คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกันขอให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินได้ตามสัญญาขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาหรือคืนเงินมัดจำดังนั้นสภาพแห่งข้อหาจึงมิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000บาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 และ ส่งมอบ ที่ดิน คืน โจทก์ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 11,966.50 บาท และ ให้ใช้ ค่าเสียหาย นับแต่ วันฟ้อง เดือน ละ 1,000 บาท แก่ โจทก์ จนกว่าจำเลย และ บริวาร จะ ออกจาก ที่ดิน และ ส่งมอบ ที่ดิน ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ขอให้ ยกฟ้อง และ บังคับ ให้ โจทก์ ไป ยื่นคำขอ รังวัด แบ่งแยก ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่ 206 เนื้อที่ 25 ไร่และ จดทะเบียน โอน แบ่งแยก ให้ จำเลย โดย จำเลย จะ นำ เงิน จำนวน 95,000 บาทที่ ต้อง ชำระ โจทก์ มา วางศาล หาก โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาเป็น การแสดง เจตนา แทน โดย ให้ โจทก์ ส่งมอบ น.ส. 3 ตาม ฟ้องแย้ง ให้ จำเลยไป ทำการ แบ่งแยก หาก โจทก์ ไม่สามารถ แบ่งแยก ที่ดิน ให้ จำเลย ด้วยประการใด ๆ อันเป็น การ พ้นวิสัย ให้ โจทก์ คืนเงิน 80,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ถัด จาก วันที่ 30 เมษายน2534 ตลอด ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน ครบถ้วน แก่ จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาย ริ้ว เมณฑ์กูล สามี โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ ยื่น คำร้อง ขอ เข้า เป็น คู่ความ แทนที่ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง และ ยกฟ้อง แย้ง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก อุทธรณ์ ของ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก ที่ดินโดย อ้างว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน จาก โจทก์ เนื้อที่ 25 ไร่ราคา 175,000 บาท วาง มัดจำ 80,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ จำเลย จะ ชำระให้ แก่ โจทก์ ใน วันที่ 30 เมษายน 2534 ซึ่ง เป็น วัน จดทะเบียน โอน ที่ดินเมื่อ ถึง กำหนด นัด จำเลย ไม่ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ โจทก์ จึงริบ มัดจำ และ ถือว่า สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน เลิกกัน ที่ดิน ที่ จำเลยบุกรุก ประมาณ 10 ไร่ หาก ให้ เช่า จะ ได้ ค่าเช่า ปี ละ 12,000 บาทจำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ผิดสัญญา จะซื้อขาย ที่ดิน เพราะไม่สามารถ แบ่งแยก ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ตาม สัญญา ได้ ขอให้ ยกฟ้อง และบังคับ โจทก์ รังวัด แบ่งแยก ที่ดิน เนื้อที่ 25 ไร่ และ จดทะเบียน โอนที่ดิน ให้ จำเลย ตาม สัญญา จำเลย จะ นำ เงิน ค่าที่ดิน จำนวน 95,000 บาทชำระ ให้ แก่ โจทก์ หาก โจทก์ ไม่สามารถ แบ่งแยก ที่ดิน ได้ ให้ โจทก์ คืนเงินมัดจำ 80,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย สภาพ ข้อหา แห่ง คดี จึง มิใช่ฟ้องขับไล่ บุคคล ใด ออกจาก อสังหาริมทรัพย์ อัน มีค่า เช่า หรือ อาจ ให้ เช่าได้ ใน ขณะ ยื่น คำฟ้อง ไม่เกิน เดือน ละ 4,000 บาท ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2วินิจฉัย แต่ เป็น คดี ที่พิพาท กัน ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ซึ่งราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ เกินกว่า50,000 บาท จึง ไม่ต้องห้าม มิให้ คู่ความ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม มาตรา224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ยกอุทธรณ์ ของ โจทก์โดย ไม่ วินิจฉัย ตาม ประเด็น ข้อพิพาท จึง เป็น การ มิชอบ แม้ คู่ความจะ ได้ นำสืบ ข้อเท็จจริง กัน มา เสร็จสิ้น เป็น การ เพียงพอ ที่ ศาลฎีกาจะ วินิจฉัย ประเด็น ข้อพิพาท เสีย เอง ได้ ก็ ตาม แต่ สมควร ย้อนสำนวนให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 เป็น ผู้วินิจฉัย ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบ ด้วย มาตรา 247 เพราะ ผล แห่ง การ วินิจฉัยของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 อาจ นำ ไป สู่ การ จำกัดสิทธิ การ ฎีกา ของ คู่ความ ได้ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share