แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดมาเบิกความต่อศาลจึงไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยทั้งสาม
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา กลางวันจำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน กระทำ ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายกรรม ต่างกันกล่าว คือ จำเลย ที่ 1 พา มีดปลายแหลม 2 เล่ม ติดตัว ไป ใน เมืองหมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดย ไม่มี เหตุสมควร และ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันข่มขืน กระทำ ชำเรา นาง มยุรี อินนามมา ผู้ตาย ซึ่ง มิใช่ ภริยา ของ จำเลย ทั้ง สาม หลาย ครั้ง โดย นาง มยุรี ไม่ยินยอม และ อยู่ ใน ภาวะ ที่ ไม่สามารถ ขัดขืน ได้ อัน มี ลักษณะ เป็น การ โทรมหญิง จน เป็นเหตุ ให้ นาง มยุรี ซึ่ง ถูก ข่มขืน กระทำ ชำเรา ถึงแก่ความตาย กับ ร่วมกัน ฆ่า นาง มยุรี โดย จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ถุงพลาสติก คลุม ศีรษะ นาง มยุรี ใช้ เชือก ไนลอนผูก รัด คอ ใช้ มีด ที่ จำเลย ที่ 1 พา ติดตัว มา แทง ที่ คอ และ ลิ้นปี่ แล้ว ใช้ มีด กรีด ผ่า กลาง หน้าอก จน ถึง อวัยวะเพศจน เป็นเหตุ ให้ นาง มยุรี ถึงแก่ความตาย สม ดัง เจตนาฆ่า อันเป็น การ กระทำ โดย ทรมาน และ ทารุณ โหดร้าย ทั้งนี้ เพื่อ ปกปิด การกระทำความผิด และ หลบเลี่ยง ให้ พ้น อาญา ใน ความผิด ดังกล่าว รายละเอียดบาดแผล และ การ ตาย ปรากฏ ตาม รายงาน ชันสูตรพลิกศพ และ รายงาน การตรวจ ศพ ของ แพทย์ ท้ายฟ้อง และ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ปล้นทรัพย์ โดยมี และ ใช้ อาวุธ มีด เอา สร้อยคอ ทองคำ 1 เส้น ราคา 2,500 บาทนาฬิกาข้อมือ 1 เรือน ราคา 350 บาท กล้องถ่ายรูป 1 อัน ราคา 2,500บาท เงิน จำนวน 15,000 บาท รวม ราคา ทรัพย์ 20,350 บาท ของ ผู้ตาย ไปใน การ ปล้นทรัพย์ ดังกล่าว จำเลย ใช้ เชือก ผูก รัด คอ ใช้ มีด แทง ผู้ตายเพื่อ ความสะดวก แก่ การ ปล้นทรัพย์ พา ทรัพย์ ไป หรือ ยึดถือ เอา ทรัพย์ ไว้ปกปิด การกระทำ ผิด หรือ เพื่อ ให้ พ้น จาก การ จับกุม จน เป็นเหตุ ให้นาง มยุรี ถึงแก่ความตาย เหตุ เกิด ที่ แขวง วัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับ จำเลย ทั้ง สาม ได้ พร้อมมีดปลายแหลม 2 เล่ม ที่ ใช้ ใน การกระทำ ผิด เป็น ของกลาง ก่อน คดี นี้จำเลย ที่ 1 เคย ต้องโทษ จำคุก และ ศาล รอการลงโทษ ไว้ ตาม คดีหมายเลขแดง ที่ 3792/2536 ของ ศาลแขวง ตลิ่งชัน และ จำเลย ที่ 2เคย ต้องโทษ จำคุก และ พ้นโทษ มา แล้ว ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 12754/2532ของ ศาลแขวง พระนคร เหนือ ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58, 83, 91, 92, 276, 277 ตรี , 288, 289, 340, 371 และ ขอให้บวก โทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 ที่ รอ ไว้ ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 3792/2536ของ ศาลแขวง ตลิ่งชัน เข้า กับ โทษ ใน คดี นี้ ของ จำเลย ที่ 1 และ เพิ่มโทษจำเลย ที่ 2 ริบ มีดปลายแหลม 2 เล่ม ของกลาง กับ ให้ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ 20,350 บาท แก่ ทายาท ผู้ตาย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ปฏิเสธ แต่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับ ว่า เป็นบุคคล เดียว กับ จำเลย ที่ โจทก์ ขอบ วกโทษ และ เพิ่มโทษ ตามลำดับ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 276, 277 ตรี , 288, 289, 340, 83, 371 แต่ การกระทำการ ข่มขืน กระทำ ชำเรา และ ฆ่า ของ จำเลย ทั้ง สาม เป็น การกระทำ ต่อเนื่อง กันเป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ลงโทษ บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตามมาตรา 289(5)(7) วางโทษ ประหารชีวิต จำเลย ทั้ง สาม เมื่อ ศาล ลงโทษประหารชีวิต จำเลย ที่ 1 แล้ว ข้อหา จำเลย ที่ 1 ฐาน พา อาวุธ มีดไป ใน เมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดย ไม่มี เหตุสมควร ตาม มาตรา 371จึง ไม่จำเป็น ต้อง กำหนด โทษ จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ กระทำ ชำเรา ผู้ตายคำให้การ ของ จำเลย ที่ 3 ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้าง ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78หนึ่ง ใน สาม เป็น จำคุก จำเลย ที่ 3 ตลอด ชีวิต ตาม มาตรา 52โทษ ประหารชีวิต ไม่ใช่ โทษ จำคุก จึง ไม่มี โทษ จำคุก ที่ จะ ให้ บวก และเพิ่มโทษ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตาม ขอ ได้ คำขอ ส่วน นี้ ให้ยก ริบมีดปลายแหลม 2 เล่ม ของกลาง ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน คืน หรือ ใช้ราคา ทรัพย์ 20,350 บาท แก่ ทายาท ผู้ตาย ส่วน คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า เมื่อ วันที่ 3กุมภาพันธ์ 2537 เวลา 7 นาฬิกา นาง มยุรี อินนามมา ผู้ตาย ออกจาก บ้านพัก ซอย จรัญสนิทวงศ์ 78 พา ลูก ไป ส่ง โรงเรียน แล้ว หาย ไป ไม่ กลับมา บ้าน โดย ผู้ตาย มี เงิน 15,000 บาท กล้องถ่ายรูปนาฬิกาข้อมือ และ สร้อยคอ ทองคำ หนัก 1 สลึง 1 เส้น ติดตัว ไป ด้วยต่อมา วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา 8.30 นาฬิกา ร้อยตำรวจเอก ปิยะ เมตตาพันธ์ เจ้าพนักงาน ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาล บางกอกใหญ่ ได้รับ แจ้ง ว่า พบ หญิง ถูก ฆ่า ตาย ใน บ้าน ร้าง ซอย ร่วมใจ ซึ่ง เป็น ซอย แยก จาก ซอย จรัญสนิทวงศ์ 13 ท้องที่ แขวง วัดท่าพระ เขต บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร สภาพ ศพ เน่า ขึ้น อืดแล้ว มี บาดแผล ถูก แทง บริเวณ ต้น คอ และ บาดแผล ถูก มีด กรีด จาก ลิ้นปี่ เป็น ทาง ยาว ลง มาจน ถึง อวัยวะเพศ จาก การ ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ ของ เจ้าพนักงาน ตำรวจพบ เสื้อ กางเกง เครื่อง สำอาง รองเท้า ผู้หญิง กระเป๋า และ สิ่งของอื่น ๆ บริเวณ ที่ พบ ศพ ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 2 ต่อมา นาย สุทัศน์ อินนามมา สามี ของ ผู้ตาย ได้ มา ดู เสื้อ กางเกง และ สิ่งของ ต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วจำ ได้ว่า เป็น ของ ผู้ตาย และ ได้ มอบ ตั๋ว รับ จำนำ ที่ มี ลาย นิ้วมือ ของนาง มยุรี ให้ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป ตรวจ พิสูจน์ ปรากฏว่า ตรง กับ ลาย นิ้วมือ ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ผู้ พบ ศพ พิมพ์ ลาย นิ้วมือ ไว้ ก่อน แล้วจึง ทราบ ว่า ผู้ตาย เป็น นาง มยุรี เจ้าพนักงาน ตำรวจ สืบสวน ทราบ ว่า จำเลย ทั้ง สาม เป็น ผู้ พา นาง มยุรี ไป ยัง บ้าน ร้าง ที่ พบ ศพ ดังกล่าว แล้ว ร่วมกัน ข่มขืน กระทำ ชำเรา และ ฆ่า นาง มยุรี จึง จับ จำเลย ทั้ง สาม กล่าวหา ว่า ร่วมกัน กระทำผิด คดี นี้
จำเลย ทั้ง สาม นำสืบ ปฏิเสธ อ้าง ฐาน ที่อยู่
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2537 เวลา 8.30 นาฬิกา ร้อยตำรวจเอก ปิยะ เมตตาพันธ์ ได้รับ แจ้ง จาก ศูนย์ วิทยุ กรุง ธนว่า พบ ศพ หญิง ถูก ฆ่า ใน บ้าน ร้าง ซอย ร่วมใจ แขวง วัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จึง ออก ไป ตรวจ ที่เกิดเหตุ พบ ศพ หญิง ถูก ฆ่า ปรากฏบาดแผล ตาม รายงาน การ ตรวจ ศพ ท้ายฟ้อง เมื่อ ตรวจ พิสูจน์ โดย การเปรียบเทียบ ลายพิมพ์ นิ้วมือ และ ตรวจ เปรียบเทียบ ภาพถ่าย เชิง ซ้อนตาม เอกสาร หมาย จ. 11 และ จ. 16 แล้ว ทราบ ว่า ผู้ตาย คือ นาง มยุรี อินนามมา มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ทั้ง สาม ข่มขืน กระทำ ชำเรา และ ฆ่า ผู้ตาย จริง หรือไม่ โจทก์ ไม่มี ประจักษ์พยานที่ รู้เห็น เหตุการณ์ ว่า จำเลย ทั้ง สาม กระทำ ความผิด มา เบิกความ ต่อ ศาลคง มี แต่ ร้อยตำรวจเอก วสันต์ เกศะรักษ์ มา เบิกความ ว่า ได้ สอบถาม พยาน คนหนึ่ง ซึ่ง อยู่ ใกล้ บ้าน ร้าง ที่เกิดเหตุ ทราบ ว่า ก่อน พบ ศพ ผู้ตาย2 ถึง 3 วัน มี หญิง แต่งกาย เหมือน ผู้ตาย มา ใช้ โทรศัพท์ ที่ บ้าน ของพยาน ผู้ นั้น หลังจาก นั้น ก็ มี จำเลย ที่ 2 มา พบ กับ หญิง ดังกล่าว แล้วพา กัน เดิน เข้า ไป ใน บ้าน ร้าง ที่เกิดเหตุ แต่ โจทก์ มิได้ นำพยาน คนดังกล่าว มา สืบ ยืนยัน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ มี นาย สุทัศน์ อินนามมา สามี ผู้ตาย มา สืบ ว่า ใน วันเกิดเหตุ ก่อน ออกจาก บ้าน ผู้ตาย บอก กับนาย สุทัศน์ ว่า จะ ไป ทำ ธุระ กับ นาย เตี้ย จำเลย ที่ 2 แต่ นาย สุทัศน์ ก็ มิได้ เห็นว่า ผู้ตาย ไป พบ กับ จำเลย ที่ 2 จริง หรือไม่ ที่ โจทก์ฎีกา ว่า พันตำรวจโท กิตติ ฉัตตะวานิช ได้ ตรวจ พิสูจน์ เส้น ขน ที่ เก็บ ได้ จาก ที่เกิดเหตุ เส้น ขน ดังกล่าว บางส่วน มี ลักษณะ คล้ายคลึงกับ เส้น ขน บริเวณ อวัยวะเพศ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 นั้น แต่พันตำรวจโท กิตติ เบิกความ ตอบ คำถามค้าน ทนายจำเลย ทั้ง สาม ว่า เส้น ขน ที่ เก็บ ได้ จาก ที่เกิดเหตุ ถูก ทำให้ หลุด แสดง ว่า เส้น ขน ดังกล่าวมิได้ หลุด เอง ตาม ธรรมชาติ หรือ หลุด เพราะ การ เสียดสี การ ตรวจ พิสูจน์ดังกล่าว ยัง ฟัง ไม่ได้ แน่ชัด ว่า เส้น ขน บริเวณ อวัยวะเพศ ที่ พบอยู่ ใน ที่เกิดเหตุ เป็น ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จริง โจทก์ คง มีแต่ คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ทั้ง สาม เท่านั้น ซึ่ง คำให้การดังกล่าว ระบุ ว่า หญิง ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมประเวณี เป็นหญิง โสเภณี ชื่อ นางสาว แสงหรือนุ และ เมื่อ พนักงานสอบสวน นำ ภาพถ่าย ของ ผู้ตาย มา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ดู จำเลย ทั้ง สาม ก็ ให้การ ปฏิเสธ ว่าไม่ใช่ หญิง ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมประเวณี ด้วย อีก ทั้ง จำเลยทั้ง สาม ก็ เบิกความ ว่า คำให้การ ใน ชั้นสอบสวน เกิดจาก พนักงานสอบสวนบังคับ พยานหลักฐาน โจทก์ ตาม ที่ นำสืบ มา ยัง ไม่มี น้ำหนัก พอ ฟัง ลงโทษจำเลย ทั้ง สาม ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้ว ฎีกา ของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน