คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2492

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ประเด็นที่โจทก์ตั้งมาในคำฟ้องมีว่า ภริยาโจทก์ไม่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในสินสมรส เพราะไม่มีสินเดิม จำเลยให้การว่าภริยาโจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเพราะไม่มีสินเดิม จำเลยให้การว่าภริยาโจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเพราะมีสินเดิม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นการถูกต้องตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 แล้ว จำเลยไม่จำเป็นต้องระบุลงไปในคำให้การว่ามีทรัพย์อะไรบ้างเป็นสินเดิมซึ่งผิดกับกรณีที่มีประเด็น ขอให้หักสินสมรสชดใช้สินเดิมด้วย เพราะในกรณีหลังนี้ ความสำคัญอยู่ที่ว่าอะไรเป็นสินเดิม ราคาเท่าใด มิฉะนั้นก็ใช้ชดใช้กันไม่ได้ การตั้งประเด็นจึงต้องระบุถึงทรัพย์ที่เป็นสินเดิมและราคา
หากโจทก์เห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยยังไม่ชัด เพื่อที่โจทก์จะได้สืบหักล้างเสียก่อนในกรณีย์ที่โจทก์ เป็นฝ่ายนำสืบก่อนเช่นนี้โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาสให้สอบถามจำเลยในชั้นชี้สองสถานเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 183 ได้ เมื่อได้มีการสอบถามมัดประเด็นลงไปแน่นอนว่าสินเดิมเป็นทรัพย์อะไรแล้ว คู่ความก็ต้องดำเนินตามประเด็นที่มัดไว้./

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับนาวผิวเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีสินเดิม นางผิวไม่มีสินเดิม ระหว่างอยู่กันด้วยกัน มีทรัพย์คือที่ดินโฉนดที่ ๕๐๘๖, ๕๒๕๒ โฉนดใส่ชื่อนางผิด นาวผิงถึงแก่กรรม โจทก์ได้นำโฉนดที่ ๕๐๘๒ ไปขอโอนใส่ชื่อโจทก์ นายชดจำเลยรอคัดค้าน ขอให้ลงชื่อ ด.ช. ผาสุข ด.ช.วิลัย จำเลย ทั้งนายชดจำเลยขอให้เจ้าพนักงานโอนโฉนดที่ ๕๒๕๒ ลงชื่อเด็กชายทั้ง ๒ โจทก์ได้คัดค้าน ปรากฎว่านางผิดทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ ด.ช.ผาสุข ด.ช.วิลัย จำเลย และให้นายชดจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดกโจทก์เพิ่งทราบว่ามีพินัยกรรมของนางผิว พินัยกรรมของนาวผิดเป็นพินัยกรรมปลอม ถ้านางผิวทำพินัยกรรมไว้จริงนางผิวก็ไม่มีสิทธิจะยกที่ดินทั้ง ๒ แปลงให้แก่เด็กชายทั้งสอง เพราะนางผิวไม่มีสินเดิม ขอให้แสดงว่า ที่ดินทั้ง ๒ แปลงเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียว พินัยกรรมของนางผิวไร้ผลเป็นโมฆะ
จำเลยต่อสู้ว่า ข้อฟ้องเรื่องพินัยกรรม อ้างเหตุขัดกันเป็นฟ้องเคลือบคลุม พินัยกรรมของนาวผิวสมบูรณ์มีผลใช้ได้ นางผิวมีสินเดิม ที่ดินโฉนดที่ ๕๐๘๖, ๕๒๕๒ มีชื่อนางผิด ทั้งเป็นสินเดิมของนางผิว นางผิวจะทำพินัยกรรมยกให้ใครก็ได้
ศาลแพ่งฟังว่าที่ดิน ๒ แปลงนี้ได้รับโอนมาเมื่อโจทก์กับนางผิวสมรสกันหลายปี และฟังว่าโจทก์มีสินเดิม นางผิวไม่มีสินเดิม ที่ดินเป็นสินสมรสตกได้แก่โจทก์ผู้เดียว พินัยกรรมของนางผิวไม่ปลอม ข้อกำหนดในพินัยกรรมอันเกี่ยวกับสินสมรส จึงไม่มีผลบังคับ พิพากษาว่าที่ดิน ๒ แปลงเป็นของโจทก์ผู้เดียว ไม่ให้จำเลยเกี่ยวข้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่า นางผิวมีสินเดิม พิพากษาแก้ว่าที่ ๒ แปลงดังกล่าวเป็นของโจทก์ ๒ ใน ๓ อีก ๑ ใน ๓ เป็นของ ด.ช.ผาสุข , ด.ช.วิลัย ผู้รับพินัยกรรมจากนางผิด
โจทก์ฎีกา,
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ประเด็นที่โจทก์ตั้งมาในฟ้องมีว่านางผิวไม่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในสินสมรสเพราะไม่มีสินเดิมจำเลยต่อสู้ว่า นางผิวมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เพราะมีสินเดิมประเด็นฯที่แทม้จริง ก็คือ นางผิวมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในสินสมรสหรือไม่ ข้อที่จำเลยว่ามีสินเดิมนั้นเป็นเหตุแห่งการที่จำเลยต่อสู้ว่า นางผิวมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในสินสมรส คำให้การของจำเลยจึงเป็นฯการถูกต้องตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรค ๒ แล้ว หากโจทก์เห็นว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ขัด เพราะไม่ปรากฏว่าที่จำเลยอ้างว่านางผิวมีสินเดิมนั้น หมายถึงอะไร เป็นสินเดิม เพื่อโจทก์จะได้สืบหักล้างเสียก่อน ในกรณีที่โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนเช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สอบถามจำเลยในชั้นชี้สองสถาน เพื่อให้ได้ความในประเด็นข้อพิพาท ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๘๓ ได้ ซึ่งเมื่อได้มีการสอบถามนับประเด็นลงไปให้แน่นอนว่า สินเดิมเป็นทรัพย์อะไร แล้วคู่ความก็ดำเนินการตามประเด็นที่มัดกันไว้นั้น ผิดกับกรณีเรื่องขอให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม ซึ่งความสำคัญอยู่ว่าอะไรเป็นสินเดิม มิฉะนั้นก็ชดใช้กันมิได้ การตั้งประเด็นจึงต้องระบุถึงทรัพย์ที่เป็นสินเดิมและราคา ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๑๗๗ วรรค ๒ ที่ให้จำเลยแสดงถึง
“เหตุแห่งการนั้น” หมายความเพียงไร ต้องดูประเด็นเป็นเรื่อง ๆ ไป
ส่วนข้อเท็จจริงฟังได้ว่านางผิวมีสินเดิม
พิพากษายืน./

Share