แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ห. เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมิได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1และจำเลยที่1ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งว่าได้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1คดีถึงที่สุดคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีที่มีผลเป็นอย่างเดียวกับคำพิพากษาและเป็นคดีฝ่ายเดียวโจทก์ในฐานะทายาทของ ห. มิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นจึงเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่1ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382การที่จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่2จึงไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นมาเป็นของจำเลยที่2ผู้รับโอนแม้จำเลยที่2จะเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามจำเลยที่2ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอันจะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ห. ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร และ ทายาท ของนาง แหว โคกปรางค์ นาง แหว เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16559 ซึ่ง เป็น ที่ดินพิพาท นาง แหว ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาท จึง ตกเป็น มรดก แก่ โจทก์ แต่ ยัง ไม่ได้ จดทะเบียน รับมรดกเนื่องจาก ก่อน ถึงแก่กรรม นาง แหว ยินยอม ให้ นาย อัมพร เฮงเจริญ สามี โจทก์ นำ โฉนด ที่ดินพิพาท ไป มอบ ให้ จำเลย ที่ 1 ยึดถือ ไว้ เป็น ประกันการกู้ยืมเงิน ที่นาย อัมพร กู้ยืม จาก จำเลย ที่ 1 ต่อมา จำเลย ที่ 1กระทำการ โดย ไม่สุจริต ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดย อ้างว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อ มาจาก นาง แหว เมื่อ ปี 2522และ ครอบครอง โดย ปรปักษ์ จน ได้ กรรมสิทธิ์ และ แสดง พยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ศาลชั้นต้น เชื่อ ว่า เป็น ความจริง และ มี คำสั่ง ให้จำเลย ที่ 1 ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท แล้ว จำเลย ที่ 1 จดทะเบียนใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท และจดทะเบียน โอน ขาย ให้ จำเลย ที่ 2 การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ทำให้ โจทก์เสียหาย จำเลย ที่ 1 จึง ไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 2ผู้ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาทด้วย ขอให้ เพิกถอน รายการ จดทะเบียน ที่ ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท เพิกถอน นิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ทั้ง สอง และ รายการ จดทะเบียน โอน ขาย กับ ให้ที่ดินพิพาท กลับคืน เป็น ชื่อ ของ นาง แหว ให้ โจทก์ ดำเนินการ ดังกล่าว ได้ ฝ่ายเดียว โดย ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองให้ จำเลย ที่ 2 มอบ โฉนด ที่ดินพิพาท ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ดำเนินการจดทะเบียน เพิกถอน ดังกล่าว หาก ไม่ยอม ให้ พิพากษายก เลิก โฉนด ที่ดินพิพาทและ ให้ ออก โฉนด ที่ดินพิพาท ใหม่ เพื่อ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม และ มอบ โฉนด ที่ดิน ให้ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหายให้ โจทก์ 8,000 บาท
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 48/2533 ว่า ที่ดินพิพาท ตกเป็น กรรมสิทธิ์ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วจำเลย ที่ 2 ซื้อ และ รับโอน ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 โดยสุจริตเสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียน โดยสุจริต แล้ว โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง ขอให้เพิกถอน ได้ ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม การ ที่ โจทก์ อยู่ ใน ที่ดินพิพาททำให้ จำเลย ที่ 2 ขาด ประโยชน์ เป็น เงินเดือน ละ 1,000 บาท คิด ถึงวันฟ้อง แย้ง เป็น เงิน 6,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง ให้ โจทก์ ออก ไป จากที่ดินพิพาท ห้าม เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป และ ให้ โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหายเป็น เงิน 6,000 บาท พร้อม ค่าเสียหาย อีก เดือน ละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้อง แย้ง จนกว่า จะ ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท แก่ จำเลย ที่ 2
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ทำนอง เดียว กับ คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2ซื้อ และ รับโอน ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1 โดย ไม่สุจริต เพราะรู้ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่เคย ครอบครอง ที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งเคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน การ ได้กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16559 ตำบล พลายชุมพล อำเภอ เมือง พิษณุโลก จังหวัด พิษณุโลก ของ จำเลย ที่ 1 ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1382 และ เพิกถอน การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ดังกล่าวตาม สัญญา ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2533 ระหว่าง จำเลย ทั้ง สอง ถ้าไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองกับ ให้ จำเลย ที่ 2 คืน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ คำขอ อื่นของ โจทก์ นอกจาก นี้ ให้ยก และ ให้ยก ฟ้องแย้ง จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า โจทก์ เป็น ทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดก ของ นาง แหว โคกปรางค์ และ มีสิทธิ ใน ที่พิพาท ดีกว่า จำเลย ที่ 1คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 48/2533 ยัง มี อยู่แต่ ไม่ผูกพัน โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า นาง แหว โคกปรางค์ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ไม่ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ครอบครองที่ดินพิพาท จน ได้ กรรมสิทธิ์ โดย อายุความ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1382 โจทก์ เป็น บุตร และ เป็น ทายาทโดยธรรมของ นาง แหว มีสิทธิ รับมรดก ของ นาง แหว ใน ระหว่าง มี ชีวิต อยู่ นาง แหว เคย ยินยอม ให้ นาย อัมพร สามี โจทก์ นำ โฉนด ที่ดินพิพาท ไป มอบ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ยึดถือ ไว้ เป็น ประกัน เงินกู้ ที่นาย อัมพร ทำ สัญญากู้ยืม จาก จำเลย ที่ 1 ตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 4 และ จ. 5แต่ นาง แหว ไม่เคย มอบ ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ที่ 1 ครอบครอง โดย โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตลอดมา นาง แหว ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2528นาย อัมพร ยัง ไม่ได้ชำระ หนี้ เงินกู้ ให้ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1จึง ยัง ไม่ได้ คืน โฉนด ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ต่อมา เมื่อ ปี 2533จำเลย ที่ 1 ได้ ยื่น คำร้อง และ นำสืบ พยานหลักฐาน เท็จ ต่อ ศาลชั้นต้นใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 48/2533 ว่า จำเลย ที่ 1 ซื้อ ที่ดินพิพาทจาก นาง แหว และ ได้ ครอบครองปรปักษ์ เป็น เวลา เกิน 10 ปี จน ได้ กรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว เชื่อ ว่า เป็น ความจริง ตาม พยานหลักฐานของ จำเลย ที่ 1 จึง มี คำสั่ง แสดง ว่า ที่ดินพิพาท ตกเป็น กรรมสิทธิ์ของ จำเลย ที่ 1 คดีถึงที่สุด และ วินิจฉัย ว่า คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้นใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 48/2533 ที่ วินิจฉัย ให้ ที่ดินพิพาท ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 1 นั้น เป็น คำวินิจฉัย ชี้ขาด ตัดสิน คดี ที่ มีผล เป็น อย่างเดียว กับ คำพิพากษา ทั้งนี้ สุดแล้วแต่ กรณี ว่า คดี ใดต้อง ทำ เป็น คำพิพากษา หรือ คำสั่ง และ คดี ดังกล่าว เป็น คดี ฝ่ายเดียวโจทก์ ใน ฐานะ ทายาท ของ นาง แหว มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี นั้น จึง เป็น บุคคลภายนอก ย่อม มีสิทธิ พิสูจน์ ได้ว่า ตน มีสิทธิ ดีกว่า จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1382 การ ที่ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดินพิพาทที่ ตน ไม่มี กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ก่อ ให้ เกิด กรรมสิทธิ์ขึ้น มา เป็น ของ จำเลย ที่ 2 ผู้รับโอน แม้ จำเลย ที่ 2 จะ เสีย ค่าตอบแทนและ โดยสุจริต และ จดทะเบียน สิทธิ โดยสุจริต ก็ ตาม จำเลย ที่ 2ก็ ไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ตาม กฎหมาย อัน จะ อ้าง ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1299 มา ต่อสู้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ทายาท ของนาง แหว ได้
พิพากษายืน