แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิเช่นนั้นผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องโดยเห็นว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำที่ไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงได้รับการจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์เท่ากับโต้แย้งว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ถ้อยคำที่เล็งถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและต้องห้ามมิให้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นคำบรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า “LIVE WITH CHIVALRY” และเครื่องหมายการค้าคำว่า “CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY” ซึ่งมีคำว่า “LIVE WITH CHIVALRY” เป็นส่วนประกอบ โดยคำว่า LIVE แปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH แปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ คำว่า “CHIVALRY” แปลว่า คุณสมบัติของอัศวิน รวมกันแล้วสื่อความหมายได้ว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้ว คำว่า LIVE WITH CHIVALRY จึงไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง และไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ในทันที ทั้งคำดังกล่าวไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านี้โดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำว่า “LIVE WITH” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ เนื่องจากคำว่า “LIVE WITH” ไม่ได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยตรง ถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองแล้ว การที่โจทก์ใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าคำว่า “LIVE WITH CHIVALRY” และเครื่องหมายการค้าคำว่า “CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY” สำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จึงไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า “LIVE WITH” กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0704/17984 ฉบับลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 ที่ พณ 0704/22593 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 ที่ พณ 0704/22594 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0702/181 ฉบับลงวันที่ 10 มกราคม 2554 ที่ พณ 0708/10256 ฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ที่ พณ 0708/10255 ฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 946/2554 ที่ 179/2555 และที่ 180/2555 ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเพิกถอนคำสั่งกับคำวินิจฉัยดังกล่าว และพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า “” คำขอเลขที่ 698461 กับเครื่องหมายการค้าคำว่า ” ” คำขอเลขที่ 755523 และ 755524 เป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ โดยไม่ต้องแสดงปฏิเสธสิทธิภาคส่วนใด ๆ ให้จำเลยดำเนินการเพื่อรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอเลขที่ 698461 เลขที่ 755523 และเลขที่ 755524
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0704/17984 ฉบับลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 ที่ พณ 0704/22593 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 และที่ พณ 0704/22594 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 ในส่วนที่มีคำสั่งให้โจทก์แสดงเจตนาว่าจะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า ” ” และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 946/2554 ที่ 179/2555 และที่ 180/2555 ให้จำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 698461 เลขที่ 755523 และเลขที่ 755524 ของโจทก์ต่อไป คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายและย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โจทก์จึงไม่อาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยหรือไม่ เห็นว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าแม้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด ดังนั้น หากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2551 โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 698461 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 33 รายการสินค้า สุรา เครื่องดื่มที่มีสุราผสม เหล้าลิเคียวร์ สุรากลั่น วิสกี้ เครื่องดื่มทำจากหรือที่มีวิสกี้ผสม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทำจากหรือที่มีมอลต์ผสม สุราใช้ดื่มก่อนอาหาร สุราค็อกเทล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องหมายการค้าบางส่วนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า “” และให้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายอื่นของโจทก์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเห็นว่าคำว่า “” เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน และมีคำวินิจฉัยไม่ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว นอกจากนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 755523 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 รายการสินค้า เบียร์ น้ำแร่ (เครื่องดื่ม) น้ำอัดลม เครื่องดื่มน้ำอัดลม ค็อกเทลที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มรสผลไม้ น้ำเชื่อมใช้ผสมเครื่องดื่ม และคำขอเลขที่ 755524 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 33 รายการสินค้า สุรา บรั่นดี วอดก้า เหล้ายิน ไวน์ เหล้า สุรากลั่น วิสกี้ วิสกี้ทำจากมอลต์ เหล้าลิเคียวร์ที่มีเหล้าวิสกี้ผสม เครื่องดื่มที่ทำจากเหล้าวิสกี้หรือมีเหล้าวิสกี้ผสม สุราใช้ดื่มก่อนอาหาร เครื่องดื่มค็อกเทลที่มีแอลกอฮอล์ผสม นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองคำขอดังกล่าวบางส่วนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า “” และให้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายอื่นของโจทก์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเห็นว่าคำว่า “” เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน และมีคำวินิจฉัยไม่ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์เห็นว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า “” และคำว่า “” เป็นคำที่ไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงได้รับการจดทะเบียน คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เท่ากับโจทก์โต้แย้งว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยไม่รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “” และคำว่า “” ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อสุดท้ายมีว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 698461 และเครื่องหมายการค้าคำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 755523 และ 755524 เป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้โดยไม่ต้องแสดงปฏิเสธสิทธิภาคส่วนใดหรือไม่ เห็นว่า ถ้อยคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและต้องห้ามมิให้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไป ตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นคำบรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 698461 และเครื่องหมายการค้า คำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 755523 และที่ 755524 ซึ่งมีคำว่า “” เป็นส่วนประกอบ โดยคำว่า LIVE มีคำแปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH มีคำแปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ คำว่า CHIVALRY มีคำแปลว่า คุณสมบัติของอัศวิน รวมกันแล้วสื่อความหมายได้ว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ตามคำขอจดทะเบียน ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะเห็นว่าคำว่า ไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง ไม่สามารถทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ในทันที ทั้งคำดังกล่าวยังไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยว่า คำว่า “” รวมกันสื่อความหมายว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าตามคำขอทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นเครื่องดื่มอย่างดี ก็ไม่เป็นเหตุเป็นผลเชื่อมโยงกันว่า การดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวินเกี่ยวข้องกับการเป็นเครื่องดื่มอย่างดีและทำให้สาธารณชนทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าหรือพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้อย่างไร ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 698461 และ เครื่องหมายการค้า คำว่า “” ตามคำขอเลขที่ 755523 และที่ 755524 ไม่มีคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านี้โดยตรงตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น ส่วนปัญหาที่ว่า โจทก์จะต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า “LIVE WITH” หรือไม่นั้น เห็นว่า การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวซึ่งส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วนของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 นั้น ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าส่วนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือบางจำพวกอันไม่ควรให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวก็ดีหรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะก็ดี เมื่อปรากฏว่าคำว่า LIVE มีคำแปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH มีคำแปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้วมิใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้น แต่ไม่ปรากฏว่าคำว่า “LIVE WITH” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อันเป็นสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะเนื่องจากคำว่า “” ไม่ได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยตรง จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง การที่โจทก์ใช้คำว่า “LIVE WITH” เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า คำว่า “” และเครื่องหมายการค้าคำว่า “” สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จึงไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า “LIVE WITH” กับเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “LIVE WITH” จึงไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0704/17984 ฉบับลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0704/22593 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 และคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0704/22594 ฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 ในส่วนที่มีคำสั่งให้โจทก์แสดงเจตนาว่าจะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า “LIVE WITH” และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 946/2554 ที่ 179/2555 และที่ 180/2555 ให้จำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 698461 คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 755523 และคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 755524 ของโจทก์ต่อไปนั้น จึงชอบแล้ว
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ