คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า บันทึกเอกสารหมาย จ.1 ที่ได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังจากครบ 3 ปี แล้ว และได้ระบุวันที่จ่ายเงินในบางเดือนกับยอดคงเหลือไว้นั้นข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงจะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือให้โจทก์เดือนละ 30,000 บาท หรือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติว่า “อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”
++ หมายความว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้น คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย
++ คดีนี้ ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน และเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังครบ 3 ปีแล้ว เห็นว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ 20,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือนนั้น เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายเดือน จึงเป็นค่าจ้างประเภทเงินเดือน
++ แต่เงินที่เหลืออีกเดือนละ 30,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้หลังครบ 3 ปี แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเงินจำนวนหลังนี้มิใช่เงินที่ตกลงจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานปกติของการทำงานเป็นรายเดือน จึงมิใช่ค่าจ้าง
++ แต่เป็นเงินค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายตามเงื่อนไขในข้อตกลง เมื่อโจทก์ทำงานยังไม่ครบ3 ปี ตามเงื่อนไขในข้อตกลงนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ ๓ เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑ จำเลยทั้งสามได้จ้างโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ค่าจ้างเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท ตกลงแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือนจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาทส่วนที่เหลืออีก ๓๐,๐๐๐ บาท ตกลงจ่ายให้เสร็จสิ้นหลังครบ ๓ ปี นับแต่วันจ้างวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ จำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาและไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำงาน โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี กับค่าจ้างค้าง ๑๘๐,๐๐๐ บาทและค่าชดเชย ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ทั้งนี้นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม๒๕๔๑ จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ นางสุกัญญา เวชยันต์วิวัฒน์ ภริยาโจทก์ และนางมาริษา คุณคณาวัฒน์ ได้ร่วมจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ ๑ โดยมีจำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ได้เข้าทำงานกับจำเลยที่ ๑ ตั้งแต่จำเลยที่ ๑เปิดกิจการ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ได้จดทะเบียนเลิกกิจการเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๑ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างแยกจากกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มาทำงานกับจำเลยที่ ๑ มิใช่ถูกจำเลยทั้งสามเลิกจ้าง ส่วนค่าจ้างค้างอีกเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาทนั้น ตามฟ้องและเอกสารหมาย จ.๑ ระบุว่าเงินจำนวนนี้จะจ่ายหลังจากครบ ๓ ปีแล้วข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ ๑ เมื่อหุ้นส่วนทั้งหมดได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ ๑ หลังจากเปิดกิจการมาได้เพียง๔ เดือนเศษ ข้อตกลงนี้ย่อมตกไปไม่อาจบังคับได้ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า บันทึกเอกสารหมาย จ.๑ ที่ได้ระบุว่า จำเลยที่ ๑ สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ ๑ เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน ๒๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ ๓๐,๐๐๐ บาท จะจ่ายคืนให้หลังจากครบ ๓ ปี แล้ว และได้ระบุวันที่จ่ายเงินในบางเดือนกับยอดคงเหลือไว้นั้นข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงจะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือให้โจทก์เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท หรือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ ๑ในเรื่องนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ บัญญัติว่า “อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้” หมายความว่านายจ้างจะจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นคือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย คดีนี้ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน และเอกสารหมาย จ.๑ ระบุว่า จำเลยที่ ๑ สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ ๑ เป็นเงินเดือนละ ๕๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน ๒๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ๓๐,๐๐๐ บาท จะจ่ายคืนให้หลังครบ ๓ ปีแล้ว เห็นว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย จ.๑ ดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากเงินที่จำเลยที่ ๑ จ่ายให้แก่โจทก์ ๒๐,๐๐๐ บาท ทุกวันสิ้นเดือนนั้น เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายเดือน จึงเป็นค่าจ้างประเภทเงินเดือน แต่เงินที่เหลืออีกเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท ที่จำเลยที่ ๑ ตกลงจะจ่ายให้หลังครบ ๓ ปี แล้วนั้นแสดงให้เห็นว่าเงินจำนวนหลังนี้มิใช่เงินที่ตกลงจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานปกติของการทำงานเป็นรายเดือน จึงมิใช่ค่าจ้างแต่เป็นเงินค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายตามเงื่อนไขในข้อตกลง เมื่อโจทก์ทำงานยังไม่ครบ๓ ปี ตามเงื่อนไขในข้อตกลงนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ ๑
พิพากษายืน.

Share