แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่1ที่สั่งเพิกถอนโฉนดเลขที่12046ของโจทก์และการออกใบแทนโฉนดที่ดินที่จำเลยที่2กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่1เป็นการมิชอบและห้ามจำเลยที่3เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ด้วยนั้นแม้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1และที่2จะมีลักษณะเหมือนกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่ย่อมเห็นได้ว่าหากมีการเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่1จะมีผลให้โจทก์ได้รับที่ดินที่ถูกเพิกถอนกลับคืนมาเป็นของโจทก์และโจทก์ยังมีคำขอให้ศาลห้ามจำเลยที่3เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกด้วยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ฎีกาขอให้ศาลวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบน่าเชื่อกว่าพยานหลักฐานของจำเลยคำสั่งของจำเลยที่1ที่ให้เพิกถอนโฉนดเลขที่12046ของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ให้ เพิกถอนโฉนด เลขที่ 12046 ของ โจทก์ ดังกล่าว และ การ ออก ใบแทน โฉนด ที่ดินของ จำเลย ที่ 2 และ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่ง กระทำ ตาม คำสั่ง ของจำเลย ที่ 1 เป็น การ มิชอบ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ออก โฉนด ที่ดินให้ แก่ โจทก์ ตาม เดิม ก่อน มี การ เพิกถอน และ ห้าม จำเลย ที่ 3 รบกวนหรือ กระทำการ เป็น ปฏิปักษ์ แก่ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 12046ดังกล่าว ของ โจทก์ ต่อไป
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ มี หนังสือให้ โจทก์ นำ โฉนด ที่ดิน ฉบับนี้ มา ทำการ แก้ไข ให้ ถูกต้อง กับ ความ เป็น จริงแต่ โจทก์ ได้ คัดค้าน และ ไม่นำ โฉนด ที่ดิน มา ให้ ทำการ แก้ไข จำเลย ที่ 1จึง ออกคำสั่ง ให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน ฉบับ ดังกล่าว และ จำเลย ที่ 2ได้ มี หนังสือ ให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน ฉบับนี้ และ ให้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ออก ใบแทน โฉนด ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น การกระทำ ที่ ถูกต้อง และ ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดิน มี แบบ แจ้ง การครอบครอง มา ก่อน โดย ทาง ด้าน ทิศเหนือ จด ทาง กระบือ และ โฉนด ที่ดิน จริงต่อมา เมื่อ ทางราชการ ได้ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ใน ที่ดินแปลง นี้ ให้ แก่ นาง แก้ว ปรากฏว่า ทาง ด้าน ทิศเหนือ จด ทาง กระบือ อีก เช่นกัน ดังนั้น การ ที่ โจทก์ ได้ นำ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไป ทำการรังวัด ที่ดิน เพื่อ ขอ ออก โฉนด ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ตน แล้ว ได้ รังวัด เอา ทาง กระบือ ซึ่ง อยู่ ทาง ด้าน ทิศเหนือ รวม เข้าเป็น ที่ดิน ของ โจทก์ ด้วย จึง เป็น การ ไม่ชอบ เพราะ ทาง กระบือ ดังกล่าวได้ ถูก ใช้ เป็น ทางเดิน ของ น้ำ เพื่อ นำ น้ำ เข้า นา และ ให้ ทำนา กัน ตลอดมาเมื่อ โจทก์ ได้รับ โฉนด เลขที่ 12046 ตำบล วังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี แล้ว โจทก์ ได้ กลบ ทาง กระบือ หรือ ทางน้ำ ดังกล่าว เสียทำให้ จำเลย ที่ 3 และ ผู้อื่น เดือดร้อน โฉนด ที่ดิน ฉบับ ดังกล่าวจึง ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ ทางราชการ มี คำสั่ง ให้ เพิกถอนชอบแล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ศาล พิพากษา ว่าคำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ สั่ง เพิกถอน โฉนด เลขที่ 12046 ของ โจทก์และ การ ออก ใบแทน โฉนด ที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 2 กระทำ ตาม คำสั่ง ของจำเลย ที่ 1 เป็น การ มิชอบ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ออก โฉนด ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ตาม เดิม และ ห้าม จำเลย ที่ 3 รบกวน หรือ กระทำการ เป็น ปฏิปักษ์แก่ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ของ โจทก์ ต่อไป โดย บรรยายฟ้อง ว่าโจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน ส่วน ที่อยู่ เหนือ ทาง กระบือ เนื้อที่ 5 ไร่2 งาน 30 ตารางวา ที่ ถูก จำเลย ที่ 1 มี คำสั่ง ให้ เพิกถอน รวม อยู่ ในส่วน ที่ ไม่ ถูก เพิกถอน แม้ ว่า ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2จะ มี ลักษณะ เหมือนกับ คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน ไม่อาจ คำนวณ เป็นราคา เงินได้ แต่ เห็น ได้ว่า หาก มี การ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1จะ มีผล ให้ โจทก์ ได้รับ ที่ดิน ที่ ถูก เพิกถอน กลับคืน มา เป็น ของ โจทก์อีก ทั้ง โจทก์ ยัง มี คำขอ ให้ ศาล ห้าม จำเลย ที่ 3 เข้า เกี่ยวข้อง กับที่ดิน ของ โจทก์ อีก ด้วย จึง เป็น คดี ที่ มี คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์อัน อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ เมื่อ พิเคราะห์ ฎีกา ของ โจทก์ แล้ว เห็นว่าโจทก์ ขอให้ ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ น่าเชื่อ กว่าพยานหลักฐาน ของ จำเลย คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ให้ เพิกถอน โฉนด เลขที่12046 ของ โจทก์ เป็น การ ออก โดย ไม่ชอบ นั้น เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริงเมื่อ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาทจึง ต้องห้าม ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา โจทก์