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำรับสารภาพ รวมทั้ง ถ่าย ภาพ การ นำ ชี้ ของ จำเลย ไว้ ด้วยปรากฏ ตาม บันทึก คำให้การ ของ ผู้ต้องหา และ บันทึก การ นำ ชี้ ที่เกิดเหตุประกอบ คำรับสารภาพ เอกสาร หมาย จ. 8 จ. 11 กับ ภาพถ่าย หมาย จ. 12แม้ คำรับสารภาพ ของ จำเลย ทั้ง ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน จะ เป็นพยานบอกเล่า ที่ ใช้ เป็น พยานหลักฐาน ได้ เพียง นำ ไป ฟัง ประกอบ กับพยานหลักฐาน อื่น ของ โจทก์ ก็ ตาม แต่ คำเบิกความ ของ ร้อยตำรวจเอก ชำนาญ และ ของ พันตำรวจโท พรเทพ พนักงานสอบสวน ทั้ง สอง ที่ ว่า พยาน ทั้ง สอง เป็น ผู้ ร่วม สอบสวน จำเลย และ จำเลย ได้ ให้การรับสารภาพ ใน ชั้นสอบสวนมี การ จัด ให้ จำเลย นำ ชี้ ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำรับสารภาพ และ ถ่าย ภาพ ไว้เป็น คำเบิกความ ของ ประจักษ์พยาน ใน ข้อ ที่ ว่าคดี นี้ มี การ สอบสวน โดยพนักงานสอบสวน คนใด และ จำเลย ให้การ ชั้นสอบสวน ว่า อย่างไร เมื่อ คำนึง ถึงว่า พนักงานสอบสวน ทั้ง สอง เป็น เจ้าพนักงาน ของรัฐ ปฏิบัติ หน้าที่ใน ฐานะ เป็น พนักงานสอบสวน ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ โดย ไม่มี ส่วนได้เสียกับ คู่กรณี ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด และ ความ ไม่ปรากฏ ว่า พนักงานสอบสวน ทั้ง สองมี สาเหตุ โกรธเคือง กับ จำเลย มา ก่อน ข้อ ระแวง เรื่อง ที่ พยานโจทก์ ทั้ง สองจะ แกล้ง เบิกความ ปรักปรำ จำเลย ย่อม ไม่มี ทั้ง คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ทั้ง สอง ที่ เกี่ยวกับ การ สอบสวน จำเลย ก็ ไม่มี พิรุธ ที่ ทำให้ ไม่ น่าเชื่อว่า พนักงานสอบสวน ทั้ง สอง ทำการ สอบสวน โดย ไม่ชอบ แต่อย่างใด ข้อ นำสืบของ จำเลย ที่ ว่า ใน ชั้นสอบสวน จำเลย ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทำร้ายร่างกายบังคับ ให้ รับสารภาพ และ ถูก บังคับ ให้ นำ ชี้ ที่เกิดเหตุ ตาม ที่เจ้าพนักงาน ตำรวจ บอก ให้ ชี้ และ แสดง ท่าทาง นั้น เป็น ข้อ นำสืบ ที่เลื่อนลอย ปราศจาก พยานหลักฐาน สนับสนุน จึง รับฟัง เป็น ความจริง ไม่ได้รูปคดี เชื่อ ได้ว่า จำเลย ได้ ให้การรับสารภาพ ทั้ง ใน ชั้น จับกุม และใน ชั้นสอบสวน ตาม ความจริง ดัง จะ เห็น ได้ว่า จำเลย ได้ ให้ รายละเอียดต่าง ๆ ใน การ ร่วม กระทำ ความผิด กับพวก ตาม ที่ ปรากฏ ใน บันทึก คำให้การของ ผู้ต้องหา และ บันทึก การ นำ ชี้ ที่เกิดเหตุ ประกอบ คำรับสารภาพเอกสาร หมาย จ. 8 กับ จ. 11 รวมทั้ง ที่ ปรากฏ ใน ภาพถ่าย หมาย จ. 12ไว้ อย่าง ละเอียด เป็น ขั้น เป็น ตอน มีเหตุ มีผล ต่อเนื่อง เชื่อม โยง กันควร แก่ การ เชื่อถือ เมื่อ ฟัง ว่า จำเลย ให้การรับสารภาพ ทั้ง ใน ชั้น จับกุมและ ใน ชั้นสอบสวน โดย ความสมัครใจ แล้ว แม้ โจทก์ จะ ไม่มี ประจักษ์พยานรู้เห็น การกระทำ ความผิด ของ จำเลย และ พวก ก็ ตาม แต่เมื่อ ฟัง คำเบิกความของ พนักงานสอบสวน ทั้ง สอง กับ คำให้การ รับสารภาพ ของ จำเลย ใน ชั้นสอบสวนประกอบ กัน แล้ว เชื่อ ได้ โดย ปราศจาก ข้อสงสัย ว่า จำเลย ได้ ร่วม กับพวกทำการ ลัก รถยนต์ ของ ผู้เสียหาย ไป จริง จำเลย จึง มี ความผิด ตาม ฟ้องที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก ฟ้อง ของ โจทก์ เสีย นั้น ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share