แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เวนคืนที่ดินของเอกชนเพื่อขยายกิจการของโรงงานเนื้อสัตว์นั้น ถือว่ากิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการค้า ไม่ใช่ สาธารณูปโภคการเวนคืนที่ดินเพื่อการนี้ จึงหาใช่เพื่อสาธารณูปโภค ฉะนั้นการเวนคืน จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 5 ฉะนั้นกรรมสิทธิในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ตกมาเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 10.
และในกรณีเช่นนี แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้ พ.ร.บ. เวนคืนอสัง หาริมทรัพย์นั้นฯ ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32 ก็ดี ก็จะเอามาปรับแก่
กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง./
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๘๖ ที่ดินของโจทก์ ๖ แปลงตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในคำร้อง ได้ถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริทรัพย์ เพื่อขยายเขตท่าเรือกรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๘๖ ภายหลังโจทก์ได้ทราบว่า การเวนคืนนี้เพื่อใช้ เป็นที่พักสัตว์ของโรงงานฆ่าสัตว์ ไม่ใช่เป็นการสาธารณูปโภคโดยตรง รัฐบาลไม่มีอำนาจเวนคืนตามมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๙๒ มาตรา ๓๔ และทั้งจำเลยมิได้ใช้ที่ดินในบริเวณที่ได้เวนคืนนั้น ในการสาธารณูปโภคอย่างใดเลยเป็นเวลา ๕ ปีแล้ว โจทก์ยัง คงครอบครองอยู่จนบัดนี้ ขอให้ศาลแสดงว่า ไม่มีสิทธิจะเวนคืน ให้เพิกถอนคำชี้ขาดเรื่องกำหนดเงินค่าทำขวัญ และให้ แสดงว่าที่ทั้ง ๖ แปลงนี้ ยังเป็นกรรมสิทธิของโจทก์
จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยมีสิทธิเวนคืนกิจการของโรงงานฆ่าสัตว์ เป็นกิจการส่วนหนึ่งของโครงการ์ท่าเรือ ฯลฯ และว่า โจทก์
ฟ้องพ้นหนึ่งปีนับแต่วันครบกำหนด ๕ ปี.
ศาลแพ่งพิจารณาแล้ว เห็นว่าการสร้างโรงงานเนื้อสัตว์ตามโครงการณ์ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการณ์ ย่อมเป็นส่วน หนึ่งของโครงการณ์สร้างท่าเรือกรุงเทพฯ จำเลยจึงมีสิทธิเวนคืน และคดีโจทก์ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวน คืน และคดีโจทก์ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ๒๔๗๗ มาตรา ๓๒ จึงพิพากษายกฟ้อง.
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยไม่มีสิทธิเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้ง ๖ แปลงนี้ ยังเป็นกรรมสิทธิของโจทก์.
จำเลยฎีกา,
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า กิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการ ค้า ไม่ใช่สาธารณูปโภคดังกล่าวแล้ว ในคำพิพากษา ฎีกาที่ ๑๐๘๑/๒๔๙๔ การเวนคืนเพื่อกิจการนี้จึงหาใช่เวนคืนเพื่อสาธารณูปโภคไม่ การเวนคืนจึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ มาตรา ๕ แม้ พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินของโจทก์ระบุว่าเวนคืนเพื่อ ขยายเขตท่าเรืออันเป็นสาธารณูปโภคก็ดี เพราะพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ มาตรา ๕ แล้ว จะเห็นได้ว่ามุ่งถึงเจตนาของการเวนคืนเป็นสำคัญ จะมีการเวนคืนเพื่อประโยชน์อันไม่ใช่สาธารณูปโภค โดยอ้างเหตุที่เป็นสาธารณูปโภค ก็หาเป็นผลอย่างใดไม่ การเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงไม่มีผลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวน คืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๗๗ กรรมสิทธิ์ในที่นี้ จึงไม่ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริม ทรัพย์ พ.ศ ๒๔๗๗ มาตรา ๑๐ ตลอดจนจะเอาอายุความในมาตรา ๓๒ มาปรับแก่คดีนี้ ก็ไม่ได้ เพราะมาตรานี้จะใช้ได้ก็ต่อ เมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง.
พิพากษายืน./