แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญา มัดจำซื้อ ที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่1และ ป.ผู้จะขายให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินไว้ก่อนและกำหนดนัดโอนเมื่อจำเลยที่1และ ป. ได้รับ หนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานแล้วต่อมา ป. ถึงแก่ความตายจำเลยที่1และ น.ซึ่งเป็นบุตรของ ป. มาแจ้งว่าไม่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานและตกลงให้ที่ดินเป็นของโจทก์ไม่ขอเกี่ยวข้องอีกต่อไปต่อมาจำเลยที่1มีเจตนาทุจริตมาขอจัดการมรดกของ ป. แล้วขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่2ไปจึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์เป็นการฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งได้สิทธิโดยการครอบครองหาใช่โดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญามัดจำไม่เมื่อจำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ชอบที่ศาลจะต้องฟัง พยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่การที่ศาลล่างสั่งให้ งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโดยยกสัญญามัดจำขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ชอบ จำเลยที่1ฎีกาขอให้ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 โจทก์ ทำ สัญญามัดจำ ซื้อ ที่ดิน 1 แปลง จาก จำเลย ที่ 1 และ นาย แปลก จำปา ที่ดิน ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 8 ตำบล โคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัด ตรัง เนื้อที่ ประมาณ 8 ไร่ ใน ราคา 40,000 บาท ใน วัน ทำ สัญญา จำเลย ที่ 1 และนาย แปลก ได้รับ เงิน ไป แล้ว 30,000 บาท จำเลย ที่ 1 และ นาย แปลก ตกลง ให้ โจทก์ เข้า ครอบครอง ที่ดิน ไว้ ก่อน ให้ ทำนา และ เก็บเกี่ยว ผลประโยชน์ ได้ ส่วน เงิน อีก 10,000 บาท ตกลง จะ จ่าย กัน เมื่อ จำเลย ที่ 1และ นาย แปลก ได้ โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน กำหนด นัด โอน จะ ได้ ตกลง กัน อีก ครั้งหนึ่ง เพราะ ต้อง รอ ให้ จำเลย ที่ 1 และ นาย แปลก ได้ รับ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เสีย ก่อน หลังจาก ทำ สัญญา แล้วจำเลย ที่ 1 และ นาย แปลก มา รับ เงิน ที่ โจทก์ ค้าง อยู่ หลาย ครั้ง วันที่ 11 กันยายน 2535 หลังจาก นาย แปลก ตาย แล้ว นาย นพดล จำปา บุตร นาย แปลก ได้ มา ขอรับ เงิน ค่าที่ดิน อีก 2,100 บาท สามี โจทก์ ได้ ให้ เงิน ไป แล้ว และ ตกลง นัด โอน ที่ดิน ภายใน 1 เดือน นับแต่ วัน ดังกล่าวเมื่อ ครบ กำหนด จำเลย ที่ 1 และ นาย นพดล มา แจ้ง ว่า หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ ไม่ได้ รับ จาก เจ้าพนักงาน และ ตกลง ให้ ที่ดิน เป็นของ โจทก์ ไม่ ขอ เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป ต่อมา จำเลย ที่ 1 มี เจตนา ทุจริตมา ขอ จัดการ มรดก ของ นาย แปลก แล้ว จัดการ ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 2 ไป เมื่อ วันที่ 24 กันยายน 2536 ใน ราคา 175,000 บาท ขอให้ศาล พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น ของ โจทก์ ให้ เพิกถอน สัญญาซื้อขายระหว่าง จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย แปลก จำปา กับ จำเลย ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย แปลก จำปา โอน ที่ดิน ตาม ฟ้อง ให้ โจทก์ หาก ไม่ โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา หาก ไม่สามารถ โอน ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ เงิน175,000 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา กับ โจทก์ จริง แต่ กำหนดนัด โอน ใน 6 เดือน เมื่อ ครบ กำหนด สัญญา จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ ไปจัดการ โอน และ รับ เงิน อีก 10,000 บาท แต่ โจทก์ เพิกเฉย จำเลย ที่ 1จึง ถือว่า โจทก์ ผิดสัญญา และ ริบ เงินมัดจำ แล้ว ยก ที่ดิน ให้ นาย แปลก จำปา บุตร จำเลย ที่ 1 ครอบครอง ตลอดมา จน กระทั่ง นาย แปลก ตาย เมื่อ ปี 2525 จำเลย ที่ 1 จึง เข้า ครอบครอง ต่อ เรื่อย มา โดย โจทก์ ไม่เคย เข้า ไป ครอบครอง ทำประโยชน์ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เอกสารการ รับ เงิน ของ นาย นพดล จำปา โจทก์ ทำ ปลอม ขึ้น จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดิน ให้ จำเลย ที่ 2 โดยสุจริต ฟ้องโจทก์ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 1251/2536 ของ ศาลชั้นต้น ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ได้รับ โอน ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1โดยสุจริต โจทก์ ไม่มี สิทธิ ขอ เพิกถอน ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ และ ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
วันชี้สองสถาน โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น ชี้สองสถาน แล้ว เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้ งดสืบพยาน แล้ว วินิจฉัย ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ พิพากษายก ฟ้องค่าฤชาธรรมเนียม เป็น พับ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ว่า โจทก์ อ้าง มา ใน ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้สิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1 ให้การ ต่อสู้ ว่า โจทก์ไม่เคย เข้า ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท เลย จึง ชอบ ที่ ศาล จะ ต้อง รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ทั้ง สอง ฝ่าย ให้ สิ้น กระแสความ และ วินิจฉัย ใน ประเด็น นี้เสีย ก่อน ว่า โจทก์ ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท หรือไม่ การ ที่ศาลชั้นต้น ชี้สองสถาน กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท แล้ว สั่ง ให้ งดสืบพยานและ พิพากษายก ฟ้อง โดย ยก เอา สัญญา มัดจำ ขึ้น วินิจฉัย เพียง อย่างเดียวโดย มิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง ให้ สิ้น กระแสความ ก่อน จึง เป็น การ ไม่ชอบพิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใหม่ตั้งแต่ การ ชี้สองสถาน ให้ ถูกต้อง แล้ว พิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดีค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สอง ศาล ให้ ศาลชั้นต้น รวม สั่ง เมื่อ พิพากษา ใหม่
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ระหว่าง ยื่นฎีกา โจทก์ ถึงแก่กรรมนาย สมโภช แก้วพิทยา ทายาท ของ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน จำเลย ที่ 1 ไม่ คัดค้าน ศาลฎีกา อนุญาต มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาจำเลย ที่ 1 ว่า คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็น การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง นอกเหนือ ไป จาก ที่ ปรากฏ ใน สำนวน ตาม คำ บรรยายฟ้อง ของ โจทก์ นั้น เห็นว่า ตาม คำบรรยายฟ้อง ของ โจทก์ อ้างว่า เมื่อทำ สัญญา มัดจำ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 1 แล้ว จำเลย ที่ 1 และนาย แปลก จำปา ตกลง ให้ โจทก์ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ไว้ ก่อน และ ต่อมา นาย นพดล จำปา บุตร ของ นาย แปลก ได้รับ เงิน ค่าที่ดิน จาก สามี โจทก์ อีก 2,100 บาท เมื่อ วันที่ 11 กันยายน2535 ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 และ แจ้ง ว่า ไม่ได้ รับ หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ สำหรับ ที่ดินพิพาท เพื่อ โอน ให้ โจทก์ ตาม ข้อตกลงจำเลย ที่ 1 และ นาย นพดล จึง ตกลง ให้ ที่ดินพิพาท เป็น ของ โจทก์ โดย จะ ไม่ ขอ เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท อีก ต่อไป และ มี คำขอ ท้ายฟ้อง ให้ศาล พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น ของ โจทก์ แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ฟ้องโดย อาศัย สิทธิ ใน ฐานะ เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท ซึ่ง ได้ สิทธิ โดย การครอบครอง หาใช่ ฟ้อง โดย อาศัย สิทธิเรียกร้อง ตาม สัญญา มัดจำ ไม่แม้ โจทก์ จะ อ้าง ถึง สัญญา มัดจำ และ หนังสือ รับ เงิน ค่าที่ดิน ตาม เอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 1 และ 2 ก็ เป็น การ บรรยาย ให้ เห็น ความ เป็น มา ของที่ดินพิพาท ว่า โจทก์ ได้ มา อย่างไร เมื่อ ที่ดินพิพาท เป็น ที่ดินมือเปล่า การ ได้ สิทธิ ใน ที่ดินพิพาท จึง อาจ ได้ มาจาก นิติกรรม หรือ ได้ มาโดย การ ส่งมอบ การ ครอบครอง แก่ กัน อันเป็น การ โอน โดย ข้อเท็จจริง ก็ ได้เมื่อ โจทก์ อ้างว่า เจ้าของ สิทธิ เดิม ได้ มอบ การ ครอบครอง ให้ แล้วโจทก์ จึง เป็น ผู้ครอบครอง ที่พิพาท แต่ จำเลย ที่ 1 ให้การ ต่อสู้ ว่าโจทก์ ไม่เคย เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท เลย ก็ ชอบ ที่ ศาล จะ ต้อง ฟัง พยานหลักฐาน ของ ทั้ง สอง ฝ่าย ให้ สิ้น กระแสความ และ วินิจฉัย ใน ประเด็น ว่าโจทก์ ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท หรือไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง คดี นี้ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ขอให้ พิพากษากลับ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ที่ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา ใหม่ แล้ว พิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี จึง เป็นคดี ไม่มี ทุนทรัพย์ ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล 200 บาท ตาม ตาราง 1 ข้อ 2 ก.ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ จำเลย ที่ 1 เสีย ค่าขึ้นศาลอย่าง คดีมีทุนทรัพย์ จึง เสีย เกิน มา ”
พิพากษายืน คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ส่วน ที่ เกิน 200 บาท ให้ แก่จำเลย ที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ