แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีก่อนกับคดีนี้แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใดเท่าใดดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาทกับขอให้ขับไล่จำเลยที่7และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดกแต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750วรรคหนึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถาเว้นแต่ ให้ ชำระ ค่าขึ้นศาล จำนวน 3,500 บาท และ ค่า อ้าง สำเนา คำพิพากษาศาลฎีกา เอกสาร หมาย จ. 1 โจทก์ ทั้ง เจ็ด กับ จำเลย ที่ 7 และ นาง โทรม เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย หมัด สอนเขียว และ นาง หนับ นาง หนับ เป็น บุตร คนเดียว ของ นาย หมัดและนางแมะ ต่อมา นาย หมัด ได้ นาง ติยะหรือแมะ เป็น ภริยา อีก คนหนึ่ง มี บุตร ด้วยกัน 5 คน คือ นาง เฟาะ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และ นาย ชู นาย ชู มี บุตร 1 คน คือ จำเลย ที่ 2 ส่วน จำเลย ที่ 6 เป็น บุตร ของ นาง เฟาะ ขณะที่ นาย หมัด อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา กับ นาง แมะหรือสะแน ภริยา คน แรก ได้ มี ที่ดิน อันเป็น สินสมรส อยู่ 1 แปลง โฉนด ที่ 1969 เนื้อที่ 42 ไร่2 งาน 50 ตารางวา เมื่อ นาง แมะ ถึงแก่ความตาย ที่ดิน ดังกล่าว ถูก แบ่ง ออก เป็น ส่วน ๆ ตาม กฎหมาย นาง หนับ ได้ ร่วม กับ นาย หมัด สามี ครอบครอง ทำกิน ใน ที่ดิน แปลง นี้ ตลอดมา จน กระทั่ง โจทก์ ทั้ง เจ็ดได้ ฟ้อง ขอ แบ่ง มรดก จาก จำเลย ทั้ง เจ็ด ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 49/2512ของ ศาลชั้นต้น และ คดีถึงที่สุด โดย ศาลฎีกา พิพากษา ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ดได้ กรรมสิทธิ์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ หลังจาก นั้น ทายาทโดยธรรม ของจำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 ไม่ยอม ไป ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ โดย การ ลงชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ที่ 1969 เนื้อที่ จำนวน6 ไร่ และ จำเลย ที่ 7 ได้ นำ บริวาร ของ ตน บุกรุก เข้า มา ใน ที่ดินเฉพาะ ส่วน ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง อันเป็น การกระทำ ละเมิด ทำให้โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ ทายาทโดยธรรม ของจำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 7 จดทะเบียน ลงชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ดใน โฉนด ที่ 1969 เป็น เนื้อที่ จำนวน 6 ไร่ หาก ไม่ไป ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา และ ให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 7 พร้อม บริวารออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ดังกล่าว
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด เคย ฟ้อง นาง ติยะหรือแมะ นาย ชู นางบู นางแมะ นางมาะ นางทับทิม และนายศิริ เป็น จำเลย ต่อ ศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 49/2512 เพื่อ ขอให้ แบ่ง ที่ดินโฉนด ที่ 1969 ศาลฎีกา พิพากษายก ฟ้อง แม้ ศาลฎีกา จะ วินิจฉัย ว่าโจทก์ คง ได้ ที่ดิน เท่าที่ โจทก์ ครอบครอง อยู่ จำนวน 6 ไร่ ก็ เป็น เพียงคำวินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท นี้ (เนื้อที่ 6 ไร่ ) ได้ มี การ แบ่งปัน กันใน ระหว่าง ทายาท ต่าง ฝ่าย ต่าง ได้ เข้า ครอบครอง เป็น ส่วนสัด แล้วกรณี หาใช่ ว่า ศาลฎีกา ได้ มี คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ดได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน จำนวน 6 ไร่ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ไม่จำเลย ทั้ง เจ็ด ไม่จำต้อง ดำเนินการ เปลี่ยนแปลง กรรมสิทธิ์ โดย การ ลงชื่อโจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ดังกล่าว จำเลย ที่ 7 ได้ เข้า ครอบครอง และทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท เรื่อย มา ใน ฐานะ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์จน ถึง ปัจจุบัน โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 ได้ ขอ อาศัย อยู่ ใน ที่ดินพิพาทจาก จำเลย ที่ 7 เนื่องจาก ไม่มี ที่อยู่อาศัย โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่มี สิทธิฟ้องขับไล่ จำเลย ที่ 7 และ บริวาร โจทก์ ทั้ง เจ็ด เคย ฟ้อง จำเลย ใน คดี เดิมบางคน และ ผู้ถือ สิทธิ (ทายาท ) ของ จำเลย ใน คดี เดิม บางคน ซึ่งถึงแก่ความตาย ไป แล้ว จึง เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 49/2512ของ ศาลชั้นต้น ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ไป จดทะเบียนใส่ ชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ลง ใน โฉนด ที่ 1969 หาก จำเลย ทั้ง เจ็ด ไม่ไปให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ให้ จำเลย ที่ 7 และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน ดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด กับ ให้ จำเลยทั้ง เจ็ด ร่วมกัน ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ3,000 บาท
จำเลย ทั้ง เจ็ด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง เจ็ด ให้ โจทก์ทั้ง เจ็ด ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สอง ศาล แทน จำเลย ทั้ง เจ็ด โดย กำหนดค่า ทนายความ รวม 3,000 บาท
ก่อน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด โจทก์ ที่ 6ถึงแก่กรรม นาง ฮานีฟะ สอนเขียว ทายาท ของ โจทก์ ที่ 6 ยื่น คำร้อง ขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ฎีกา อย่าง คนอนาถา โดย ให้ชำระ ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา จำนวน 3,500 บาท
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ จำเลย ที่ 7 เป็น บุตร ของ นาย หมัด สอนเขียว และ นาง หนับ นางหนับ เป็น บุตร ของ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ และ นาง แมะ โพธิ์โซ๊ะหรือสะแน เมื่อ นาง แมะ โพธิ์โซ๊ะหรือสะแน ถึงแก่ความตาย แล้ว นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ได้ นาง ติยะหรือแมะ โพธิ์โซ๊ะ เป็น ภริยา อีก คนหนึ่ง มี บุตร ด้วยกัน 5 คน คือ นาง เฟาะ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 5 และ นาย ชู นาย ชู ถึงแก่ความตาย แล้ว จำเลย ที่ 2 เป็น บุตร นาย ชู ส่วน จำเลย ที่ 6 เป็น บุตร นาง เฟาะ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ถึงแก่ความตาย มี ทรัพย์มรดก คือ ที่ดิน ตาม โฉนด ที่ 1969 ตำบล คู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ตาม สำเนา โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 2 ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด ที่ 1969 ตาม แผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย จ. 4
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ว่า ฟ้อง ของโจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 49/2512ของ ศาลชั้นต้น หรือไม่ ได้ความ ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด เคย ฟ้อง จำเลย ทั้ง เจ็ดว่า ที่ดิน โฉนด ที่ 1969 ตั้ง อยู่ แขวง คู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 42 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา เป็น มรดก ของนาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ตกทอด ได้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา เศษ ขอให้ บังคับ ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด แบ่ง ที่ดิน ดังกล่าวให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 49/2512 ของ ศาลชั้นต้นคดีถึงที่สุด โดย ศาลฎีกา วินิจฉัย สรุป ได้ว่า เมื่อ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ตาย แล้ว บรรดา ทายาท ต่าง ได้ เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท เป็น ส่วนสัดที่ดิน นอกนั้น ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด เป็น ผู้ครอบครอง โจทก์ ทั้ง เจ็ดฟ้องคดี เมื่อ นาย หมัด โพธิ์โซ๊ะ ตาย เกินกว่า 1 ปี ที่ดิน มรดก นอกจาก ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง จึง ขาดอายุความ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1754 โจทก์ ทั้ง เจ็ด คง ได้ เท่าที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ดครอบครอง อยู่ ใน จำนวน 6 ไร่ นั้น พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ที่ ให้ยก ฟ้อง ตาม สำเนา คำพิพากษา ศาลฎีกา เอกสาร หมาย จ. 1 หรือ ล. 4โจทก์ ทั้ง เจ็ด ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล ออกคำบังคับ ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ดแบ่ง ที่ดิน จำนวน 6 ไร่ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ศาลชั้นต้น มี คำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา พิพากษายืน ตาม สำเนา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา เอกสาร หมาย ล. 5 และ ล. 6 เห็นว่า แม้ ใน คดี ก่อนกับ คดี นี้ จะ เป็น คู่ความ ราย เดียว กัน แต่ ใน คดี ก่อน ประเด็น ที่ ว่าโจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ขอให้ แบ่ง ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่ หรือไม่ศาลฎีกา พิพากษายก ฟ้อง โดย ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิที่ จะ เรียกร้อง ให้ ฝ่าย จำเลย ทั้ง เจ็ด แบ่ง ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่อันเป็น ที่ดิน บางส่วน ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ได้ หรือไม่ คง วินิจฉัยไว้ แต่เพียง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ได้ ที่ดินพิพาท ใน คดี ก่อน เพียงใดเท่าใด โจทก์ ทั้ง เจ็ด ก็ ได้ ดำเนินการ ขอให้ บังคับคดี ใน ส่วน ของ ตนตาม คำวินิจฉัย ของ ศาลฎีกา แล้ว แต่ ศาล ก็ ไม่อาจ ออกคำบังคับ ให้ ได้ดังนั้น ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน คดี นี้ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ดจดทะเบียน ลงชื่อ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ที่ 1969 เนื้อที่ 6 ไร่อันเป็น ที่ดินพิพาท กับ ขอให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 7 และ บริวาร ออก ไป จากที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ดังกล่าว จึง ไม่ใช่ ประเด็น ที่ ศาล วินิจฉัย แล้วอัน จะ เป็น การ ต้องห้าม มิให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด นำ มา ฟ้อง จำเลย ทั้ง เจ็ด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ปัญหา ที่ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง ที่ดินพิพาท จน ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม กฎหมายแล้ว หรือไม่ และ จำเลย ที่ 7 กระทำ ละเมิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ นั้นศาลอุทธรณ์ ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ไป ทีเดียวโดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่
ปัญหา ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่ใน ข้อ นี้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขาดอายุความแล้ว เนื่องจาก โจทก์ ฟ้องคดี เกินกว่า 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดกนาย (หมัด โพธิ์โซ๊ะ) ถึงแก่ความตาย เพราะ คดี สืบเนื่อง มาจาก การ ฟ้อง ขอ แบ่ง มรดก ใน คดี เดิม และ เป็น ทรัพย์สิน พิพาท อัน เดียว กัน เห็นว่าโจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาทโดย การ ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 6 ไร่ แม้ ที่ดินพิพาทจะ เป็น ทรัพย์มรดก แต่ ก็ เป็น ทรัพย์มรดก ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ผู้เป็น ทายาทได้ มา โดย การ เข้า ครอบครอง เป็น ส่วนสัด แล้ว ซึ่ง เป็น การ แบ่งปันทรัพย์มรดก อย่างหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ ทั้ง เจ็ด ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ด ลงชื่อโจทก์ ทั้ง เจ็ด ใน โฉนด ที่ 1969 จึง มิใช่ เป็น การ ฟ้องคดี มรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ดไม่ขาดอายุความ
ปัญหา ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง ที่ดินพิพาท จน ได้ กรรมสิทธิ์ตาม กฎหมาย แล้ว หรือไม่ และ จำเลย ที่ 7 กระทำ ละเมิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ศาลฎีกา วินิจฉัย แล้ว ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ดมี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ทั้ง เจ็ด ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าโจทก์ ทั้ง เจ็ด ครอบครอง ที่ดินพิพาท ของ ตน ตลอดมา นับแต่ มี การ แบ่งปัน มรดกโดย ทายาท ต่าง เข้า ครอบครอง ทรัพย์สิน เป็น ส่วนสัด โจทก์ ทั้ง เจ็ดจึง มีสิทธิ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ด ไป จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ทั้ง เจ็ด ร่วม ใน โฉนด เลขที่ 1969 ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 7 กระทำ ละเมิดตาม ฟ้อง หรือไม่ ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 7 กับ บริวาร มี นาย มูเราะ และ นาย แดง บุตรเขย จำเลย ที่ 7 ได้ เข้า มา ปลูก บ้าน อยู่ ใน ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้ บอกกล่าว ให้ ออก ไป แล้ว ตาม หนังสือขอให้ ออกจาก ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 5 แต่ จำเลย ที่ 7 และ บริวาร ไม่ยอมออก ไป การ อยู่ ใน ที่ดินพิพาท ต่อมา จึง เป็น การ อยู่ โดย ละเมิด ต่อโจทก์ ทั้ง เจ็ด โจทก์ ทั้ง เจ็ด มีสิทธิ ฟ้อง ขอให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง เจ็ดและ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ได้
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ จำเลยทั้ง เจ็ด ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล แทน โจทก์ ทั้ง เจ็ด โดย กำหนดค่า ทนายความ รวม 12,000 บาท เฉพาะ ค่าธรรมเนียมศาล ใน ส่วน ที่โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา ใน ศาลชั้นต้นและ ศาลฎีกา ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ชำระ ต่อ ศาล ใน นาม ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ดผู้ ฟ้องคดี และ ฎีกา อย่าง คนอนาถา