แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
นายจ้างออกคำสั่งห้ามลูกจ้างชุมนุมและเผยแพร่เอกสารในบริเวณที่ทำการของนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนเมื่อปรากฏจากคำปรารภของคำสั่งนั้นว่าการเผยแพร่เอกสารหรือการนัดชุมนุมของพนักงานลูกจ้างได้เคยกระทำมาก่อนแล้วซึ่งเอกสารที่เผยแพร่หรือการนัดชุมนุมที่เคยมีบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่พนักงานและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการของนายจ้างดังนี้เห็นได้ว่านายจ้างประสงค์จะห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำการดังกล่าวอีกต่อไปหากกระทำจะถือเป็นความผิดทุกครั้งจึงเป็นคำสั่งที่มีผลต่อเนื่องตลอดเวลาตราบใดที่นายจ้างยังห้ามอยู่สหภาพแรงงานฯของลูกจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อยู่ตราบนั้นการนับเวลาหกสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา124จะเริ่มนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวเป็นยุติไม่ได้. สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกันการเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐานแต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใดลักษณะใดเมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดีเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงานฯโจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้นคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121(4)(5)ไม่.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2527 ถึง วันที่ 23 กรกฎาคม2528 จำเลย ได้ ฝ่าฝืน ไม่ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย แรงงานสัมพันธ์ และกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ คือ เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2527 จำเลย ที่14 ได้ ออก คำสั่ง ที่ 86/2527 ห้าม โจทก์ และ พนักงาน ลูกจ้าง ของจำเลย ที่ 14 ชุมนุม และ เผยแพร่ เอกสาร ใน บริเวณ ที่ ทำการ ซึ่งเป็น สถานที่ ทำงาน ของ สมาชิก ของ โจทก์ โดย กำหนด การ ลงโทษ ผู้ฝ่าฝืน คำสั่ง ไว้ ด้วย คำสั่ง ดังกล่าว มี ความหมาย รวม ถึง การ ชุมนุมและ เผยแพร่ เอกสาร ของ โจทก์ และ กรรมการ ลูกจ้าง ด้วย ซึ่ง จะ ต้องได้ รับ อนุญาต จาก จำเลย ที่ 14 ก่อน จึง จะ ดำเนินการ ได้ โจทก์ได้ ร้องเรียน ต่อ จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 13 ซึ่ง เป็น คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ว่า คำสั่ง ดังกล่าว เป็น การ ขัดขวาง การ ดำเนิน งานของ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 มี คำสั่ง ยก คำร้อง โดย อ้าง ว่าโจทก์ ร้องเรียน เกิน กำหนด หกสิบ วัน นับแต่ วันที่ 20 กันยายน 2527ที่ อ้าง ว่า มี การ ฝ่าฝืน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 จึง เป็นคำสั่ง ที่ ไม่ ชอบ เพราะ ความผิด ของ จำเลย ที่ 14 เป็น การ กระทำต่อเนื่อง มา ตลอด จน ถึง วัน ฟ้อง ขอ ให้ ศาล บังคับ จำเลย สั่งเพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 14 และ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1ถึง จำเลย ที่ 13 ดังกล่าว
จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 13 ให้การ ว่า โจทก์ ร้องเรียน ต่อคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ เกินกว่า หกสิบ วัน นับแต่ วัน ที่ มี การฝ่าฝืน ตาม ที่ พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124บัญญัติ ไว้ ไม่ ว่า จะ นับ ตั้งแต่ วันที่ 20 กันยายน 2527 หรือวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ที่ จำเลย ที่ 14 มี หนังสือ ชี้แจง ความหมายของ คำสั่ง ดังกล่าว คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 จึง ชอบ แล้วโจทก์ จึง ไม่ มี อำนาจฟ้อง ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 ขอ ให้ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 14 ให้การ ว่า สถานที่ ทำงาน ของ จำเลย ที่ 14 เป็น ของ รัฐเป็น สถานที่ ราชการ สำหรับ การ ปฏิบัติ งาน คำสั่ง ของ จำเลย ที่14 เป็น คำสั่ง ของ เจ้าของ สถานที่ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ครอบครอง ดูแลการ ใช้ สถานที่ ของ ผู้อื่น เพื่อ มิให้ เกิด ความ เสียหาย แก่ทรัพย์สิน ตาม วัตถุประสงค์ ของ เจ้าของ สถานที่ ได้ จึง เป็น คำสั่งที่ ชอบ แล้ว ไม่ เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ คำสั่ง ดังกล่าวไม่ ใช่ เป็น การ ห้าม ชุมนุม โฆษณา ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 99(1) (2) (3) (4) แต่ เป็น การ ห้าม ชุมนุม หรือโฆษณา ที่ ล่วง ละเมิด สิทธิ ของ ผู้อื่น เกี่ยวกับ ชีวิต และ ร่างกายชื่อเสียง และ ทรัพย์สิน อัน เป็น เอกสิทธิ ของ จำเลย ที่ 14 ตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 99 วรรคท้าย ขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด พิจารณา คู่ความ แถลง รับ ข้อเท็จจริง กัน บาง ประการศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ให้ งด สืบพยาน
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 14 ไม่ ชอบ ด้วยกฎหมาย เป็น การ กระทำ อัน ไม่ เป็นธรรม และ คำสั่ง ของ จำเลย ที่1 ถึง จำเลย ที่ 13 เป็น การ ไม่ ชอบ พิพากษา ว่า การ กระทำ ของ จำเลยที่ 14 เป็น การ กระทำ อัน ไม่ เป็นธรรม ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ ที่ 30/2528 และ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ที่86/2527 ของ จำเลย ที่ 14
จำเลย ทั้ง สิบสี่ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี แรงงาน วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า จำเลย อุทธรณ์ว่า การ ยื่น คำร้อง กล่าวหา จำเลย ที่ 14 ต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือ ต่อ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 นั้น โจทก์ ต้อง ยื่น ภายใน หกสิบวัน นับแต่ วันที่ มี การ ฝ่าฝืน สำหรับ คดี นี้ คือ นับแต่ วันที่20 กันยายน 2524 ที่ จำเลย ที่ 14 ออก คำสั่ง ที่ 86/2527 และ คำสั่งดังกล่าว จะ ถือ ว่า เป็น คำสั่ง ที่ มี ผล ต่อเนื่อง หา ได้ ไม่พิเคราะห์ แล้ว จาก คำปรารภ ของ จำเลย ที่ 13 ใน วรรคแรก แห่ง คำสั่งที่ 86/2527 ความ ว่า ด้วย ปรากฏ ว่า ได้ มี พนักงาน หรือ ลูกจ้าง ของอ.ส.ม.ท. ได้ เผยแพร่ เอกสาร ใน ลักษณะ ต่างๆ กัน ใน บริเวณ ที่ทำการอ.ส.ม.ท. โดย ไม่ ได้ รับอนุญาต ทำให้ เกิด ความ ไม่ เป็น ระเบียบเรียบร้อย เอกสาร บาง ฉบับ มี ข้อความ เป็น เท็จ หรือ ก่อ ให้ เกิดความ แตกแยก สามัคคี ความ กระด้าง กระเดื่อง หรือ เกิด ความ เข้าใจผิดใน หมู่ พนักงาน ตลอดจน เสียหาย ต่อ ภาพพจน์ ของ องค์การ ที่ มี ต่อสาธารณชน และ นอกจาก นั้น ยัง มี การ นัด ชุมนุม ใน ลักษณะ ที่ ก่อให้ เกิด ความ ไม่ สงบ เรียบร้อย ใน บริเวณ ที่ทำการ อ.ส.ม.ท. จาก คำปรารภ ดังกล่าว ย่อม เห็น ได้ ว่า การ เผยแพร่ เอกสาร หรือ การ นัดชุมนุม ของ พนักงาน ลูกจ้าง ได้ เคย กระทำ มา ก่อน แล้ว และ ก่อ ความไม่ พึงใจ คุกรุ่น แก่ จำเลย ที่ 14 ตลอดมา ใน ที่สุด จำเลย ที่ 14จึง ออก คำสั่ง ห้าม การ กระทำ นั้น เสีย กรณี ดังกล่าว สอดส่อง ให้เห็น เจตนา ของ จำเลย ที่ 14 ได้ ว่า ประสงค์ จะ ห้ามปราม พนักงานลูกจ้าง มิให้ กระทำ การ นั้น อีก ต่อไป หาก กระทำ จะ ถือ ว่า เป็นความผิด ทุกครั้ง คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 14 จึง เป็น คำสั่ง ที่ มี ผลต่อเนื่อง ตลอดเวลา มิใช่ ออก คำสั่ง ห้ามปราม การ กระทำ ที่ เกิด ขึ้นเป็น คราวๆ แล้ว ก็ เสร็จสิ้น กัน ไป ตราบใด ที่ จำเลย ที่ 14 ยังห้าม อยู่ โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ยื่น คำร้อง กล่าวหา จำเลย ที่ 14ผู้ ฝ่าฝืน ต่อ คณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ ได้ อยู่ ตราบนั้น การ นับเวลา หกสิบ วัน จะ เริ่ม นับแต่ วันที่ 20 กันยายน 2527 วัน เริ่มต้นเพียง วันเดียว ตาม ที่ จำเลย อุทธรณ์ หา ได้ ไม่ การ ตีความ มาตรา124 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ของ ศาลแรงงานกลางจึง ชอบ ด้วย ความ เป็นธรรม และ เจตนารมณ์ ของ กฎหมาย แล้ว
จำเลย อุทธรณ์ ว่า คำสั่ง ที่ 86/2527 เป็น คำสั่ง ที่ ชอบ ด้วย กฎหมายไม่ เป็น การ ขัดขวาง การ ดำเนินการ ของ โจทก์ หรือ เป็น การ เข้าแทรกแซง ใน การ ดำเนินการ ของ โจทก์ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า สหภาพแรงงานเป็น สถาบัน หนึ่ง ที่ ก่อตั้ง ขึ้น เพื่อ แสวงหา และ คุ้มครองผลประโยชน์ เกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง และ ส่งเสริม ความ สัมพันธ์ อัน ดีระหว่าง นายจ้าง กับ ลูกจ้าง และ ระหว่าง ลูกจ้าง ด้วยกัน การ เผยแพร่เอกสาร และ นัด ชุมนุม เพื่อ วัตถุประสงค์ ดังกล่าว ย่อม เป็น สิทธิของ มูลฐาน แต่ การ ที่ สหภาพแรงงาน จะ กระทำ กิจกรรม สอง ประการ นั้นใน สถาน ประกอบ กิจการ หรือ บริเวณ สถาน ประกอบ กิจการ ของ นายจ้าง นั้นโดย ปกติ ควร มี ข้อกำหนด ไว้ ใน ข้อตกลง เกี่ยวกับ สภาพการจ้าง ว่าควร เผยแพร่ ใน เรื่อง ใด ลักษณะ ใด คดี นี้ ไม่ ปรากฏ ว่า มี ข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพ การจ้าง ไว้ ประการ ใด เพราะฉะนั้น การ เผยแพร่ เอกสารและ การ นัดชุมนุม จึง ควร มี การ ควบคุม บ้าง พอ สมควร เกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าว เพราะ สถานประกอบ กิจการ เป็น ของ จำเลย ที่ 14 การส่ง ข้อความ ใน เอกสาร หรือ แจ้ง เรื่อง ลักษณะ ให้ จำเลย ที่ 14พิจารณา อนุญาต ก่อน จึง เป็น วิธี ที่ ดี เป็น การ เสิรมสร้าง ความสัมพันธ์ ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 14 ให้ ดี ยิ่ง ขึ้น ศาลฎีกาเห็นว่า คำสั่ง ดังกล่าว จำเลย ที่ 14 ผู้ เป็น เจ้าของ อาคาร สถานที่ประกอบ กิจการ ย่อม มี อำนาจ กระทำ ได้ โดยชอบ ไม่ เป็น การ ขัดขวางการ ดำเนินการ ของ โจทก์ ไม่ เป็น การ เข้า ไป แทรก ใน กิจการ ของโจทก์ เพราะ ถ้า โจทก์ กระทำ ใน ที่ อื่น นอก สถานที่ บริเวณ ของ จำเลยที่ 14 โจทก์ ก็ ย่อม ทำ ได้ การ ออก คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 14 จึง หาเป็น การ กระทำ อัน ไม่ เป็นธรรม ตาม ความหมาย ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่ อุทธรณ์ ของ จำเลยข้อนี้ ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์