คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันและถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันในครั้งใดมิให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันในครั้งอื่นด้วยก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดระยะเวลาตลอดมาและครั้งสุดท้ายชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาและไม่ครบจำนวนโจทก์ยินยอมรับไว้โดยไม่ทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาและจำนวนเงินค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญดังนั้นหากโจทก์ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387ก่อน การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จากการที่จำเลยที่1ไม่ส่งมอบรถคืนรวมทั้งค่าเช่าซื้อที่หักจากราคารถที่ขายไปยังขาดอยู่แก่โจทก์ภายใน7วันตามสัญญาก็เป็นเพียงหนังสือทวงถามถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาโดยจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งพฤติการณ์ถือว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยเหตุอื่นเพราะคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมิใช่เลิกกันโดยผลของสัญญาเพราะเหตุที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไปโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาข้อ9ซึ่งระงับไปแล้วไม่ได้แต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายแก่โจทก์ในการที่จำเลยใช้รถของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบคืนรถแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาเพียงให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดเกินกว่าค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ส่วนที่เกินจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาเช่าซื้อ รถยนต์บรรทุก ของโจทก์ ไป แล้ว ผิดนัด ไม่ชำระ ค่าเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ 10 เป็นต้น มาสัญญาเช่าซื้อ จึง เลิกกัน โดย ไม่ต้อง บอกกล่าว โจทก์ ติดตาม ยึด รถ คืนและ ขาย ไป ได้ ราคา ต่ำกว่า ที่ ให้ เช่าซื้อ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3เป็น ผู้ค้ำประกัน ยอมรับ ผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ขอให้ บังคับ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 458,425 บาท และ ดอกเบี้ย ร้อยละ 18 ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน 91,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง (ฟ้อง วันที่4 กรกฎาคม 2532) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า โจทก์ มีสิทธิฟ้องคดี นี้ หรือไม่ จำเลย ทั้ง สาม ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็นค่าขาดประโยชน์ และ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ ดังกล่าวให้ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด ปัญหา เรื่อง โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี นี้หรือไม่ นั้น เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ให้ โจทก์ดังกล่าว เกิน กำหนด เวลา ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญาเช่าซื้อ ตลอดมา ทุก งวดโดยเฉพาะ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 11 เมษายน2529 เกิน กำหนด เวลา ชำระ งวด ที่ 9 และ งวด ที่ 10 เกือบ ถึง 1 ปีทั้ง ไม่ครบ จำนวน ค่าเช่าซื้อ งวด ที่ 10 ด้วย แต่ โจทก์ ก็ ยอมรับ โดยไม่ ทักท้วง ย่อม หมายความ ว่า จน ถึง วันที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2529 สัญญาเช่าซื้อ ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1ยัง ไม่เลิก กัน แม้ ตาม สัญญาเช่าซื้อ จะ ตกลง กัน ไว้ ใน ข้อ 8 มี ใจความ ว่าถ้า จำเลย ที่ 1 ผิดนัด ชำระ ค่าเช่าซื้อ งวด หนึ่ง งวด ใด ยอม ให้ ถือว่าสัญญา นี้ เลิกกัน โดย โจทก์ มิต้อง บอกกล่าว ก่อน และ ใน ข้อ 10 มีใจความ ว่า ถ้า โจทก์ ยอม ผ่อนผัน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ผิดนัด หรือ ผิดสัญญาครั้ง ใด อย่างใด ไม่ให้ ถือว่า เป็น การ ผ่อนผัน การ ผิดนัด หรือ ผิดสัญญาครั้ง อื่น อย่างอื่น ก็ ตาม แต่เมื่อ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ เกินกำหนด เวลา และ ครั้งสุดท้าย ชำระ ไม่ครบ จำนวน ดังกล่าว มา แล้ว โจทก์ ก็ยินยอม รับ ไว้ โดย มิทักท้วง พฤติการณ์ แสดง ว่า โจทก์ และ จำเลย ที่ 1ปฏิบัติ ต่อ กัน โดย มิได้ ถือเอา กำหนด เวลา ชำระ ค่าเช่าซื้อ รวมทั้ง จำนวนเงิน ค่าเช่าซื้อ แต่ละ งวด ตาม สัญญาเช่าซื้อ เป็น สาระสำคัญ อีก ต่อไปดังนั้น กรณี หาก โจทก์ ประสงค์ จะ เลิกสัญญา ก็ จะ ต้อง บอกกล่าว ให้จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา387 ก่อน กล่าว คือ โจทก์ จะ ต้อง กำหนด ระยะเวลา พอสมควร ให้ จำเลย ที่ 1ชำระ ค่าเช่าซื้อ งวด ที่ ติด ค้าง อยู่ ต่อเมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ภายในระยะเวลา ที่ กำหนด นั้น โจทก์ จึง บอกเลิก สัญญา ได้ ที่ โจทก์ มี หนังสือลงวันที่ 9 มีนาคม 2532 ถึง จำเลย ทั้ง สาม ให้ ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็นค่าขาดประโยชน์ จาก การ ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่นำ รถ มา ส่งมอบ คืน โจทก์เป็น เงิน 140,000 บาท และ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้ออยู่ อีก เป็น เงิน 318,425 บาท แก่ โจทก์ ภายใน 7 วัน ตาม ข้อตกลง ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 และ ข้อ 9 นั้น เห็นว่า หนังสือ ดังกล่าว เป็นเพียง หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลย ทั้ง สาม ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็นค่าขาดประโยชน์ จาก การ ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่นำ รถ มา ส่งมอบ คืน โจทก์ และราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ อยู่ อีก ตาม ข้อตกลง ใน สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 และ ข้อ 9 เท่านั้น ถือไม่ได้ว่า เป็น หนังสือ บอกเลิกสัญญา และ ที่ โจทก์ ฎีกา อ้างว่า พนักงาน ของ โจทก์ ได้ ไป ติดตามทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ ที่ ค้างชำระ ก่อน ที่ โจทก์ จะยึด รถ คืน มา แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่สามารถ ชำระ ให้ ได้ แม้ จะ ได้ความ ดัง โจทก์ ฎีกา ดังกล่าว ก็ ตาม ก็ ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ได้ บอกเลิก สัญญาเช่าซื้อ แก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว แต่ อย่างไร ก็ ตาม การ ที่ โจทก์ ยึดรถ ที่ เช่าซื้อ คืน มาจาก จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2529เพราะ เหตุ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อ เกิน กำหนด เวลา โดย จำเลย ที่ 1ไม่ได้ โต้แย้ง การ ยึด แต่อย่างใด เป็น พฤติการณ์ ที่ ถือได้ว่า โจทก์กับ จำเลย ที่ 1 ต่าง ประสงค์ หรือ สมัครใจ เลิกสัญญา เช่าซื้อ ต่อ กัน แล้วนับแต่ วันที่ โจทก์ ยึด รถ ที่ เช่าซื้อ คืน โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี นี้ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง และ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ไป เสีย ทีเดียว นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ในปัญหา ดังกล่าว ฟังขึ้น บางส่วน
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ต่อไป ว่า จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่าขาดประโยชน์ และ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไปยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ ให้ โจทก์ หรือไม่ เพียงใด ปัญหา ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ยัง ไม่ได้ วินิจฉัย ใน ส่วน อุทธรณ์ ของ โจทก์ ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สาม ต้องร่วมกัน ชำระ ราคา รถ ส่วน ที่ ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ ให้ โจทก์ ตาม ฟ้องหรือไม่ และ ใน ส่วน อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ว่า จำเลย ทั้ง สาม ไม่ต้องร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ที่ เป็น ค่าขาดประโยชน์ แก่ โจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใหม่ เห็นว่า กรณี ที่ สัญญาเช่าซื้อ เลิกกันดังกล่าว มิใช่ เป็น การ เลิกสัญญา กัน โดย ผล ของ สัญญาเช่าซื้อ เพราะ เหตุจำเลย ที่ 1 ผิดนัด ชำระ ค่าเช่าซื้อ หรือ ผิดสัญญา เช่าซื้อ แต่อย่างใดแต่ เป็น กรณี ที่ สัญญา เลิกกัน ด้วย เหตุอื่น คู่สัญญา จึง ไม่มี สิทธิและ หน้าที่ ตาม สัญญา อีก ต่อไป การ ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียก ราคา รถ ส่วน ที่ขาย ไป ยัง ขาด ค่าเช่าซื้อ อยู่ โดย อาศัย ข้อ สัญญา ตาม สัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ซึ่ง ระงับ ไป แล้ว จึง ฟ้อง หาได้ไม่ อุทธรณ์ และ ฎีกา โจทก์ ในปัญหา นี้ จึง ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ดังกล่าว นั้น เห็นว่าเมื่อ สัญญาเช่าซื้อ เลิกกัน นับแต่ วันที่ โจทก์ ยึด รถ ที่ เช่าซื้อ คืน มาเมื่อ วันที่ 19 มิถุนายน 2529 คู่สัญญา จำต้อง ให้ อีกฝ่าย หนึ่ง ได้กลับ สู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม โดย จำเลย ที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ซึ่ง มีหน้าที่ จะ ต้อง คืน รถ เพื่อ ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ให้เช่าซื้อ กลับคืน สู่ฐานะ เดิม ได้ นั้น จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง ใช้ เงิน เป็น ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ใน การ ใช้ รถ ของ โจทก์ ใน ระหว่าง ที่ ตน ยัง ไม่ได้ ส่งมอบ รถ คืน ตาม ควรค่า แห่ง การ นั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และ วรรคสาม เมื่อ จำเลย ที่ 1 ชำระ ค่าเช่าซื้อให้ โจทก์ ครบถ้วน เพียง ถึง งวด ที่ 9 ส่วน งวด ที่ 10 ซึ่ง จะ ต้อง ชำระภายใน กำหนด วันที่ 19 พฤษภาคม 2528 จำเลย ที่ 1 ชำระ ให้ เพียง540 บาท ยัง ชำระ ขาด อยู่ อีก 14,575 บาท โจทก์ ย่อม ได้รับ ความเสียหาย เนื่องจาก ยัง ไม่ได้ รถ ที่ เช่าซื้อ คืน จาก จำเลย ที่ 1 นับตั้งแต่ วันที่ 19 พฤษภาคม 2528 ถึง วันที่ 19 มิถุนายน 2529 ที่ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้แก่ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ ขอ มา เพียง 7 เดือน โดย ให้ เดือน ละ 13,000 บาทรวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 91,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ มา นั้นเป็น ค่าเสียหาย ที่ สมควร แล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ที่ จำเลย ทั้ง สามอุทธรณ์ ใน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สาม ไม่ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหายดังกล่าว แก่ โจทก์ จึง ฟังไม่ขึ้น โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา นี้ แต่ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ โจทก์ จึง ฎีกา ได้ เพียง ขอให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ส่วน นี้ ให้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นเท่านั้น แต่ โจทก์ ฎีกา ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหายส่วน นี้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน 140,000 บาท ซึ่ง เกิน ไป กว่า จำนวนเงินค่าเสียหาย ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ฎีกา โจทก์ ใน ส่วน ที่ ขอให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เกิน ไป กว่า จำนวนเงินค่าเสียหาย ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่ากัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ด้วย เหตุผลดัง วินิจฉัย แล้ว จำเลย ทั้ง สาม จึง ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ที่เป็น ค่าขาดประโยชน์ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เท่านั้นฎีกา โจทก์ ใน ปัญหา นี้ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share