คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่ผู้เสียหายยอมรับเช็คจำนวน25ฉบับเป็นการ แลกเปลี่ยนกับเช็คพิพาทโดยยอมคืนเช็คพิพาทแก่จำเลยที่1แต่ยังไม่อาจคืนให้ในขณะรับเช็ค25ฉบับและผู้เสียหายนำเช็คบางฉบับของจำนวน25ฉบับไปเรียกเก็บเงินแล้วแสดงว่าผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิตามเช็คดังกล่าวและสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาเอากับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คด้วยข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการยอมความกันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับเช็คพิพาทระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2) การที่ผู้เสียหายไม่ได้รับเงินตามเช็คจำนวน25ฉบับตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็คไม่ทำให้สิทธิดำเนินคดีอาญาในเช็คพิพาทซึ่งระงับไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปเพราะผู้เสียหายสามารถที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ออกเช็คจำนวน25ฉบับเป็นคดีใหม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ กระทำผิด ต่อ กฎหมาย หลายกรรมต่อเนื่อง กัน โดย เมื่อ วันที่ 22-23 มีนาคม 2534 เวลา กลางวันจำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน ออก เช็ค ธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางยี่ขัน 3 ฉบับ ฉบับ แรก ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2534 จำนวนเงิน 53,400 บาทฉบับที่ 2 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2534 จำนวนเงิน 69,200 บาทฉบับที่ 3 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2534 จำนวนเงิน 99,100 บาทวันที่ 28 มีนาคม 2534 เวลา กลางวัน จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ออก เช็คธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางยี่ขัน ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2534จำนวนเงิน 120,000 บาท วันที่ 16 เมษายน 2534 เวลา กลางวันจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ออก เช็ค ธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางยี่ขัน จำนวน 2 ฉบับ ฉบับ แรก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำนวนเงิน 120,600บาท ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2534 จำนวนเงิน 80,400 บาทและ เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม 2534 เวลา กลางวัน จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกันออก เช็ค ธนาคาร กสิกรไทย สาขา บางยี่ขัน ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2534จำนวนเงิน 201,000 บาท โดย จำเลย ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย และประทับตรา สำคัญ ของ ห้าง จำเลย ที่ 1 ทุก ฉบับ แล้ว มอบ ให้ แก่ ผู้เสียหายเพื่อ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย ต่อมา ธนาคารตามเช็ค ได้ ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทุก ฉบับ ดังกล่าว โดย ให้ เหตุผลเหมือนกัน ว่า ยัง รอ เรียกเก็บเงิน อยู่ โปรด นำ มา ยื่น ใหม่ ทั้งนี้จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ออก เช็ค ดังกล่าว โดย เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงินตามเช็ค เหตุ เกิด ที่ แขวง บางยี่ขัน เขต บางพลัด กรุงเทพมหานคร ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ 91
จำเลย ที่ 2 ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง รับฟ้องจำเลย ที่ 1 เป็น ไม่รับฟ้อง จำเลย ที่ 1
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เรียง กระทงลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษ จำคุก กระทง ละ 2 เดือนจำเลย ที่ 2 กระทำ ความผิด 7 กระทง รวม ลงโทษ จำเลย ที่ 2 มี กำหนด14 เดือน
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ผู้เสียหาย ยอมรับ เช็คจำนวน 25 ฉบับ เป็น การ แลกเปลี่ยน กับ เช็คพิพาท โดย ยินยอม คืน เช็คพิพาทแก่ จำเลย ที่ 1 แต่ ยัง ไม่อาจ คืน ให้ ใน ขณะที่ รับ เช็ค 25 ฉบับ จึง ได้บันทึก ไว้ ว่า เช็ค เก่า ยัง ไม่ได้ คืน ผู้เสียหาย ได้ นำ เช็ค บาง ฉบับ ของจำนวน 25 ฉบับ ที่ ถึง กำหนด จ่ายเงิน ไป เรียกเก็บเงิน แล้ว แสดง ให้ เห็นว่า ผู้เสียหาย ตกลง เข้า ถือ สิทธิ ตามเช็ค ดังกล่าว และ สละ สิทธิ หรือไม่ ยึดถือ สิทธิ ใด ๆ ที่ มี อยู่ ใน เช็คพิพาท อีก ต่อไป ทั้งนี้ รวมทั้งสิทธิ ที่ จะ ดำเนินคดี อาญา เอา กับ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ผู้ออกเช็ค ด้วยข้อตกลง แลกเปลี่ยน เช็ค ดังกล่าว ระหว่าง ผู้เสียหาย กับ จำเลย ที่ 1ถือได้ว่า เป็น การ ยอมความ กัน ทำให้ สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง สำหรับเช็คพิพาท ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)การ ที่ ผู้เสียหาย ไม่ได้ รับ เงิน ตามเช็ค จำนวน 25 ฉบับ ตาม ข้อตกลงแลกเปลี่ยน เช็ค ก็ ไม่เป็น เงื่อนไข ใน การ ตกลง ยอมความ กัน เพราะผู้เสียหาย ชอบ ที่ จะ ดำเนินคดี แก่ ผู้ออกเช็ค จำนวน 25 ฉบับ เป็น คดี ใหม่ต่อไป ได้ และ ไม่ทำ ให้สิทธิ ดำเนินคดี อาญา ใน เช็คพิพาท ซึ่ง ระงับ ไป แล้วเปลี่ยนแปลง ไป
พิพากษายืน

Share