แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน 32,500 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
++ จำเลยทั้งสามฎีกา ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
++ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงมาว่า โจทก์เป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นหน่วยราชการในสังกัดของโจทก์ นายอนุสรณ์หรือณัฐวัฒน์ โกมลรัตน์ ได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจและได้ทำสัญญาไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ความว่าหากนายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจนายอนุสรณ์จะชดใช้เงินแก่กรมตำรวจปีการศึกษาละ 7,500 บาทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโรงเรียนนายร้อยตำรวจยอมชดใช้เงินแก่โจทก์หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระเงินตามสัญญา ตามเอกสารหมาย จ.6 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมายจ.5 ว่า หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ให้ต่อมาโจทก์มีคำสั่งให้ถอนทะเบียนนายอนุสรณ์ออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจตามคำสั่งกรมตำรวจ เอกสารหมาย จ.8 ต่อมานายอนุสรณ์ถึงแก่ความตายตามเอกสารหมาย จ.2 และนายอนุสรณ์ไม่ได้ชดใช้เงินตามสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ++
++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
++ในปัญหาดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของจำเลยที่ 2 เห็นว่า เป็นฎีกาที่จำเลยที่ 3ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ คงมีปัญหาเฉพาะตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ เห็นว่า สัญญาเอกสารหมาย จ.6ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจและสัญญาเอกสารหมาย จ.5ที่จำเลยที่ 2 ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นสัญญาที่มีข้อความระบุถึงการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อกรมตำรวจเพื่อชำระหนี้ในเมื่อนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นสัญญาค้ำประกันหากนายอนุสรณ์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.3 ถือว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 เป็นสัญญาประธาน ส่วนสัญญาเอกสารหมาย จ.6 และ จ.5 เป็นสัญญาอุปกรณ์ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดตามสัญญาอุปกรณ์และฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3รับผิดฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ด้วย ฉะนั้น คดีโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่กับนายอนุสรณ์ตามสัญญาเอกสารหมาย จ.3 ขาดอายุความหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.3 กำหนดให้นายอนุสรณ์ชดใช้เงินแก่โจทก์กรณีถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ยอมรับราชการในกรมตำรวจอย่างน้อย 4 ปี เท่านั้นสัญญาเอกสารหมาย จ.3 จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประกันความเสียหายที่นายอนุสรณ์จะต้องรับผิดตามสัญญาที่นายอนุสรณ์ทำไว้ต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง และสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 ไม่ใช่สัญญารับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน และโจทก์ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่ทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (12) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากนายอนุสรณ์ตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี นายอนุสรณ์ทราบคำสั่งถูกถอดถอนเมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2529 ตามบันทึกด้านหลังเอกสารหมาย จ.9 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2539 ไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ++
++ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3ต่อไปว่า โจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์ต้องนำสืบหรือไม่ว่านายอนุสรณ์มีทรัพย์มรดกและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3เป็นผู้รับมรดกนายอนุสรณ์เป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้นำสืบ และโจทก์มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายนั้น
++ เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้รับผิดในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ไม่จำต้องนำสืบ
++ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้รับมรดก แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะอุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาพอแก่การวินิจฉัยและเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3)
++ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ โกมลรัตน์ รับผิดร่วมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2.++
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมอบอำนาจให้พันตำรวจโทสุรพล พูลน้อย ดำเนินคดีแทน จำเลยที่ ๑ และที่ ๓เป็นบิดามารดาและทายาทผู้รับมรดกของนายอนุสรณ์หรือณัฐวัฒน์ โกมลรัตน์เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๕ นายอนุสรณ์ซึ่งได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจได้ทำสัญญากับตัวแทนโจทก์ว่า หากนายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ นายอนุสรณ์จะชดใช้เงินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ ๑ ทำสัญญารับเป็นผู้ปกครองของนายอนุสรณ์และสัญญาว่า ถ้านายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ ๑ ยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกัน กรณีที่นายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ด้วย ต่อมาวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙ นายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจและไล่ออกจากราชการค่าใช้จ่ายที่ทางราชการออกให้ระหว่างที่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๒,๕๐๐ บาท นายอนุสรณ์ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ชำระ โจทก์ทวงถามจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แล้วแต่ไม่ชำระต่อมาวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘ นายอนุสรณ์ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๓ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนายอนุสรณ์ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน ๕๕,๔๔๘ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๓๒,๕๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การและแก้ไขคำให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกันตามฟ้องจริง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒รับผิดชำระเงินค่าปรับ ๓๒,๕๐๐ บาท และดอกเบี้ย ๑,๖๔๕.๓๑ บาท รวม๓๔,๑๔๕.๓๑ บาท เท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกดอกเบี้ยเนื่องจากมิได้ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง จำเลยที่ ๑ไม่ได้รับมรดกของนายอนุสรณ์เลย คำสั่งของโจทก์ที่ ๔๘๓/๒๕๒๙ ซึ่งไล่นายอนุสรณ์ออกจากราชการไม่ชอบ โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกทดรองไป แต่มิได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความสองปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๑๒) ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า เป็นมารดาของนายอนุสรณ์ แต่นายอนุสรณ์ไม่มีทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยที่ ๓ จำเลยที่ ๓ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๓ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ ๓,๐๐๐ บาท
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน ๓๒,๕๐๐ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๓๘ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓๘ ประกอบมาตรา ๒๔๗ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ฟังข้อเท็จจริงมาว่า โจทก์เป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นหน่วยราชการในสังกัดของโจทก์ นายอนุสรณ์หรือณัฐวัฒน์ โกมลรัตน์ ได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจและได้ทำสัญญาไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.๓ ความว่าหากนายอนุสรณ์ถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจนายอนุสรณ์จะชดใช้เงินแก่กรมตำรวจปีการศึกษาละ ๗,๕๐๐ บาทจำเลยที่ ๑ ทำสัญญากับโรงเรียนนายร้อยตำรวจยอมชดใช้เงินแก่โจทก์หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระเงินตามสัญญา ตามเอกสารหมาย จ.๖ จำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกันกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมายจ.๕ ว่า หากนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ ๒ ยอมชดใช้ให้ต่อมาโจทก์มีคำสั่งให้ถอนทะเบียนนายอนุสรณ์ออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจตามคำสั่งกรมตำรวจ เอกสารหมาย จ.๘ ต่อมานายอนุสรณ์ถึงแก่ความตายตามเอกสารหมาย จ.๒ และนายอนุสรณ์ไม่ได้ชดใช้เงินตามสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ในปัญหาดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของจำเลยที่ ๒ เห็นว่า เป็นฎีกาที่จำเลยที่ ๓ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คงมีปัญหาเฉพาะตามฎีกาของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เท่านั้น เห็นว่า สัญญาเอกสารหมาย จ.๖ที่จำเลยที่ ๑ ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจและสัญญาเอกสารหมาย จ.๕ที่จำเลยที่ ๒ ทำกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นสัญญาที่มีข้อความระบุถึงการที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ยอมผูกพันตนต่อกรมตำรวจเพื่อชำระหนี้ในเมื่อนายอนุสรณ์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นสัญญาค้ำประกันหากนายอนุสรณ์ผิดสัญญาที่ทำไว้กับโรงเรียนนายร้อยตำรวจตามเอกสารหมาย จ.๓ ถือว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.๓ เป็นสัญญาประธาน ส่วนสัญญาเอกสารหมาย จ.๖ และ จ.๕ เป็นสัญญาอุปกรณ์ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับผิดตามสัญญาอุปกรณ์และฟ้องให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๓รับผิดฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ด้วย ฉะนั้น คดีโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่กับนายอนุสรณ์ตามสัญญาเอกสารหมาย จ.๓ ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่าสัญญาเอกสารหมาย จ.๓ กำหนดให้นายอนุสรณ์ชดใช้เงินแก่โจทก์กรณีถูกถอนทะเบียนออกจากการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ยอมรับราชการในกรมตำรวจอย่างน้อย ๔ ปี เท่านั้นสัญญาเอกสารหมาย จ.๓ จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประกันความเสียหายที่นายอนุสรณ์จะต้องรับผิดตามสัญญาที่นายอนุสรณ์ทำไว้ต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอันเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง และสัญญาตามเอกสารหมาย จ.๓ ไม่ใช่สัญญารับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน และโจทก์ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่ทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๑๒) ดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากนายอนุสรณ์ตามสัญญาดังกล่าวกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ ๑๐ ปี นายอนุสรณ์ทราบคำสั่งถูกถอดถอนเมื่อวันที่ ๗สิงหาคม ๒๕๒๙ ตามบันทึกด้านหลังเอกสารหมาย จ.๙ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๙ ไม่เกิน ๑๐ ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ ๑และที่ ๒ ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ต่อไปว่า โจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์ต้องนำสืบหรือไม่ว่านายอนุสรณ์มีทรัพย์มรดกและจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ รับฟังข้อเท็จจริงยุติว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๓เป็นผู้รับมรดกนายอนุสรณ์เป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์มิได้นำสืบ และโจทก์มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ให้รับผิดในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ มิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ไม่จำต้องนำสืบ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์เรื่องว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ เป็นผู้รับมรดก แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ยกขึ้นวินิจฉัยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะอุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ต้องรับผิดหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาพอแก่การวินิจฉัยและเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเอง ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ มีอำนาจที่จะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๓ (๓) คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาให้จำเลยที่ ๓ ร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ ๓ ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอนุสรณ์ โกมลรัตน์ รับผิดร่วมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๒.