แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริงเมื่อเจ้าหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้โดยชอบแล้วเจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิเสนอพยานหลักฐานและในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะรับพยานหลักฐานนั้นไว้แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้ยื่นไว้ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้(จำเลย ) ไว้ เด็ดขาด เจ้าหนี้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ตาม คำพิพากษาเป็น เงิน 167,914 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ แล้ว เจ้าหนี้ ผู้เป็น โจทก์ โต้แย้งว่า เจ้าหนี้ ไม่มี สิทธิ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ เพราะ ไม่มี มูลหนี้ ต่อ กันและ เกิดขึ้น หลัง วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ เด็ดขาด แล้วจึง เป็น หนี้ ที่ ไม่อาจ ขอรับ ชำระหนี้ ได้ และ ลูกหนี้ โต้แย้ง ว่า ยอดหนี้ที่ เจ้าหนี้ ขอรับ ชำระหนี้ ไม่ ตรง กับ ความจริง เนื่องจาก ลูกหนี้ ได้ชำระ ดอกเบี้ย ให้ เจ้าหนี้ มา โดย ตลอด
เจ้าหนี้ ไม่ได้ นำพยาน หลักฐาน ไป ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สอบสวน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จึง สั่ง งด สอบสวน พยาน เจ้าหนี้ แล้วทำ ความเห็น ว่า รับฟัง ไม่ได้ ว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ ตาม ที่ ขอเห็นควร ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าของ หนี้ เสีย ทั้งสิ้น ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 107(1) ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ตาม ความเห็น ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
เจ้าหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ใน ข้อ แรก มี ว่า ที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ให้ งด สอบสวน พยานหลักฐาน ของ เจ้าหนี้ ชอบหรือไม่ เห็นว่า ใน การ ขอรับ ชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ นั้น มี เจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์ และ ลูกหนี้ โต้แย้ง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด สอบสวนเจ้าหนี้ และ ลูกหนี้ ใน วันที่ 13 ตุลาคม 2535 เวลา 9.30 นาฬิกาโดย กำหนด ให้ เจ้าหนี้ นำพยาน หลักฐาน ใน การ ขอรับ ชำระหนี้ ไป ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน ตาม กำหนด หาก ไม่ไป ภายใน กำหนดจะ ถือว่า เจ้าหนี้ ไม่ติดใจ ให้การ สอบสวน และ ส่ง เอกสาร เพิ่มเติมเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จะ พิจารณา ทำ ความเห็น เสนอ ต่อ ศาล ไป ตามพยานหลักฐาน เท่าที่ ปรากฏ ใน สำนวน ครั้น ถึง วันนัด เจ้าหนี้ ไป พบเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และ แถลงว่า ยัง หา เอกสาร ที่ จะ ใช้ ประกอบคำให้การ สอบสวน ไม่พบ ขอเลื่อน ไป สักนัด เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์อนุญาต ให้ เลื่อน ไป สอบสวน ใน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2535 เวลา 9.30นาฬิกา และ ให้ เจ้าหนี้ ชำระ ค่าธรรมเนียม อีก 150 บาท เจ้าหนี้ รับจะ นำ เงิน มา วาง เพิ่ม ใน วันนัด สอบสวน นัด หน้า หาก ไม่ วาง ถือว่าประสงค์ จะ ขอรับ ชำระหนี้ ตาม เดิม ครั้น ถึง วันนัด เจ้าหนี้ ไม่ไป พบเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ โดย ไม่แจ้งเหตุ ขัดข้อง การ ที่ เจ้าหนี้ ทราบกำหนด วันนัด แล้ว ไม่ไป พบ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และ ไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ย่อม ถือได้ว่า เจ้าหนี้ ไม่ติดใจ ให้การ สอบสวน และ ส่ง เอกสารประกอบ คำให้การ ทั้ง เหตุ ที่ เจ้าหนี้ อ้างว่า ต้อง เดินทาง ไปกรุงเทพมหานคร ใน วันที่ 30 ตุลาคม 2535 เพื่อ ไป ดูแล แม่ยาย ซึ่ง ป่วยหนัก ก็ เป็นเหตุ ผล ที่ เลื่อนลอย ไม่ น่าเชื่อ เพราะ หาก เจ้าหนี้ มีความจำเป็น จะ ต้อง รีบ เดินทาง ไป ตาม ที่ อ้าง เจ้าหนี้ ก็ สามารถ แจ้งเหตุ ขัดข้อง ดังกล่าว ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ หรือ มอบอำนาจให้ ผู้อื่น ไป พบ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และ แจ้งเหตุ ขัดข้อง และขอเลื่อน ไป อีก นัด หนึ่ง ได้ หาก เจ้าหนี้ กลับมา จาก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 และ ได้ พบ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ใน วันดังกล่าว จริง ตาม ที่ ฎีกา เจ้าหนี้ ก็ น่า จะ ยื่น หนังสือ เป็น หลักฐานติด สำนวน ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ไว้ แต่ ตาม สำนวน ความเห็นของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ที่ เสนอ ต่อ ศาลชั้นต้น ใน วันที่20 พฤศจิกายน 2535 กลับ ไม่ปรากฏ ว่า มี หลักฐาน ดังกล่าว อยู่ เลยจึง ไม่ น่าเชื่อ ว่า เจ้าหนี้ จะ ได้ ไป พบ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จริงดัง ที่ กล่าวอ้าง พฤติการณ์ ของ เจ้าหนี้ ดังกล่าว ถือได้ว่า เจ้าหนี้ ไม่สนใจ ที่ จะ ไป ให้การ สอบสวน และ ส่ง เอกสาร ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ งด การ สอบสวน พยานหลักฐาน ของ เจ้าหนี้จึง ชอบแล้ว ฎีกา ของ เจ้าหนี้ ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป มี ว่า การ ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ทำ ความเห็น คำขอรับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ โดย ไม่พิจารณา เอกสาร ท้าย คำร้อง ฉบับ ลงวันที่5 พฤศจิกายน 2535 ที่ ศาลชั้นต้น ได้ สั่ง ให้ ส่ง ไป นั้น ชอบ หรือไม่เห็นว่า การ สอบสวน เรื่อง หนี้สิน เกี่ยวกับ คำขอ รับชำระหนี้ นั้นเจ้าหนี้ ที่ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ใน คดีล้มละลาย มี หน้าที่ นำพยาน หลักฐานมา แสดง ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อ พิสูจน์ ให้ ได้ความ ตามข้ออ้าง ของ ตน ว่า หนี้ ที่ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ไว้ มี อยู่ จริง เมื่อเจ้าหนี้ ไม่ไป พบ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์งด การ สอบสวน พยานหลักฐาน ของ เจ้าหนี้ โดยชอบ แล้ว นั้น เจ้าหนี้ ย่อมหมด สิทธิ ที่ จะ เสนอ เอกสาร ดังกล่าว เป็น พยานหลักฐาน ของ ตน ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ใน ภายหลัง ได้ อีก และ ใน ชั้นสอบสวน คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นั้น ศาลชั้นต้น ย่อม ไม่มี อำนาจหน้าที่ ที่ จะ รับ เอกสาร ไว้ แทน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ การ ที่เจ้าหนี้ เสนอ เอกสาร ดังกล่าว ต่อ ศาลชั้นต้น เพื่อ ให้ ศาลชั้นต้น ส่ง ไปยัง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จึง เป็น การ ไม่ปฏิบัติ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 แม้ ศาลชั้นต้น จะ มี คำสั่ง ว่า จัดการให้ ตาม คำร้อง ก็ ไม่ทำ ให้ เจ้าหนี้ มีสิทธิ ที่ จะ เสนอ พยานหลักฐานต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ใน ภายหลัง อีก ได้ การ ที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทำ ความเห็น คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ไป โดย ไม่พิจารณา เอกสาร ที่ เจ้าหนี้ ยื่น ไว้ ต่อ ศาลชั้นต้น จึง ชอบแล้ว ฎีกา ของเจ้าหนี้ ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน