คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลภายใน15วันโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องเสียศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์เพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและโจทก์มิได้ชำระค่าขึ้นศาลภายในกำหนดศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อุทธรณ์คำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีและขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์นั้นไม่ถูกต้องเพราะศาลอุทธรณ์ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จึงยังไม่มีอำนาจวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกแต่การที่โจทก์ไม่ยอมเสียค่าขึ้นศาลเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่อาจถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลกำหนดอันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ส่งมอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดงเจตนา ยินยอม ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ออก ใบแทน ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท ขอให้ ยกฟ้อง และ ฟ้องแย้ง ขอให้ พิพากษา เพิกถอน ชื่อ นาย ลิ เกิดปราง ออกจาก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ฉบับพิพาท ให้ เป็น ชื่อ ของ จำเลย ห้าม มิให้ โจทก์ และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท และ ให้สิทธิ ครอบครอง เป็น ของ จำเลย แต่ ผู้เดียว ให้ โจทก์ จดทะเบียน โอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ฉบับพิพาท เป็น ชื่อ จำเลยหาก โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ โจทก์
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า จำเลย ไม่มี สิทธิ ขอให้ โจทก์ จดทะเบียนโอนสิทธิ ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ฉบับพิพาท ให้ แก่ จำเลยขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ใน วันนัด สืบพยานโจทก์ ซึ่ง มี หน้าที่ นำสืบ ก่อน ใน นัดแรกศาลชั้นต้น สั่ง เลื่อน การ สืบพยาน ไป และ บันทึก ใน รายงาน กระบวนพิจารณาว่า กรณี ถือได้ว่า เป็น คดีมีทุนทรัพย์ ให้ โจทก์ จำเลย เสีย ค่าขึ้นศาลตาม ราคา ที่ดินพิพาท ภายใน 15 วัน
โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ว่า โจทก์ ไม่ต้อง เสียค่าขึ้นศาล เป็น คดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้น ไม่รับ อุทธรณ์ เพราะ เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณาโจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลอุทธรณ์ สั่ง รับ แต่ หลังจาก นั้น เพียง 6 วันเจ้าหน้าที่ศาล ทำ รายงาน เสนอ ศาล ว่า พ้น กำหนด 15 วัน แล้ว โจทก์ไม่ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่มเติม ศาลชั้นต้น ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง สั่งจำหน่ายคดี ฟ้องแย้ง ถือว่า ตก ไป คืน ค่าขึ้นศาล ใน ส่วน ฟ้องแย้งให้ จำเลย
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ ให้ จำหน่ายคดี โดย ขอให้ ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่ง ว่าคดี ของ โจทก์ ไม่มี ทุนทรัพย์ โจทก์ ไม่ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาลเพิ่ม และ ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา พิพากษา ต่อไป
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า เป็น คดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ ต้อง เสียค่าขึ้นศาล เพิ่ม ตาม ราคา ของ ที่ดินพิพาท คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ชอบแล้วพิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา ว่า คดี ของ โจทก์ ไม่มี ทุนทรัพย์ ขอให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยาน ต่อไป หาก ศาลฎีกา เห็นว่า คดี ของ โจทก์ มีทุนทรัพย์ ก็ ขอให้ กำหนด เวลา ให้ โจทก์ ชำระ ค่าธรรมเนียม ภายใน ระยะเวลาอัน สมควร ด้วย
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “อุทธรณ์ ฉบับ แรก เกี่ยวกับ ทุนทรัพย์ และ การชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม เป็น อุทธรณ์ คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้นศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลอุทธรณ์ สั่ง รับแต่ ศาลอุทธรณ์ ก็ ยัง มิได้ สั่ง รับ ศาลอุทธรณ์ จึง ยัง ไม่มี อำนาจวินิจฉัย ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าคดี ของ โจทก์ มี ทุนทรัพย์จึง ไม่ถูกต้อง แม้ ศาลฎีกา จะ เห็นพ้อง ด้วย กับ ศาลล่าง ทั้ง สอง ว่าเป็น คดีมีทุนทรัพย์ ก็ ยัง รับ วินิจฉัย ให้ ไม่ได้ เพราะ เป็น คำสั่งระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ฎีกา โจทก์จะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ไป ก่อน โดย โจทก์ จะ ต้อง ชำระค่าขึ้นศาล เพิ่ม ไป ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ กฎหมาย ห้าม อุทธรณ์ฎีกา ใน ระหว่าง พิจารณา เพราะ จะ ทำให้ คดี ล่าช้า คง เพียงแต่ ให้ โต้แย้งคำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ไว้ ก่อน เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา แล้ว จึง จะอุทธรณ์ ฎีกา ได้ และ ถ้า ฟังขึ้น ศาล ก็ จะ สั่ง คืน ค่าขึ้นศาล ส่วน เกินแก่ โจทก์ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ รับ วินิจฉัย ให้ ต้อง ถือว่า เป็น ข้อ ที่มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ปัญหา ต่อไป เกี่ยวกับ อุทธรณ์ ฉบับ หลัง ซึ่ง เมื่อ ศาลชั้นต้นสั่ง จำหน่ายคดี แล้ว โจทก์ ก็ อุทธรณ์ ขอให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป และ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน โจทก์ ก็ ฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป กรณี ถือได้ว่า เป็น การ อุทธรณ์ฎีกา คำสั่ง จำหน่ายคดี ของ ศาลชั้นต้น แต่ ปัญหา การ สั่ง จำหน่ายคดี จะถูกต้อง หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย โดย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยแต่ เรื่อง ทุนทรัพย์ ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ไป เสีย ทีเดียว จึง มีปัญหา ว่า ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง จำหน่ายคดี นั้น ถูกต้อง หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า การ ไม่ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม ภายใน เวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนดจะ เกิด ผลเสีย หาย ก็ ต่อเมื่อ คู่ความ ฝ่าย นั้น ไม่ยอม ชำระ ดัง ที่ บัญญัติไว้ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคแรก หรืออีก นัย หนึ่ง คือ ขัดขืน แต่ กรณี นี้ โจทก์ ยัง อุทธรณ์ และ ฎีกา คำสั่งศาลว่า โจทก์ ไม่ต้อง ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม เพราะ เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์โจทก์ ยัง ไม่แน่ ใจ ว่า จะ ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่ม จริง หรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า เป็น คดีมีทุนทรัพย์ ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่มทั้งที่ ไม่มี อำนาจ วินิจฉัย ก็ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ เชื่อ โดยสุจริตและ ฎีกา ต่อมา ว่า เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ ไม่ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่มไม่มี พฤติการณ์ ว่า โจทก์ ประวิงคดี เพราะ ถ้า ประวิงคดี โจทก์ เอง จะเป็น ฝ่าย เสียหาย เมื่อ ฎีกา แล้ว โจทก์ คง จะ รอ ฟัง ผล โจทก์ กล่าว ในตอนท้าย ของ ฎีกา ว่า ถ้า เห็นว่า เป็น คดีมีทุนทรัพย์ ซึ่ง ต้อง เสียค่าขึ้นศาล เพิ่ม ก็ ขอให้ กำหนด เวลา ให้ เสีย ตาม สมควร แสดง ว่า ถ้าถึงที่สุด แล้ว โจทก์ ก็ จะ ยอม เสีย ตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี นี้ ศาลฎีกาเชื่อ ว่า โจทก์ เข้าใจ โดยสุจริต ว่า สามารถ ดำเนิน กระบวนพิจารณาเช่น ที่ ว่า มา ได้ จึง มิใช่ โจทก์ ไม่ยอม เสีย เพียงแต่ รอ ให้ ถึงที่สุดเพื่อ ให้ แน่นอน เสีย ก่อน เมื่อ โจทก์ ยัง อุทธรณ์ และ ฎีกา อยู่ เช่นนี้ก็ ไม่อาจ ถือได้ว่า โจทก์ ขัดขืน หรือไม่ ยอม เสีย ค่าขึ้นศาล เพิ่มและ ไม่อาจ ถือได้ว่า โจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายใน เวลา ตาม ที่ศาล กำหนด อัน จะ ถือ เป็นเหตุ ว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 174(2) ยัง ไม่มี เหตุ ที่ ศาลชั้นต้นจะ สั่ง จำหน่ายคดี การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง จำหน่ายคดี จึง ไม่ถูกต้องแม้ โจทก์ จะ มิได้ ขอ ขยาย ระยะเวลา ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม ดัง คำ แก้ ฎีกาของ จำเลย ก็ ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง คำวินิจฉัย ดังกล่าว ที่ จำเลย แก้ ฎีกาว่า ใน ชั้นอุทธรณ์ โจทก์ ไม่ได้ ขอให้ ศาลอุทธรณ์ กำหนด เวลา ให้ โจทก์ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม โจทก์ จะ มา ขอให้ ศาลฎีกา กำหนด เวลา ให้ โจทก์ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม ไม่ได้ นั้น ข้อ นี้ เป็น เพียง วิธีการ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมศาล ซึ่ง ศาล มีอำนาจ กำหนด เวลา ให้ คู่ความ นำ มา ชำระ ได้แม้ โจทก์ จะ มิได้ ร้องขอ ให้ กำหนด เวลา ศาล ก็ จะ ต้อง กำหนด เวลา ให้โจทก์ นำ มา ชำระ กรณี มิใช่ ข้อ ที่ จะ ต้อง ยกขึ้น โต้แย้ง หรือ ว่ากล่าวใน อุทธรณ์ หรือ ฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ยกคำสั่ง จำหน่ายคดี ของศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น สั่ง ให้ โจทก์ ชำระ ค่าขึ้นศาล เพิ่ม ตาม ราคาที่ดินพิพาท โดย กำหนด เวลา ให้ ตาม สมควร ไม่ให้ น้อยกว่า 15 วัน แล้วดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป

Share