แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
จำเลยกอ่สร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42เมื่ออาคารพิพาทได้ก่อสร้างเสร็จแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง.เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้นแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทเกิน30วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะต้องรื้อถอนอาคารดังกล่าว.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ตาม พระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 เมื่อ วันที่ 21 สิงหาคม 2522 เจ้าหน้าที่ ของโจทก์ ตรวจพบ จำเลย ปลูกสร้าง อาคาร ตึก 1 ชั้น ขนาด กว้าง 3.50 -4.10 เมตร ยาว 15 เมตร ด้านหน้า อาคาร มี ที่ว่าง 2.65 เมตร ด้านหลังอาคาร มี ช่องระบาย อากาศ บานเกล็ด ห่าง ที่ดิน บุคคล อื่น 50 เซนติเมตร โดย มิได้ รับอนุญาต จาก โจทก์ อัน เป็น การ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และ ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุม การก่อสร้างอาคาร การ ปลูกสร้าง อาคาร ดังกล่าว ไม่อาจ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ถูกต้อง ได้ วันที่ 7 กันยายน 2522 หัวหน้าเขต พญาไท ปฏิบัติ ราชการแทน โจทก์ ได้ สั่ง ให้ จำเลย ระงับ การ ก่อสร้าง จำเลย ได้ รับ คำสั่งแล้ว ไม่ ปฏิบัติ ตาม โจทก์ ร้องทุกข์ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ให้ ดำเนินคดีอาญา จำเลย ให้การ รับสารภาพ พนักงาน สอบสวน ได้ เปรียบเทียบ ปรับ จำเลยเป็น เงิน 5,000 บาท โจทก์ มี คำสั่ง ให้ จำเลย รื้อถอน ภายใน 30 วันจำเลย ไม่ อุทธรณ์ คำสั่ง แต่ ก็ ไม่ รื้อถอน อาคาร ขอ ให้ จำเลยรื้อถอน อาคาร ดังกล่าว ถ้า จำเลย ไม่ รื้อถอน ให้ โจทก์ รื้อถอน เองโดย จำเลย เสีย ค่าใช้จ่าย
จำเลย ให้การ ว่า สิ่งปลูกสร้าง ตาม ฟ้อง ก่อสร้าง ขึ้น ก่อน ใช้พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะ นำ กฎหมาย ดังกล่าว มา ใช้บังคับ ย้อนหลัง ให้ เป็น โทษ แก่ ประชาชน หา ชอบ ไม่ เจ้าหน้าที่ เขตพญาไท ทำ หนังสือ ให้ จำเลย ระงับ การ ก่อสร้าง ฝ่าฝืน ความจริง เพราะขณะนั้น การ ก่อสร้าง เสร็จ ไป หลาย ปี แล้ว จึง ไม่อาจ ระงับ การก่อสร้าง ได้ สิ่งปลูกสร้าง ไม่ มี ลักษณะ เป็น อาคาร ที่ จะ ต้อง มีที่ว่าง ด้านหน้า ด้านหลัง ดัง ฟ้อง และ สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ไม่ ใช่ของ จำเลย จำเลย ไม่ มี สิทธิ ที่ จะ รื้อถอน อาคาร พิพาท สร้าง ด้วยวัสดุ ที่ แข็งแรง ไม่ กีดขวาง หรือ รุกล้ำ ทางสาธารณะ ไม่ มี ส่วนใดจะ เป็น ภยันตราย ต่อ ทรัพย์สิน ชีวิต หรือ ร่างกาย ของ ผู้อื่น โจทก์ขอ ให้ รื้อ ไม่ ได้ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร พิพาท ถ้าจำเลย ไม่ ยอม รื้อ ก็ ให้ โจทก์ รื้อถอน ได้ เอง โดย ให้ จำเลย เสียค่าใช้จ่าย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่น สั่ง ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร พิพาท เกิน 30 วัน นับแต่ วันที่ ได้ มี คำสั่ง ให้ ระงับ การ ก่อสร้าง เป็น การ ไม่ ชอบ ด้วยพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสอง นั้น เมื่อข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า ขณะที่ นาย สมชาย พยานโจทก์ ตรวจพบ อาคาร พิพาท อาคาร พิพาท ได้ ก่อสร้าง เสร็จแล้ว จึง ล่วงเลย เวลา ที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะ มี คำสั่ง ให้ ระงับ การ ก่อสร้าง เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นไม่ จำต้อง มี คำสั่ง ดังกล่าว ฉะนั้น แม้ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น จะ สั่งให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร พิพาท เกิน 30 วัน นับแต่ วันที่ ได้ มีคำสั่ง ให้ ระงับ การ ก่อสร้าง ก็ ไม่ ทำ ให้ จำเลย พ้น ความ รับผิด ที่จะ ต้อง รื้อถอน อาคาร ที่ ก่อสร้าง โดย ไม่ ได้ รับอนุญาต และ ไม่สามารถ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้อง ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42
พิพากษา ยืน.