คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2520 ถึง ปี 2524 คือ เครื่องหมายการค้า+++++++++++++ และ ++++++++++ ใช้กับสินค้าตามรายการจำพวกสินค้าเดิมตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำพวกที่ 42วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหาร จำพวกที่ 44 น้ำแร่และน้ำอัดลมซึ่งเป็นเองและทำขึ้น จำพวกที่ 45 ยาสูบที่แต่งแล้วและยังมิได้แต่ง และจำพวกที่ 48 เครื่องหอม (รวมทั้งเครื่องเบ็ดเตล็ดสำหรับแต่งกายตบแต่งผิว สิ่งที่ทำขึ้นใช้สำหรับฟัน สำหรับผม และสบู่หอม) ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่หันหน้าเข้าหากันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 (ใหม่) ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 รายการสินค้า แหนบรถยนต์ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 เอกสารหมาย จ.40 โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ 1 ต่อไป
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสิบว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
++
++ โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันกับรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า “กระทิงแดง” อยู่ด้านล่าง ซึ่งโจทก์จดทะเบียนเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์คือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟบรรจุขวดและกระป๋องและสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ และกระเป๋าคาดเอว สินค้าของโจทก์ผลิตและจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อประชาชนเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงมาแล้วเป็นเวลา 15 ปีจำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงต่อสู้กันสำหรับใช้กับสินค้าแหนบรถยนต์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์
++ ส่วนจำเลยที่ 1นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง2 ตัว หันหน้าชนกัน ด้านล่างมีคำว่า “ตราวัวชนกัน” เมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 และจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตลอดมา เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการต่ออายุการจดทะเบียน 2 ครั้ง ในปี 2515 และ 2525 แล้วขาดต่ออายุในปี 2535 จึงมายื่นคำขอจดทะเบียนอีกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051โดยตัดคำว่า “ตราวัวชนกัน” ออก
++
++ เห็นว่า จำเลยมีนายนิพนธ์ แช่มสาครซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นพยานเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตแหนบรถยนต์จำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันกับสินค้าแหนบรถยนต์เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้ว และได้ให้นายวิรัตน์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 แม้ตามทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีชื่อนายวิรัตน์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่นายวิรัตน์ก็เบิกความยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้นายวิรัตน์ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ไปยื่นคำขอจดทะเบียนโดยใช้ชื่อนายวิรัตน์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีนายอภิชัย คีลาวัฒน์ อายุ 36 ปี ประกอบอาชีพค้าขายอะไหล่รถยนต์ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยรับช่วงกิจการในครอบครัวมาดำเนินการเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยที่ 1 ขายแหนบรถยนต์ซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่สีแดงให้ร้านของครอบครัวพยานมาตั้งแต่พยานยังเป็นเด็ก โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบโต้แย้งข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยโต้แย้งการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 มาก่อนแต่อย่างใด
++
++ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้วโดยสุจริตตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เมื่อปี 2520
++
++ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 134051ไม่มีคำว่า “ตราวัวชนกัน” จึงแตกต่างและเป็นคนละเครื่องหมายกับเครื่องหมายการค้าที่เคยจดทะเบียนไว้ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 นั้น
++ เห็นว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวอยู่ที่รูปวัวกระทิง2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน คำว่า “ตราวัวชนกัน” เป็นเพียงส่วนประกอบเมื่อจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายรูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันอันเป็นส่วนสาระสำคัญนั้นมายื่นขอจดทะเบียนใหม่ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเครื่องหมายเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ใช้มาก่อนโดยสุจริตดังกล่าวแล้วนั่นเอง จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าชอบที่จะรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27วรรคหนึ่ง
++ ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้วางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า เครื่องหมายรูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงนั้น
++ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นวัวกระทิงสีแดง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายดังกล่าวมาก่อนโดยสุจริต ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้นประกอบกับสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องบริโภคอุปโภค ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นเครื่องอะไหล่แหนบรถยนต์อันเป็นเครื่องกล จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกันมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันนั้นมาอีกกว่า 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใดจึงไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า รูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย

ย่อยาว

คดีนี้เดิมโจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรี ต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามที่คู่ความทุกฝ่ายตกลงกันร้องขอ ตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โจทก์มอบอำนาจให้นายเฉลียว อยู่วิทยา หรือนายสานิต หวังวิชา เป็นผู้ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ ๒ เป็นประธานคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๑๐ เป็นกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้คือ
๑) เครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ไม่จำกัดสี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๒ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกนอกจากใบชาจีน ชาผง กาแฟผง เมล็ดกาแฟ ข้าวเกรียบกุ้ง และน้ำปลาตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๙๖๘๗๗ ทะเบียนเลขที่ ๗๒๖๙๙ จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๙๒๖๖๖,๙๖๘๗๘, ๒๒๑๔๓๐, ๒๒๑๔๒๙, ๒๓๘๑๑๘, ๒๒๑๔๓๑, ๒๓๙๙๙๒, ๒๔๑๘๙๖,๒๖๘๙๐๕, ๒๖๘๙๐๒, ๒๙๐๙๘๒, ๒๙๒๔๒๒, ๒๙๒๕๙๖, ๓๐๑๙๙๓, ๓๐๑๖๙๓,๒๙๖๔๖๖, ๒๙๖๔๖๗ และ ๓๐๑๙๙๒
๒) เครื่องหมายการค้า +++++++++ เป็นรูปกระทิงแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่าง ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๓ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกนอกจากเบียร์ ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๑๑๘๔๘๗ ทะเบียนเลขที่ ๗๔๙๔๐
๓) เครื่องหมายการค้า ++++++++++ เป็นรูปกระทิงแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยคำว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่าง ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๔ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกนอกจากโซดา ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๙๖๘๗๘ ทะเบียนเลขที่ ๖๔๑๓๖จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๙๖๘๗๗, ๒๙๐๙๘๒, ๒๙๒๔๒๒, ๒๙๒๕๙๖, ๓๐๑๙๙๓, ๓๐๑๖๙๓,๒๙๖๔๖๖, ๒๙๖๔๖๗ และ ๓๐๑๙๙๒
๔) เครื่องหมายการค้า ++++++++ เป็นรูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ไม่จำกัดสี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๓ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกนอกจากเบียร์ ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๑๐๓๔๑๗ ทะเบียนเลขที่ ๖๕๙๑๓
๕) เครื่องหมายการค้า +++++++++ เป็นรูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ไม่จำกัดสีตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยคำว่า”กระทิงแดง” อยู่ด้านล่าง ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๕ (เดิม) รายสินค้าทั้งจำพวก ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๑๑๘๔๘๘ ทะเบียนเลขที่ ๘๒๔๖๘
๖) เครื่องหมายการค้า +++++++++ เป็นรูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ไม่จำกัดสีตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยคำว่า”กระทิงแดง” อยู่ด้านล่าง ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๘ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวก ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๑๑๘๔๘๙ ทะเบียนเลขที่ ๗๙๙๒๗จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๘๑๑๙
นอกจากนี้โจทก์ยังเคยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ไม่จำกัดสี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๓ (เดิม)รายการสินค้าทั้งจำพวก ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๘๐๕๑๖ ทะเบียนเลขที่ ๕๐๖๔๘ เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่กำลังต่อสู้กันตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่าง ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๓ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกและจำพวกที่ ๔๒ (เดิม) รายการสินค้าเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๙๒๖๖๕ ทะเบียนเลขที่ ๕๙๔๒๑ และคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๙๒๖๖๖๖ ทะเบียนเลขที่ ๖๐๕๘๔ กับเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงตัวเดียว ไม่จำกัดสี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๒ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกยกเว้นไอศครีม กะปิ พริกไทย แป้งมัน เม็ดสาคู ผงชูรส มะขามเปียกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๑๓๖๓๖๕ ทะเบียนเลขที่ ๙๓๙๓๕ และโจทก์ยังเป็นเจ้าของและเคยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันและเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดงใช้กับสินค้าเครื่องดื่มบำรุงกำลังและสินค้าอื่น ๆ จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ++++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่ เช่นเดียวกับของโจทก์ ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๒ (ใหม่) รายการสินค้าแหนบรถยนต์ จำเลยที่ ๑ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ เมื่อวันที่๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ โดยมีเจตนาไม่สุจริต จงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ มีลักษณะคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ ๑ ต่อไป ทั้งที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีเสียงเรียกขานเหมือนกันโจทก์ได้รับการจดทะเบียนก่อนจำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานกว่า ๑๕ ปี และโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าเครื่องดื่มบำรุงกำลังและสินค้าอื่นจนมีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การกระทำของจำเลยที่ ๑เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงขัดต่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และขัดต่อแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ ให้จำเลยที่ ๑ถอนการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ ๒๓๔๐๕๑หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาให้จำเลยที่ ๑ เลิกผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑และเก็บสินค้าจากร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ ๑ และห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่รับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอมจำเลยที่ ๑ ประกอบการค้าโดยผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทแหนบรถยนต์และอะไหล่ทุกชนิดเพื่อประกอบกับรถยนต์และรถบรรทุกดำเนินกิจการมากว่า ๓๕ ปี จำเลยที่ ๑ มอบอำนาจให้นายนิพนธ์แช่มสาคร เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทน ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ ๑ ได้มอบหมายให้นายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนที่ ๓๑๒๗๑ (คำขอจดทะเบียนเลขที่ ๔๕๓๗๗) เมื่อวันที่๓ พฤษภาคม ๒๕๐๕ เป็นรูปประดิษฐ์ในลักษณะวัว ๒ ตัว วิ่งเข้าหากันด้านล่างมีคำว่า “ตราวัวชนกัน” ใช้สีแดงเป็นจุดเด่นสะดวกต่อการสังเกตโดยจดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๓ (เดิม) ครอบคลุมสินค้าประเภทเหล็ก และมีการต่ออายุติดต่อกันมา จนครั้งสุดท้ายต่ออายุเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๕ ซึ่งครบกำหนดอายุคุ้มครองตามกฎหมาย๑๐ ปี ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๕ แต่เนื่องจากตัวแทนผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๑ ได้ลาออกจากบริษัทจำเลยที่ ๑ เพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัวไม่สามารถติดต่อได้ ทำให้จำเลยที่ ๑ ไม่อาจต่ออายุเครื่องหมายการค้าและทำการโอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ทันภายในกำหนด แต่ด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ ๑ ที่จะยึดถือและใช้เครื่องหมายการค้านี้ จำเลยที่ ๑จึงทำการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใหม่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้เครื่องหมายการค้าเดิมที่ถูกนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งเพิกถอน ทำการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ภายใน ๑๒ เดือน เป็นการแสดงเจตนาที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่เคยใช้เดิม ซึ่งจำเลยที่ ๑ ได้มีการใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวตลอดระยะเวลา๓๕ ปี ที่ผ่านมา ลูกค้าผู้ใช้อะไหล่ ผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถ และประชาชนทั่วไปที่ใช้ผลิตภัณฑ์แหนบรถยนต์ทราบดีว่าแหนบรถยนต์ตราวัวชนกันสีแดงนี้คือสินค้าที่ผลิตจากโรงงานของจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๑ ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ มาก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ ไม่ได้ลอกเลียนแบบหรือเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปวัวกระทิงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นวัวกระทิงคู่ที่วิ่งเข้าต่อสู้กันในแนวราบ ในลักษณะก้มหัวเขาชนกันเสมอแนวราบ หางชูขึ้นตั้งฉากกับแนวระดับเหนือหัว ตัวกระทิงอ้วนกลม หลังเป็นรูปโค้ง ขาคู่หน้าและคู่หลังซ้อนติดกัน ฉากหลังเป็นวงกลมใหญ่อยู่ตรงกลาง ส่วนรูปวัวกระทิงในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ มีรูปแบบเดิมมาจากทะเบียนที่ ๓๑๒๗๑ (คำขอจดทะเบียนเลขที่ ๔๕๓๗๗) เพียงแต่ตัดคำว่า “ตราวัวชนกัน” ด้านล่างออกมีลักษณะเป็นวัวกระโดดเข้าหากันตัววัวเอียงทำมุมกับแนวพื้น ขาหน้ายกสูงกว่าขาหลัง เขาวัวชูสูงขึ้น หางเหยียดตรงตามลำตัว ขาแยกออกจากกันทั้งสี่ข้าง ตัววัวกำยำล่ำสันไม่อ้วนกลม หลังเป็นลอนคลื่นไม่โค้งเหมือนของโจทก์ และไม่มีฉากหลังวงกลม และมีความแตกต่างในการนำไปใช้กับสินค้าทั้งจำพวกสินค้าและรายการสินค้า ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางการค้าระหว่างกัน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายไม่ว่าด้านใด โจทก์ไม่ได้ต่ออายุเครื่องหมายการค้าทะเบียนที่ ๖๔๒๗๓, ๕๐๖๔๘, ๙๓๙๓๕, ๕๙๔๒๑, ๖๐๕๘๔และไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนใหม่ตามกฎหมาย นายทะเบียนจึงมีคำสั่งเพิกถอนออกจากทะเบียน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ มีความเหมือนคล้ายทำให้ไม่สามารถรับจดทะเบียนได้และให้ระงับการจดทะเบียนไว้ จำเลยที่ ๑อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยเหตุผลว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ ๑ เลขที่ ๒๓๔๐๕๑ ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยให้รอไว้ ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เกินกำหนดระยะเวลา ๙๐ วันตามกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ ไปตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยถูกต้องและไม่ขัดต่อแนวทางคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าการประชุมมีกรรมการเข้าประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและได้พิจารณาอุทธรณ์โดยเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑รูปวัวกระทิงคู่กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้คือรูปวัวกระทิงคู่ ซึ่งมีรูปวัวกระทิงคู่วางทับรูปวงกลมกับคำว่ากระทิงแดงและรูปวัวกระทิง และจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ ใช้หลักเกณฑ์อันเป็นแนวทางในการพิจารณาวินิจฉัยความเหมือนหรือคล้ายกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยพิจารณาจากเสียงและสำเนียงเรียกขาน รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้า ลักษณะการวางรูปรอยประดิษฐ์ การใช้เครื่องหมายการค้ากับตัวสินค้า พิจารณาตัวสินค้าและพิจารณาเจตนาของผู้จดทะเบียน ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ เป็นรูปประดิษฐ์คล้ายวัวกระทิงคู่ หันหน้าเข้าหากันเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑เรียกขานได้ว่า ตราวัวกระทิงหรือตราวัวกระทิงคู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจเรียกขานได้ว่าตรากระทิงหรือตรากระทิงแดงคู่ นับว่ามีเสียงเรียกขานได้เหมือนกัน จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ ๑๒ (ใหม่) ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามทะเบียนเลขที่ ๗๒๖๙๙ ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๒(เดิม) เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ๖๕๙๑๓ กับ ๗๔๙๔๐ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ ๔๓ (เดิม) เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ๖๔๑๓๖ ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๔ (เดิม) เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ๘๒๔๖๘ ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ ๔๕ (เดิม) และเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ๗๙๙๒๗ ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ ๔๘(เดิม) ซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกและต่างรายการสินค้าต่างชนิดกันกับของจำเลยที่ ๑ อย่างชัดเจน ความคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ในฐานะคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ ชอบที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้และให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ ของจำเลยที่ ๑ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ ของจำเลยที่ ๑ ต่อไป โดยเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนแล้วให้วางเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิว่า รูปกระทิง ให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเป็นพับ
โจทก์และจำเลยทั้งสิบอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.๑ โจทก์ได้มอบอำนาจให้นายเฉลียว อยู่วิทยา เป็นผู้ฟ้องคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.๒ จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.๓ จำเลยที่ ๒ เป็นประธานคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๑๐ เป็นกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เมื่อระหว่างปี ๒๕๒๐ ถึง ปี ๒๕๒๔ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังนี้
๑. เครื่องหมายการค้า ++++++++ เป็นรูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันไม่จำกัดสี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๒ เดิม และจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้าตามคำขออื่นหลายคำขอ ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสาร หมาย จ.๖
๒. เครื่องหมายการค้า +++++++++ เป็นรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่างตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๗
๓. เครื่องหมายการค้า ++++++++ เป็นรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน มีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรสีแดงคำว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่าง ใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๔๔ (เดิม) รายการสินค้าทั้งจำพวกนอกจากโซดาตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๘
๔. เครื่องหมายการค้า +++++++++ เป็นรูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ไม่จำกัดสีตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๙
๕. เครื่องหมายการค้า ++++++++ เป็นรูปกระทิงคู่สีแดงตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่าง ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๑๐
๖. เครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปกระทิงสีแดงต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า “กระทิงแดง”อยู่ด้านล่างตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๑๑
นอกจากนี้โจทก์ยังเคยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ถูกเพิกถอนไปแล้วรวม ๓ เครื่องหมาย ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๑๒ ถึง จ.๑๔ และเคยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงตัวเดียวไม่จำกัดสี ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมายจ.๑๕ เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมายจ.๑๒ ถึง จ.๑๕ ถูกเพิกถอนเนื่องจากไม่ได้ต่ออายุการจดทะเบียนนอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันทั้งจำกัดสีและไม่จำกัดสี รูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดงทั้งที่มีตัวอักษรและไม่มีตัวอักษรประกอบรวมทั้งเครื่องหมายที่เป็นตัวอักษรเช่น คำว่า “กระทิงแดง” และ “RED BULL” ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามเอกสารหมาย จ.๑๗ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ที่ต่างประเทศรวม ๑๐๓ คำขอ ตามเอกสารหมาย จ.๑๘ เครื่องหมายการค้าต่าง ๆ ของโจทก์ใช้กับสินค้าเครื่องดื่ม ทั้งเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่กาแฟที่บรรจุขวดและบรรจุกระป๋อง ตามวัตถุพยานหมาย จ.๑๙ และ จ.๒๐ภาพถ่ายหมาย จ.๒๑ และ จ.๒๒ และใช้กับสินค้าอื่น เช่น ผ้าเย็น หมวกเสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ กระเป๋าคาดเอว ถุงใส่ของ เป็นต้น ตามวัตถุพยานหมาย จ.๒๓ ถึง จ.๓๑ โจทก์มีโรงงานในประเทศไทยและในต่างประเทศโดยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย โจทก์มอบให้บริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดงเป็นผู้จัดจำหน่ายและโฆษณา ส่วนสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศ โจทก์เป็นผู้ดำเนินการเอง ตามเอกสารหมาย จ.๓๔ และ จ.๓๕โจทก์ทำการโฆษณาในประเทศไทยทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ติดตั้งป้ายโฆษณาตามถนน และสถานที่ต่างๆ และทำเป็นปฏิทินด้วย ตามเอกสารหมาย จ.๓๖ ถึง จ.๓๘ เครื่องดื่มกระทิงแดงของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลก เมื่อประชาชนทั่วไปเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่ต่อสู้กัน ตามคำขอจดทะเบียนเอกสารหมายจ.๔๐ ที่จำเลยที่ ๑ อ้างว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาแต่เดิมและได้เคยจดทะเบียนไว้นั้นไม่เป็นความจริง เพราะผู้ขอจดทะเบียนคือนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ ๑ ขอจดทะเบียนดังกล่าวนั้น เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ ๑ แสดงว่ามีเจตนาไม่สุจริต เพราะจำเลยที่ ๑ อาจใช้สีอื่นก็ได้นอกจากสีแดง และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายกระทิงคู่สีแดงมาก่อนจำเลยที่ ๑ เป็นเวลาถึง ๑๕ ปี เมื่อจำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอจดทะเบียนโจทก์จึงยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ ตามคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า เอกสารหมาย จ.๔๑ จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์โจทก์ได้ยื่นคำคัดค้าน ต่อมาคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.๔๒ โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะจำเลยที่ ๑ ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีเจตนาไม่สุจริตแอบอ้างใช้เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงของโจทก์โดยอาศัยการโฆษณาของโจทก์ ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ ๑เป็นสินค้าของโจทก์
จำเลยที่ ๑ นำสืบว่า จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อปี ๒๕๐๓ ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย ล.๒ ประกอบกิจการผลิตแหนบรถยนต์ส่งขายแก่ร้านอะไหล่และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านตามตัวอย่างสินค้าแหนบรถยนต์วัตถุพยานหมาย ล.๓ และ ล.๔โดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง ๒ ตัว หันหน้าชนกันซึ่งจำเลยที่ ๑ ให้นายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ น้องชายของนายพิพัฒน์ธนาบริบูรณ์ กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ ในนามส่วนตัว ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.๕ แต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในกิจการของจำเลยที่ ๑ มาตลอด เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นรูปวัวกระทิง๒ ตัว วิ่งเข้าหากันและมีตัวหนังสือว่า “ตราวัวชนกัน” มีการต่ออายุ๒ ครั้ง ครั้งสุดท้ายต่ออายุเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๕ หลังจากนั้นนายวิรัตน์ได้ลาออกจากบริษัทจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ไม่สามารถติดต่อนายวิรัตน์ให้มายื่นขอต่ออายุการจดทะเบียนได้ ดังนั้นเมื่อทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวครบกำหนดอายุ ๑๐ ปี ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๕แล้วก็สิ้นอายุไปเพราะขาดต่ออายุ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕จำเลยที่ ๑ มอบอำนาจให้นายนิพนธ์ แช่มสาคร ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ล.๖ระยะเวลานับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าขาดต่ออายุจนถึงวันที่ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเวลา ๑๓๗ วัน แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแจ้งว่ามีผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนให้จำเลยที่ ๑ ตามคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.๗ จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยที่ ๑ ใช้กับสินค้าแตกต่างกันชัดเจน ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนินของสินค้าตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.๙
จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐ นำสืบว่า เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน๒๕๓๙ ได้มีการประชุมคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ครั้งที่ ๔๓/๒๕๓๙ณ ห้องประชุมกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ ๒ เข้าร่วมประชุมในฐานะประธานกรรมการ เนื่องจากเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีกรรมการคือผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนอัยการสูงสุด จำเลยที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๗ ที่ ๘ และที่ ๙ ร่วมประชุมด้วยมีการพิจารณาอุทธรณ์เครื่องหมายการค้าประเด็นความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗กันยายน ๒๕๓๕ ในสินค้าจำพวกที่ ๑๒ รายการสินค้าแหนบรถยนต์และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ ๑ ขอจดทะเบียนเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วและเป็นที่แพร่หลาย รวม ๑๑ เครื่องหมาย นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ตรวจพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ ของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์โดยเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑ กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านรวม๑๑ เครื่องหมาย ดังกล่าวแล้ว มีความเห็นโดยสรุปว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ ๑ เป็นเครื่องหมายที่คล้ายกัน แต่เนื่องจากเครื่องหมายของจำเลยที่ ๑ ใช้กับสินค้าในจำพวก ๑๒ (ใหม่) รายการสินค้าแหนบรถยนต์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าในจำพวกและรายการสินค้าต่างกับสินค้าของจำเลยที่ ๑ อย่างชัดเจน และสถานที่จำหน่ายสินค้าก็มิได้อยู่ที่เดียวกัน ความคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑จึงชอบที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ จำเลยที่ ๒ ในฐานะประธานคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทราบ การวินิจฉัยอุทธรณ์โดยจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๑๐เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ขัดต่อข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และแนวทางคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่ได้เคยปฏิบัติมาและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ ถึง ปี ๒๕๒๔ คือ เครื่องหมายการค้า+++++++++++++ และ ++++++++++ ใช้กับสินค้าตามรายการจำพวกสินค้าเดิมตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพวกที่ ๔๒วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหาร จำพวกที่ ๔๔ น้ำแร่และน้ำอัดลมซึ่งเป็นเองและทำขึ้น จำพวกที่ ๔๕ ยาสูบที่แต่งแล้วและยังมิได้แต่ง และจำพวกที่ ๔๘ เครื่องหอม (รวมทั้งเครื่องเบ็ดเตล็ดสำหรับแต่งกายตบแต่งผิว สิ่งที่ทำขึ้นใช้สำหรับฟัน สำหรับผม และสบู่หอม) ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๖ จ.๘ จ.๑๐ และ จ.๑๑ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕ จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่หันหน้าเข้าหากันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๒ (ใหม่) ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. ๒๕๓๔ รายการสินค้า แหนบรถยนต์ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ เอกสารหมาย จ.๔๐ โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ ๑ อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ ๑ ต่อไป
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสิบว่าจำเลยที่ ๑ มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑ ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันกับรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า “กระทิงแดง” อยู่ด้านล่าง ซึ่งโจทก์จดทะเบียนเมื่อวันที่๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๐ และวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔ ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.๖ จ.๘ จ.๑๐ และ จ.๑๑ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์คือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟบรรจุขวดและกระป๋องและสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ และกระเป๋าคาดเอว สินค้าของโจทก์ผลิตและจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อประชาชนเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงมาแล้วเป็นเวลา ๑๕ ปีจำเลยที่ ๑ จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงต่อสู้กันสำหรับใช้กับสินค้าแหนบรถยนต์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ ๑คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยที่ ๑ เป็นของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ ๑นำสืบว่า จำเลยที่ ๑ ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง๒ ตัว หันหน้าชนกัน ด้านล่างมีคำว่า “ตราวัวชนกัน” เมื่อวันที่ ๓พฤษภาคม ๒๕๐๕ ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.๕ และจำเลยที่ ๑ ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ ๑ ตลอดมา เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการต่ออายุการจดทะเบียน ๒ ครั้ง ในปี ๒๕๑๕ และ ๒๕๒๕ แล้วขาดต่ออายุในปี ๒๕๓๕ จึงมายื่นคำขอจดทะเบียนอีกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ ๒๓๔๐๕๑โดยตัดคำว่า “ตราวัวชนกัน” ออก เห็นว่า จำเลยมีนายนิพนธ์ แช่มสาครซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ และนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นพยานเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า จำเลยที่ ๑ ได้ผลิตแหนบรถยนต์จำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง ๒ ตัว หันหน้าเข้าหากันกับสินค้าแหนบรถยนต์เป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี มาแล้ว และได้ให้นายวิรัตน์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.๕ แม้ตามทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีชื่อนายวิรัตน์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่นายวิรัตน์ก็เบิกความยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าดังกล

Share